มีวนอุทยานชีหลงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน
ตั้งชุมชนที่อยู่ใกล้บริเวณแม่น้ำชี เเละมีต้นหว้าอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้คนในชุมชนจึงตั้งชื่อว่า "ชุมชนวังหว้า"
มีวนอุทยานชีหลงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน
เมื่อประมาณ 130 ปีก่อน เดิมบ้านวังหว้า เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ มีเพียง 11 ครอบครัว ที่ย้ายมาจากบ้านท่าขอนยาง โดยมีนายกวย เป็นผู้มาอยู่ก่อนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สวนที่นาของตนเอง สมัยนั้นไม่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ทางอำเภอได้ออกมาสำรวจและได้แต่งตั้งให้ตากวยเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเรียกว่า บ้านตากวย สภาพหมู่บ้านตั้งอยู่ในที่ลุ่ม เมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วม ต่อมาจึงย้ายบ้านมาอยู่ในที่สูง (ที่ตั้งหมู่บ้านในปัจจุบัน) หมู่บ้านติดกับลำน้ำชีมีต้นหว้าขึ้นอยู่มากมายจึงเรียกชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า "บ้านวังหว้า" มาจนปัจจุบัน
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดเขตพื้นที่ บ้านตอนยม หมู่ 7
- ทิศใต้ ติดเขตพื้นที่ ตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสาร
- ทิศตะวันออก ติดเขตพื้นที่ บ้านไคร่นุ่น หมู่ 10
- ทิศตะวันตก ติดเขตพื้นที่ บ้านท่าขอนยาง หมู่ 4
ชุมชนวังหว้าประกอบด้วยจำนวนครัวเรือน 97 ครัวเรือน จำนวนประชากรรวม 325 คน แบ่งเป็นเพศชายจำนวน 165 คน และเพศหญิงจำนวน 160 คน
การเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของหมู่บ้าน พืชเศรษฐกิจของหมู่บ้านที่สำคัญ คือ ข้าว การทำนาของชาวบ้านจะทำปีละ 1 ครั้ง บางครอบครัวทำนาปีละ 2 ครั้ง เพราะหมู่บ้านมีคลองส่งน้ำเพื่อใช้ในการทำการเกษตร และใช้ได้ตลอดปี มีการเลี้ยงสัตว์ควบคู่กับการทำนา เช่น โค กระบือ สุกร สัตว์เหล่านี้จะเลี้ยงไว้จำหน่าย รายได้ส่วนใหญ่มาจากผลผลิตทางการเกษตร เสร็จจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วบางครอบครัวจะปลูกถั่วลิสง เพื่อเอาเมล็ดไว้จำหน่าย ปลูกผักสวนครัว ครอบครัวใดที่มีที่ดินติดกับริมฝั่งชีจะปลูกผักสวนครัว เช่น ถั่วฝักยาว แตง ผักต่าง ๆ ไว้รับประทานและจำหน่าย มีการทำการประมงน้ำจืดในลำชีหลง แต่ก็ไม่ได้ยึดเป็นอาชีพ หามาเพื่อบริโภคในครัวเรือน มีการเลี้ยงปลาในบ่อตามธรรมชาติ อีกอาชีพหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้น คือ ค้าขายกระจก ครอบครัวที่มีรถยนต์ส่วนมากมักจะค้าขายกระจก จะรับกระจกจากคลังกระจกจังหวัดออกเร่ขายตามหมู่บ้านทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัด รับเหมาติดกระจกหน้าต่าง ประตูบ้าน อาคารเรียน บานเกร็ด เป็นต้น รายได้ของชาวบ้านเฉลี่ยครอบครัวละ 30,001-50,000 บาท/ปี
วิถีชีวิตชาวบ้านในชุมชนมีความเรียบง่าย วิถีชีวิตสัมพันธ์เกี่ยวกับธรรมชาติและการทำเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ หลังจากฤดูทำนา ภายในชุมชนได้มีการรปฏิบัติยึดถือศาสนาพุทธเป็นหลัก จึงมีการยึดถือประเพณีฮิตสิบสองโดยมีการจัดงานตามความเชื่อในแต่ละเดือน ดังต่อไปนี้
- เดือนมกราคม งานปีใหม่ บุญเข้ากรรม
- เดือนกุมภาพันธ์ บุญกองข้าว
- เดือนมีนาคม บุญพระเวส
- เดือนเมษายน งานสงกรานต์
- เดือนพฤษภาคม บุญบั้งไฟ
- เดือนมิถุนายน บุญช้าระบ้าน
- เดือนกรกฎาคม เข้าพรรษา
- เดือนสิงหาคม บุญข้าวประดับดิน
- เดือนกันยายน บุญข้าวสาก
- เดือนตุลาคม บุญออกพรรษา
- เดือนพฤษภาคม บุญกฐิน
- เดือนธันวาคม บุญทอดผ้าป่า
การใช้ภาษา คนในหมู่บ้านจะใช้ภาษาท้องถิ่นคือ ภาษาอีสาน ส่วนภาษากลางจะใช้ในกรณีที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานทางราชการเป็นส่วนใหญ่
ปัญหาทางเศรษกิจ
1.ปัญหาที่ดินทำกิน ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ต้องเช่าที่นาทำกิน บางส่วนที่ดินทำกินขาดเอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน
2.ปัญหาต้นทุนในการผลิตสูง เนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันทำให้ราคาวัตถุดิบในการผลิตมีราคาสูง ผลผลิตออกมาไม่คุ้มกับที่ลงทุนไป อีกทั้งผลผลิตที่ออกมาราคาตกต่ำ
3.ปัญหาหนี้สิน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและรับจ้างทั่วไปทำให้มีรายได้น้อยไม่มีทุนเพียงพอในการประกอบอาชีพ ต้องกู้ยืมเงินทุนจากแหล่งเงินทุนต่าง ๆ จากเงินกองทุนหมู่บ้าน ธกส. นายทุนนอกระบบ พอถึงกำหนดชำระหนี้ก็ยืมอีกกองทุนมาใช้หนี้แทน ทำให้เกิดหนี้สินหมุนเวียน
บ้านวังหว้าไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน เพราะเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก อีกทั้งไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะจัดตั้งวัดได้ เวลาทำบุญต้องเดินทางไปทำบุญที่วัดหมู่บ้านใกล้เคียง คือ วัดเจริญผล บ้านทำขอนยาง หมู่ที่ 4
- สถานที่ท่องเที่ยววนอุทยานชีหลง
ประภาวดี ทุมมี. (2545). การจัดทำแผนแม่บทชุมชนบ้านวังหว้า หมู่ 6 ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. สาขาการจัดการและประเมินโครงการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม