มีความโดดเด่นทางด้านประมงท้องถิ่นเเละความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรทางธรรมชาติ
บ้านโพนบก เรียกชื่อตามสิ่งที่เป็นลักษณะเด่นในสมัยนั้น ได้แก่ ต้นบก หรือ ต้นกะบก ความเชื่อของคนกลุ่มนี้ไม่ว่าจะอพยพไปอยู่ที่ไหน ก็จะเชิญเอาผีไปอยู่ด้วยเพื่อจะไปทำหน้าที่ปกปักรักษาผู้คน ที่อยู่ของพวกผีที่ตนนำมาด้วยนั้น จะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ ๆ บังเอิญมาตั้งบ้านในชุมชนแห่งนี้ได้มีต้นกะบกใหญ่ มีลักษณะเด่นกว่าต้นไม้อื่น ๆ และขึ้นในทำเลที่ตั้งดี คือ ขึ้นอยู่ในบริเวณที่เป็นเนิน น้ำไม่ค่อยขังตลอดปี ซึ่งชาวบ้านไม่ค่อยเจาะจงว่าจะเป็นต้นกะบก แต่ขอให้เป็นต้นไม้ใหญ่ก็สามารถอัญเชิญผีเข้ามาอยู่ได้
มีความโดดเด่นทางด้านประมงท้องถิ่นเเละความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรทางธรรมชาติ
บ้านโพนบก เรียกชื่อตามสิ่งที่เป็นลักษณะเด่นในสมัยนั้น ได้แก่ ต้นบก หรือต้นกะบก ความเชื่อของคนกลุ่มนี้ไม่ว่าจะอพยพไปอยู่ที่ไหน ก็จะเชิญเอาผีไปอยู่ด้วยเพื่อจะไปทำหน้าที่ปกปักรักษาผู้คน ที่อยู่ของพวกผีที่ตนนำมาด้วยนั้น จะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ ๆ บังเอิญมาตั้งบ้านในชุมชนแห่งนี้ได้มีต้นกะบกใหญ่ มีลักษณะเด่นกว่าต้นไม้อื่น ๆ และขึ้นในทำเลที่ตั้งดี คือ ขึ้นอยู่ในบริเวณที่เป็นเนิน น้ำไม่ค่อยขังตลอดปี ซึ่งชาวบ้านไม่ค่อยเจาะจงว่าจะเป็นต้นบก แต่ขอให้เป็นต้นไม้ใหญ่ก็สามารถอัญเชิญผีเข้ามาอยู่ได้
โพนบก จึงหมายถึงต้นไม้ที่เกิดขึ้นในทำเลดี ในที่บริเวณเนินที่น้ำท่วมไม่ถึงซึ่งเป็นลักษณะเด่นของชุมชนนี้ ใต้ต้นกะบกจะสร้างศาลเพียงตาเพื่อเป็นที่สถิตของผีปู่ตา ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นผีคู่บ้านมาตลอด ปัจจุบันต้นบกต้นนี้มีอายุกี่ร้อยปีแล้วก็ไม่สามารถทราบได้ ชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านโพนบก” ตั้งแต่นั้นเป็นตนมา หลังจากที่ได้ทำเลในการก่อตั้งบ้านเรือนได้ใช้พื้นที่ของหนองหาร ปลูกข้าว ทำนา เเละหาสัตว์น้ำหาอยู่หากิน เเละดื่มกิน จนกระทั่งช่วงทศวรรษ 2535 เป็นต้นมา มีการสร้างประตูนำสุรัสวดี ทำให้ปริมาณน้ำท่วมตลอดทั้งปีพื้นที่ทำนาน้ำท่วมขัง ผู้คนจึงต้องเคลื่อนย้ายหาพื้นที่ทำนาแห่งใหม่ บางคนไม่มีที่ทำนาต้องมาประกอบอาชีพรับจ้าง เเต่อาชีพประมงท้องถิ่นยังคงหาเลี้ยงชีพได้เช่นเดิม
บ้านโพนบก เป็นหมู่บ้านที่อยู่บริเวณริมหนองหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองสกลนคร และทางทิศตะวันตกของอำเภอโพนนาแก้ว มีอาณาเขตติดกับพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับ บ้านนาแก้ว
- ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านนาตงวัฒนา
- ทิศใต้ ติดกับ หนองหาร
- ทิศตะวันตก ติดกับ หนองหาร
ปัจจุบันบ้านโนนเรือมี 150 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากร 799 คน เป็นชาย 398 คน หญิง 401 คน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทญ้อ
ญ้อชาวบ้านโพนบกประกอบอาชีพหลัก คือ การทำนา เกษตรกรรม การจับสัตว์น้ำ การหาของป่า
ชาวบ้านโพนบก เป็นสังคมเกษตรกรรมชนบท ชาวบ้านไม่เอารัดเอาเปรียบกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการนับถือกันระหว่างเครือญาติ ยึดมั่นในฮีตสิบสองคองสิบสี่ มีผู้สูงอายุเป็นแบบอย่างที่ดี ปัจจุบันชาวบ้านโพนบกยังมีความเชื่อเรื่องพุทธศาสนามากพอ ๆ กับความเชื่อเรื่องผีสาง เทวดา และผีบรรพบุรุษ
หนองหาร คือ แหล่งทรัพยากรที่ให้ผู้คนในชุมชนได้จับสัตว์น้ำเพื่อเลี้ยงชีพ
ปัจจุบันสำเนียงพูดของชาวบ้านโพนบก เป็นสำเนียงภาษาไทญ้อ
ปัญหาน้ำท่วมและการขยายเขตหนองหารทับที่นา เป็นปัญหาที่ชาวบ้านให้ความสําคัญในลําดับต้น ปัญหาเหล่านี้มีสาเหตุมาจากการพัฒนาหนองหารโดยการสร้างประตูกั้นลําน้ำก่ำเป็นลําน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างหนองหารกับแม่น้ำโขง ทําให้วัฏจักรการขึ้นลงของน้ำในหนองหารเปลี่ยนไปจากเดิม และปัญหาใหญ่อันดับแรกที่ชาวบ้านกล่าวถึงกันมาก คือ ปัญหาเรื่องวัชพืช หรือขี้สนม การแพร่กระจายและการทับถมของผักตบชวาและวัชพืชอื่น
นายสุพัฒ ดาบชัยคำ, ผู้ใหญ่บ้านโพนบก, สัมภาษณ์