Advance search

ชุมชนท่าแพ พื้นที่ที่เต็มไปด้วยมรดกทรัพยากรทางธรรมชาติ และมรดกทางวัฒนธรรม กับพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจและศักยภาพชุมชน

หมู่ที่ 1
ท่าแพ
ปากพูน
เมืองนครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช
วิไลวรรณ เดชดอนบม
30 มิ.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
30 มิ.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
30 มิ.ย. 2024
ท่าแพ

จากตำนานการบวชของหลวงปู่ทวดหรือสมเด็จเจ้าพระโค ได้อธิบายที่มาของค่าว่า “ท่าแพ” ที่มีความเชื่อมโยงกับการอุปสมบท โดยการใช้เรือ 4 ลำ มาต่อเป็นแพเรียกว่า “อุทกสีมา” หรือสีมาทางน้ำ ในการบวชสมเด็จเจ้าพระโค ด้วยเหตุนี้จึงเรียกคลองท่าแพ ต่อมาจึงมีการสร้างวัดขึ้น บริเวณนี้จึงเรียกว่า “วัดท่าแพ” ซึ่งมีลักษณะเด่นที่เป็นท่าเรือใหญ่ใช้จอดเรือแพของชาวบ้านและเรือสินค้าที่เข้ามาค้าขายกับเมืองนครศรีธรรมราชในอดีต


ชุมชนท่าแพ พื้นที่ที่เต็มไปด้วยมรดกทรัพยากรทางธรรมชาติ และมรดกทางวัฒนธรรม กับพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจและศักยภาพชุมชน

ท่าแพ
หมู่ที่ 1
ปากพูน
เมืองนครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช
80000
8.514198880309358
99.95249077677727
เทศบาลตำบลท่าแพ

“ท่าแพ” เป็นชุมชนเก่าแก่ดั้งเดิมชุมชนหนึ่งในพื้นที่ที่มีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้คน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับลำคลองทำให้มีความสะดวกในการเดินทาง และการประกอบอาชีพด้านการทำประมงที่สามารถล่องเรือออกสู่ทะเลอ่าวไทยได้ ในอดีตมีการคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก พื้นที่ชุมชนท่าแพก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการสัญจรไปมาของผู้คน โดยบริเวณนี้ชาวบ้านจะใช้เป็นจุดพักจอดเรือที่เดินทางผ่านลำคลองนี้ ทำให้พื้นที่บริเวณท่าแพมีพัฒนาการทางสังคมจนกลายเป็นชุมชนที่ขยายใหญ่ขึ้น โดยสาเหตุที่เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า “ท่าแพ” มีที่มาจากตำนานการบวชของหลวงปู่ทวดหรือสมเด็จเจ้าพระโค ได้อธิบายที่มาของค่าว่า “ท่าแพ” ที่มีความเชื่อมโยงกับการอุปสมบท โดยการใช้เรือ 4 ลำ มาต่อเป็นแพ เรียกว่า “อุทกสีมา” หรือสีมาทางน้ำ ในการบวชสมเด็จเจ้าพระโค ด้วยเหตุนี้จึงเรียกคลองท่าแพ ต่อมาจึงมีการสร้างวัดขึ้น บริเวณนี้จึงเรียกว่า “วัดท่าแพ” ซึ่งมีลักษณะเด่นที่เป็นท่าเรือใหญ่ใช้จอดเรือแพของชาวบ้านและเรือสินค้าที่เข้ามาค้าขายกับเมืองนครศรีธรรมราชในอดีต

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เวลาประมาณ 06.00 น. กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย และบริเวณท่าแพก็มีการเข้ามาของทหารญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน ซึ่งบริเวณชุมชนท่าแพได้มีการต่อสู้เกิดขึ้น โดยฝั่งไทยนำโดยพลตรีหลวงเสนาณรงค์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 ในขณะนั้นเป็นผู้บัญชาการรบ ณ แนวรบบ้านท่าแพ ทำให้ทหารญี่ปุ่นถอยร่นไป นับเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ชุมชนท่าแพ

พื้นที่ชุมชนท่าแพตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งคลองท่าแพ และมีลำคลองขนาดเล็กที่ไหลมาบรรจบกับคลองท่าแพ ในบริเวณโดยรอบชุมชนมีพื้นที่ป่าตามธรรมชาติ โดยเฉพาะบริเวณที่ลำห้วยไหลมาบรรจบกันเป็นพื้นที่ชุ่มชื้นที่มีพรรณไม้เกิดขึ้นอยู่มาก มีสภาพภูมิอากาศค่อนข้างร้อน คือ ในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นฤดูร้อน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 26–28 องศาเซลเซียส และฤดูฝนจะอยู่ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคมของทุกปี โดยพื้นที่ชุมชนท่าแพมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากพูน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากพูน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากพูน
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากพูน และเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่างิ้ว

สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง รายงานจำนวนประชากรหมู่ที่ 1 บ้านท่าแพ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 3,759 คน โดยแยกเป็นประชากรชาย 1,857 คน ประชากรหญิง 1,902 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 1,289 หลังคาเรือน (ข้อมูลเดือนธันวาคม 2566)

ท่าแพ เป็นชุมชนขนาดใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอยู่ในความดูแลขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเทศบาลตำบลท่าแพ ซึ่งประชากรในชุมชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกี่ยวกับการทำประมงเป็นหลัก เนื่องจากสภาพพื้นที่มีลำคลอง และอยู่ใกล้กับพื้นที่ทะเล จึงมีความเหมาะสมต่อการประกอบอาชีพประมงของชาวบ้าน ทั้งชาวบ้านยังมีการต่อยอดในการทำอุตสาหกรรมด้านการประมง คือการแปรรูปอาหารทะเล หรือประกอบอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการทำประมง เช่น การทำกุ้งแห้ง การทำโรงน้ำแข็ง การเปิดอู่ซ่อมเรือ การทำแพปลา ฯลฯ และด้วยพื้นที่ชุมชนท่าแพเป็นเส้นทางสำคัญในการเดินทางเข้าไปยังตัวเมืองนครศรีธรรมราช ตลอดสองข้างทางจึงมีกลุ่มชาวบ้านที่ยึดอาชีพการค้าขาย โดยเป็นการเปิดร้านริมฝั่งถนน มีทั้งร้านอาหาร ร้านขายของชำ ร้านเสริมสวย ร้านขายยาเวชภัณฑ์ อีกทั้งในบริเวณชุมชนยังมีการเปิดเป็นตลาดนัดเพื่อให้คนมาจับจ่ายสินค้าและชาวบ้านได้นำสิ่งของมาขายเพื่อสร้างรายได้

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

มรดกทรัพยากรทางธรรมชาติ

ป่าชายเลน พื้นที่บริเวณชุมชนท่าแพเป็นพื้นที่ริมคลองและพื้นที่ปากอ่าวที่มีป่าชายเลนเกิดขึ้น โดยป่าชายเลนในบริเวณนี้มีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลท้องถิ่นเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก ทั้งยังเป็นแหล่งวางไข่ แหล่งอาหาร และวัฏจักรชีวิตของสิ่งมีชีวิตในแถบนี้ เป็นพื้นที่ห่วงโซ่อาหารที่สำคัญของระบบนิเวศ และทรัพยากรทางทะเลในพื้นที่ นอกจากนี้ป่าชายเลนยังเป็นพื้นที่กันเศษขยะและสิ่งสกปรกลงสู่ทะเล และเป็นแนวกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง และแนวกันคลื่นลมตามธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก โดยมีพรรณพืชที่ขึ้นในป่าชายเลนตัวอย่างเช่น โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก แสม ปาล์ม ฯลฯ ทั้งนี้ชาวบ้านยังมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าชายเลน โดยมีการนำไม้ในพื้นที่ไปสร้างมูลค่าเพิ่มหรือทำประโยชน์อื่น ๆ เช่น การทำเป็นถ่าน โดยเฉพาะไม้โกงกางที่จะให้ถ่านที่มีคุณภาพดีและมีราคาสูง นอกจากนี้ยังใช้ไม้โกงกางสำหรับค้ำยันสิ่งปลูกสร้างขนาดเล็ก หรือทำอุปกรณ์เลี้ยงหอยแมลงภู่ อีกทั้งเปลือกไม้โกงกางยังใช้รักษาแผลสดได้ด้วย ส่วนไม้ประเภทอื่น ๆ จะนิยมนำไปทำฟืน เช่น ไม้โปรงขาว ไม้แสม เป็นต้น

พันธุ์สัตว์ที่พบในพื้นที่ เนื่องจากบริเวณป่าชายเลนชุมชนท่าแพเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก จึงเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดทั้งพืชและสัตว์ โดยสัตว์ที่พบได้ในพื้นที่บริเวณนี้ ตัวอย่างเช่น

  • กุ้ง จะเป็นกุ้งน้ำกร่อยที่มีมูลค่า เช่น กุ้งแชบ๊วย กุ้งก้ามกราม กุ้งฝอยหรือเคย
  • ปลา ปลาที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่จะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาทู
  • ปู ปูที่พบในพื้นที่ค่อนข้างมีความหลากหลาย เช่น ปูม้า ปูทะเล ปูแสม
  • หอย หอยจะเกาะอยู่ตามผิวดิน ลำต้น ราก กิ่ง และใบของพืชในป่าชายเลน เช่น หอยลาย หอยแครง หอยนางรม

มรดกด้านทรัพยากรทางวัฒนธรรม

“อนุสาวรีย์วีรไทย” วีรไทยคืออนุสาวรีย์ผู้กล้าแห่งนครศรีธรรมราชในการต่อสู้กับกองทัพทหารญี่ปุ่นในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เวลาประมาณ 06.00 น. กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย และบริเวณท่าแพก็มีการเข้ามาของทหารญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน ซึ่งบริเวณชุมชนท่าแพได้มีการต่อสู้เกิดขึ้น โดยฝั่งไทยนำโดยพลตรีหลวงเสนาณรงค์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 ในขณะนั้นเป็นผู้บัญชาการรบ ณ แนวรบบ้านท่าแพ ทำให้ทหารญี่ปุ่นถอยร่นไป ภายหลังเมื่อสงครามสิ้นสุดลงได้มีการก่อสร้างอนุสาวรีเพื่อเป็นเกียรติและรำลึกถึงวีรกรรมอันกล้าหาญและน่าชื่นชมของผู้เสียสละในสมรภูมิท่าแพ นครศรีธรรมราช ซึ่งสร้างขึ้นตามความประสงค์ของภาคประชาชน และภาครัฐโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และได้ตั้งชื่ออนุสาวรีย์นี้ว่า “อนุสาวรีย์วีรไทย พ.ศ. 2484”

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

นครศรีดีย์ - Nakhon Si Dee. (2561). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2567, จาก https://www.facebook.com/nakhonsi.whatdee

ประไพพิมพ์ พานิชสมัย. (2560). การออกแบบอัตลักษณ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ชุมชนท่าแพ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.