Advance search

ผู้คนในชุมชนมีความใกล้ชิดเเละเคารพในพระศาสนา เพราะมีวัดป่าสุทธาวาสเป็นสถานที่สำคัญยึดเหนี่ยวจิตใจ

ชุมชนวัดป่าสุทธาวาส
ธาตุเชิงชุม
เมืองสกลนคร
สกลนคร
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
20 มิ.ย. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
24 มิ.ย. 2024
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
30 มิ.ย. 2024
วัดป่าสุทธาวาส

ชุมชนตั้งชื่อตามวัดป่าสุทธาวาส ซึ่งวัดแห่งนี้เคยเป็นวัดที่หลวงปู่มั่น ภูริทันโต จำพรรษาอยู่


ผู้คนในชุมชนมีความใกล้ชิดเเละเคารพในพระศาสนา เพราะมีวัดป่าสุทธาวาสเป็นสถานที่สำคัญยึดเหนี่ยวจิตใจ

ชุมชนวัดป่าสุทธาวาส
ธาตุเชิงชุม
เมืองสกลนคร
สกลนคร
47000
17.151754542291282
104.13833974352777
เทศบาลนครสกลนคร

เมื่อปี พ.ศ. 2537 ขณะนั้นยังเป็นบ้านคำสะอาด โดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อนายชม ชัยวินิจ คนที่สองชื่อนายสมภาร กัลยาบาล และนายเพชร ขันมะจันทร์ ได้เป็นประธานชุมชนวัดป่าสุทธาวาสในเขตเทศบาลเมืองสกลนครขณะนั้นได้แยกออกมาจากตำบลดงมะไฟเดิม ชุมชนวัดป่าสุทธาวาส 1 ได้คัดเลือกกรรมการชุมชนจำนวน 9 คน เป็นผู้ประสานงานกับเทศบาลเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าจนถึงปัจจุบัน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2547 แยกมาจากชุมชนวัดป่าสุทธาวาส 2 ซึ่งเป็นชุมชนรวมกันเพื่อให้สามารถบริหารจัดการด้านดำเนินงานร่วมกับชุมชนได้อย่างทั่วถึง โดยเทศบาลเมืองสกลนครขณะนั้นได้จัดตั้งกรรมการชุมชนขึ้นรวมจำนวนเก้าคน เพื่อเป็นแกนกลางในการประสานงานต่าง ๆ ระหว่างชุมชนกับเทศบาลให้มีประสิทธิภาพ การดำเนินการด้านต่าง ๆ จนถึงปัจจุบันและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลเมืองสกลนครเป็นเทศบาลนครสกลนครในปี พ.ศ. 2554

ชุมชนวัดป่าสุทธาวาส เป็นชุมชนในเขตการปกครองของเทศบาลนครสกลนคร มีอาณาเขตติดกับสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ ศูนย์ราชการจังหวัดสกลนคร
  • ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านประชาสุขสันต์
  • ทิศใต้ ติดกับ ชุมชนหนองมันปลา
  • ทิศตะวันตก ติดกับ ชุมชนนาอ้อย

ชุมชนวัดป่าสุทธาวาส ประกอบอาชีพรับราชการ ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป ชุมชนวัดป่าสุทธาวาส มีครัวเรือนทั้งสิ้น 582 ครัวเรือนประชากรทั้งหมด 971 คน แบ่งเป็นเพศชาย 503 คน และเพศหญิง 468 คน

กะเลิง, ญ้อ, ผู้ไท

ด้วยชุมชนวัดป่าสุทธาวาสเป็นชุมชนเมือง ผู้คนมีความหลากหลาย ในชุมชนจึงมีหลากหลายอาชีพ รับราชการ ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป

ประชาชนชุมชนวัดป่าสุทธาวาสนับถือศาสนาพุทธ มีวัดป่าสุทธาวาสเป็นศูนย์รวมจิตใจและใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันสำคัญต่าง ๆ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วัดป่าสุทธาวาส เป็นวัดที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระละ สังขารตั้งอยู่ที่ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

ปี พ.ศ. 2469 พระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ และพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ได้มาพักจำพรรษา ณ เสนาสนะป่าบ้านบาก ในภายหลังจึงได้มีการสร้างวัดป่าสุทธาวาสขึ้นมา โดยมีนางนุ่ม ชุวานนท์ นางนิล ชุวานนท์ และนางลูกอินทร์ วัฒนสุชาติ เป็นผู้นิมนต์พระอาจารย์ทั้งสอง

เนื่องจากวัดป่าสุทธาวาสเป็นสถานที่ในการละสังขารของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ภายในอาคารจึงมีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น และการจำลองรูปเหมือนโดยสร้างเป็นหุ่นขี้ผึ้งในท่าขัดสมาธิขึ้น รวมทั้งมีการใช้สถานที่แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงเครื่องอัฐบริขาร อาคารนี้ก่อสร้างโดยสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย และดูใกล้ชิดกับธรรมชาติ อันเป็นการสะท้อนถึงการใช้ชีวิตของท่านตลอดทั้งชีวิตการอุปสมบท

วัดป่าสุทธาวาส เป็นวัดที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ได้ย้ายจากการธุดงค์กรรมฐานเข้ามาจำพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาส และมรณภาพที่วัดนี้ จึงมีการสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นในวัดป่าสุทธาวาส ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์บริขารเป็นอาคารชั้นเดียว คล้ายแบบบ้านทรงไทยประยุกต์ ภายในพิพิธภัณฑ์มีรูปหล่อโลหะรมดำรูปเหมือนพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เท่าขนาดองค์จริงในท่านั่งสมาธิ เบื้องหน้ารูปหล่อมีตู้กระจกยกฐานสูงพื้นปูด้วยหินอ่อน ภายในบรรจุอัฐิของท่านที่แปรสภาพเป็นแก้วผลึกใสสีขาว พร้อมทั้งตู้แสดงเครื่องบริขาร รวมทั้งประวัติความเป็นมาของท่านตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ นอกจากนี้ในวัดป่าสุทธาวาสยังมี จันทสารเจติยานุสรณ์ เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่หลุย จันทสาโร พระเถระชั้นผู้ใหญ่สายวิปัสสนาและเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ หลวงปู่หลุยเป็นผู้ที่มีปฏิปทาชอบจาริกไปในที่ต่าง ๆ จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตท่าน เมื่อท่านมรณภาพและได้รับพระราชทานเพลิงศพแล้ว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) มีพระราชกระแสว่า “ควรสร้างเจดีย์ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ที่วัดนี้ มีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านจะได้อยู่ใกล้กัน” ในการนั้น รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ร่างแบบเจดีย์องค์นี้ด้วยพระองค์เองพระราชทาน

ชุมชนวัดป่าสุทธาวาส เป็นชุมชนเมืองจึงประกอบไปด้วยชาติพันธุ์หลายกลุ่มมารวมกัน ได้แก่ ภูไท ซึ่งเป็นเผ่าดังเดิม นอกจากนั้นมีเผ่ากะเลิง ลาว ญ้อ คนถิ่นอื่น ๆ ที่มามีครอบครัวตั้งหลักปักฐาน จึงมีภาษาพูดหลายสำเนียง เช่น สำเนียงภูไท ลาว กะเลิง และญ้อ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

นางธนัชชา มีผล (หัวหน้าฝ่ายการศึกษาตามอัธยาศัยเทศบาลนครสกลนคร), สัมภาษณ์, ณ เทศบาลนครสกลนคร

นายฉัตรมงคล ระวิโรจน์ (สำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร), สัมภาษณ์, ณ เทศบาลนครสกลนคร