Advance search

ชุมชนที่มีโบราณสถานสมัยเขมรและเป็นชุมชนท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดขอนแก่น

บ้านนาคำน้อย
บัวใหญ่
น้ำพอง
ขอนแก่น
วุฒิกร กะตะสีลา
28 พ.ค. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
20 มิ.ย. 2024
วุฒิกร กะตะสีลา
1 ก.ค. 2024
บ้านนาคำน้อย

ใช้ชื่อหมู่บ้านตามแหล่งน้ำของชุมชน


ชุมชนชนบท

ชุมชนที่มีโบราณสถานสมัยเขมรและเป็นชุมชนท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดขอนแก่น

บ้านนาคำน้อย
บัวใหญ่
น้ำพอง
ขอนแก่น
40140
16.60925576
102.9273234
องค์การบริหารส่วนตำบลบัวใหญ่

ช่วงก่อนการตั้งหมู่บ้านนาคำน้อย เดิมชาวบ้านนาคำน้อยสืบเชื้อสายมาจากชาวเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งได้อพยพย้ายถิ่นตามคาราวานค้าขาย เมื่อเดินทางมาถึงพื้นที่ในเขตน้ำพองซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านบัวใหญ่ในปัจจุบันพบว่าเป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้และสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำพอใช้ตลอดปี จึงได้ตัดสินใจตั้งรกรากในพื้นที่ ภายหลังเมื่อชุมชนขยายตัวใหญ่ขึ้นจึงมีการขอจัดตั้งหมู่บ้าน และให้ชื่อว่าบ้านบัวใหญ่ตามแหล่งน้ำของชุมชน

ช่วงก่อตั้งบ้านนาคำน้อย พ.ศ. 2403 หลังจากที่ตั้งหมู่บ้านบัวใหญ่แล้ว มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้แยกครัวเรือนมาตั้งชุมชนใหม่ในพื้นที่บริเวณบ้านนาคำน้อย คือ พ่อใหญ่หลวงผาสารท (ต้นตระกูลตรีศาสตร์) พ่อใหญ่พรมดี พ่อใหญ่จันทะเนตร พ่อใหญ่พรไกร พ่อใหญ่มอง มีความคิดริเริ่มในการแยกครัวออกมาจากบ้านบัวใหญ่ เล็งเห็นว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าว สามารถตั้งบ้านได้จึงย้ายออกมาจากบ้านบัวใหญ่และมีผู้คนเพิ่มมากขึ้นเป็นหมู่บ้านใหญ่ โดยใช้ชื่อว่าหมู่บ้านนาคำน้อย ตามแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน

บ้านนาคำน้อยเป็นพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูกทำนา อีกทั้งยังมีครองชลประทานตัดผ่านใกล้กับบริเวณที่ตั้งชุมชนส่งผลให้การทำการเกษตรมีความสะดวกสบาย บ้านนาคำน้อยเป็นชุมชนที่ติดกับบ้านบัวใหญ่ บ้านแสนตอ บ้านคอกคี พื้นที่ส่วนใหญ่ใกล้เคียงเป็นที่นา

ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนในวัฒนธรรมลาว (อีสาน) สืบเชื้อสายมาจากเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนรักษาฮีตคองตามรูปแบบของคนอีสาน คือมีประเพณีตามฮีตสิบสอง

  • เดือนมกราคม การทำบุญสู่ขวัญข้าว การทำบุญปีใหม่
  • เดือนกุมภาพันธ์ ข้าวจี่
  • เดือนมีนาคม ประเพณีบุญผะเหวด
  • เดือนเมษายน เทศกาลสงกรานต์
  • เดือนพฤษภาคม บุญบั้งไฟ
  • เดือนมิถุนายน บุญเลี้ยงบ้าน
  • เดือนกรกฎาคม วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
  • เดือนสิงหาคม บุญข้าวประดับดิน
  • เดือนกันยายน บุญข้าวสาก
  • เดือนตุลาคม บุญออกพรรษา
  • เดือนพฤศจิกายน บุญกฐิน บุญลอยกระทง
  • เดือนธันวาคม เทศกาลปีใหม่
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแหล่งเรียนรู้กู่ประภาชัย ตั้งอยู่ในบริเวณวัดกู่ประภาชัย บ้านนาคำน้อย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จากความตั้งใจของชุมชนบ้านนาคำน้อยซึ่งมีความประสงค์ในการจัดตั้งชมรมอนุรักษ์มรดกอีสาน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้เยาวชนและคนในชุมชน สามารถศึกษาศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานและภูมิปัญญาท้องถิ่น ประจวบกับการดำเนินการบูรณะโบราณสถานกู่ประภาชัยโดยกรมศิลปากรในปี พ.ศ. 2540-2541 และได้พบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก คณะกรรมการหมู่บ้านนาคำน้อยจึงได้ยื่นความประสงค์ต่อกรมศิลปากรในการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้บ้านนาคำน้อยกู่ประภาชัยขึ้น เพื่อเป็นเครือข่ายในการร่วมอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ และเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับให้เยาวชน บุคคลทั่วไปและชาวบ้านนาคำน้อยสามารถศึกษาศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านท้องถิ่น ควบคู่กับการได้ศึกษาเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี จากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านนาคำน้อยทำให้สามารถจัดหางบประมาณในการจัดสร้างอาคาร แหล่งเรียนรู้ ซึ่งดำเนินการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2551 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการออกแบบและปรับปรุงภูมิทัศน์ และในปี พ.ศ. 2553 ได้รับความอนุเคราะห์จากกรมศิลปากรในการส่งเสริมการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการดำเนินการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างยั่งยืน การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์จะแบ่งเนื้อหาที่จัดแสดงออกเป็น 3 ส่วน คือ

  • ส่วนที่ 1 หมู่บ้านนาคำน้อย จัดแสดงบริเวณโถงทางเข้า นำเสนอเรื่องราวประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของหมู่บ้านนาคำน้อย การตั้งชุมชนของหมู่บ้าน วิถีชีวิตของผู้คนในหมู่บ้าน สภาพภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญของหมู่บ้านนาคำน้อย และรวมไปถึงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์และอนาคตของหมู่บ้านนาคำน้อย
  • ส่วนที่ 2 ประวัติศาสตร์โบราณคดี กู่ประภาชัย จัดแสดงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของกู่ประภาชัย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณประมาณ 800 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งหลักฐานต่าง ๆ ได้มาจากการขุดค้นและศึกษา รวมถึงการบูรณะโบราณสถาน ทั้งรูปแบบของสถาปัตยกรรมและเรื่องราวของอโรคยาศาล อีกทั้งยังมีการจัดแสดงวัตถุ ที่ได้จากการขุดแต่งกู่ประภาชัย เช่น เศียรประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อายุประมาณ 800 ปี พระพุทธรูปบุทอง สมัยวัฒนธรรมลาวล้านช้าง อายุ 300 ปี
  • ส่วนที่ 3 มูนมัง มรดกอีสาน จัดแสดงเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายของชาวบ้านนาคำน้อย โดยการนำเสนอผ่านเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องมือในการเข้าป่าหาของป่า เครื่องมือในการทำนา จำพวกไถและแอก เครื่องมือในการทอผ้า เครื่องมือในการทำครัว รวมไปถึงชิ้นส่วนของอุโบสถที่สะท้อนถึงความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคนในชุมชน

กู่ประภาชัย โบราณสถานในวัฒนธรรมเขมรสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นรูปแบบของการสร้างอโรคยาศาล ประกอบด้วย ปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขยื่นทางด้านหน้า มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า บรรณาลัย มีบารายหรือบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

คนในชุมชนใช้ภาษาอีสานในการสื่อสารในชีวิตประจำวันและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล