Advance search

บ้านนาคำ

ชุมชนทอผ้าฝ้ายย้อมคราม ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสกลนคร

หมู่ที่ 4
คำประมง
สว่าง
พรรณานิคม
สกลนคร
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
20 มิ.ย. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
24 มิ.ย. 2024
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
30 มิ.ย. 2024
บ้านคำประมง
บ้านนาคำ

บ้านคำประมง ได้มาจากชื่อของวัดคำประมง หรือ “วัดป่าพุทธาจาโร” ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ให้ชื่อว่า “วัดคำประมง” เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2530


ชุมชนทอผ้าฝ้ายย้อมคราม ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสกลนคร

คำประมง
หมู่ที่ 4
สว่าง
พรรณานิคม
สกลนคร
47130
17.37313314
104.0159771
เทศบาลตำบลสว่าง

เมื่อก่อนบ้านคำประมง เป็นบ้านไม่มีชื่อขึ้นตรงกับหมู่บ้านนาคำ ต่อมาได้มีพระพัลลภ ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ท่านได้มาสร้างวัดคำประมงที่บ้านนาคำ ซึ่งห่างจากบ้านนาคำประมาณ 5 กิโลเมตร พระพัลลภ ได้พบและพูดคุยกับนายเสริม สอนวงศ์ษา ผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น ได้เล่าถึงประวัติบ้านนาคำดังนี้ 

บ้านนาคำเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ชาวบ้านได้แยกอพยพมาจากบ้านบัว ซึ่งมีผู้ริเริ่มบุกเบิกครั้งแรกเพียง 2 ครอบครัว คือ ครอบครัวพ่อเฒ่าจารย์ลีทอง สอนวงศ์ษา และครอบครัวพ่อใหญ่อึ้ม คำจวง 

ทั้งสองครอบครัวได้มาอาศัยอยู่ภายในป่าโปร่งเต็มไปด้วยหญ้าแฝก มีป่าไม้ป่าสัก ไม้รัง ตรงบริเวณนั้นเป็นลุ่มมีน้ำไหลตลอด เพราะมีบ่อน้ำคำ (บ่อน้ำซับหรือน้ำซึม) ชาวบ้านได้อาศัยอาบกิน เลี้ยงวัว ควาย แต่เดิมนั้นถนนหนทางเป็นดินทราย เป็นทางเกวียนสามารถเชื่อมไปถึงบ้านดอนกอยและบ้านบัว ความเป็นอยู่ก็ไม่พ้นการจับสัตว์น้ำ เพราะอยู่ใกล้ลำน้ำอูน เมื่อหลวงปู่ได้สร้างฝาย จึงทำให้ชาวบ้านได้ใช้น้ำในการเกษตรด้วย การเดินทางไปมาสะดวกเฉพาะในช่วงหน้าแล้งเท่านั้น เพราะเป็นดินทราย 

ส่วนที่มาของความหมายของบ้านคำประมง ได้มาจากชื่อของวัดคำประมง หรือ "วัดป่าพุทธาจาโร" ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ให้ชื่อว่า “วัดคำประมง” เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2530 ซึ่งความหมายประกอบด้วย โรงเรียน คือ ประทีปส่องทางความรู้ วัดคำประมง คือ ประทีปส่องทางธรรม ทำให้ชาวบ้านทั้งหลายได้มองเห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรม ซึ่งต้องแสวงหาและปฏิบัติเป็นเนื่องนิจ เหมือนการทำมาหากินของชาวไร่ ชาวนา ถ้ามีแหล่งน้ำใหญ่ แต่ไม่รู้จักใช้น้ำให้เป็นประโยชน์ก็หาเกิดผลไม่ ฉะนั้นการกระทำสิ่งใดก็ตาม ถ้าหากขาดการพิจารณาหาเหตุผล ก็ย่อมไม่เกิดประโยชน์สิ่งใดเลย เมื่อมีวัดคำประมงเป็นประทีปส่องทางธรรม ก็เท่ากับมีสิ่งจูงใจให้มนุษย์พากันไหว้ข้ามวัฏสงสารของภพชาติปลายทางสืบไป

บ้านคำประมง หมู่ 4 ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร  มีอาณาเขตติดกับหมู่บ้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ บ้านดอนกอย
  • ทิศตะวันออก ติดกับ วัดคำประมง
  • ทิศใต้ ติดกับ บ้านชุมชน
  • ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านบัว

คนในหมู่บ้านคำประมง เป็นคนที่ขยันขันแข็งต่อการงาน ถึงแม้ว่าสภาพภูมิอากาศไม่ค่อยดี เมื่อหมดฤดูการเพาะปลูกข้าวก็มักจะหางานอย่างอื่นทำ คนในหมู่บ้านจะคอยช่วยเหลือกันเมื่อมีงาน กิจกรรมต่าง ๆ ในหมู่บ้าน คนในหมู่บ้านมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีผู้อาวุโสในหมู่บ้านเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกหลาน กลุ่มชาติพันธุ์ในหมู่บ้านคำประมงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ภูไท จึงมีสำเนียงภาษาพูดเป็นสำเนียงในภาษาภูไท

ผู้ไท

การปกครองของคนในหมู่บ้านคำประมง อำนาจส่วนใหญ่ในการบริหารหมู่บ้านเป็นผู้ใหญ่บ้าน โดยเป็นผู้ที่ชาวบ้านให้ความไว้วางใจเลือกเข้ามาเป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งการบริหารหมู่บ้านนี้ ถ้าเกิดมีเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในหมู่บ้าน สามารถปรับความเข้าใจกันได้ เพราะถือว่าเป็นคนในหมู่บ้านเดียวกัน จะมีผู้อาวุโสที่สุดในหมู่บ้านหรือพระสงฆ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือตัดสินคดีให้ โดยมีนายไพวรรณ์ ทิลารักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน ส่วนกลุ่มอาชีพภายในชุมชนที่มีการรวมตัวกัน เช่น กลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านคำประมง

ชาวบ้านคำประมง เป็นสังคมเกษตรกรรมชนบท ชาวบ้านไม่เอารัดเอาเปรียบกัน มีความห่วงหาอาทรซึ่งกันและกัน มีการนับถือกันระหว่างเครือญาติ ยึดมั่นในฮีตสิบสองคองสิบสี่ มีผู้สูงอายุเป็นแบบอย่างที่ดี นอกจากนี้ ชาวบ้านมีความเชื่อเรื่องพุทธศาสนามากพอ ๆ กับความเชื่อเรื่องผีสาง เทวดา และผีบรรพบุรุษ 

1.นางจินตนา พิมพานิชย์ ประธานกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านคำประมง ที่สร้างพลังให้กับผู้หญิงในชุมชนบ้านคำประมง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เธอกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำหมู่บ้านที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิง

ชาวบ้านคำประมง ได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตผ้าย้อมครามธรรมชาติ และได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดอนกอยโมเดล ซึ่งเป็นโครงการกลุ่มผ้าทอต้นแบบของอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จากพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่สนับสนุนโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ดำเนินงานตามพระราชดำริ ‘ผ้าไทยใส่ให้สนุก’ มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพผ้าของชุมชนบ้านดอนกอยไปสู่การเป็นชุมชนต้นแบบของประเทศ

สำเนียงพูดของชาวบ้านคำประมง เป็นสำเนียงภาษาผู้ไท

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

นายไพวรรณ์ ทิลารักษ์ ผู้ใหญ่บ้านคำประมง หมู่ที่ 4, สัมภาษณ์