ชุมชนชนบทที่มีการทอเสื่อเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน
สภาพพื้นที่ของชุมชนมีทรัพยากรแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนและมีต้นตะโก จึงตั้งชื่อชุมชนว่า “หนองโก”
ชุมชนชนบทที่มีการทอเสื่อเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน
เดิมบ้านหนองโกและบ้านสมศรีเป็นหมู่บ้านเดียวกันมีระยะห่างกันประมาณ 700 เมตร สาเหตุที่หมู่บ้านทั้งสองต้องแยกจากกันเพราะที่นาและที่สวนห่างจากหมู่บ้าน ถนนไม่สะดวกเพราะสมัยนั้นบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านเป็นป่า ถนนก็เป็นทางเกวียน จึงทำให้ผู้คนทำยุ้งข้าวไว้บริเวณที่นาที่สวน และเริ่มขยายออกมาปลูกบ้านตามที่นาเพิ่มขึ้น คนกลุ่มแรกที่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านหนองโก เริ่มย้ายออกมาจากบ้านสมศรีในปี พ.ศ. 2473 คือ นายเคน ภูแม้นวาส, นางนาง ภูแม้นวาส, นายแหล่ ภูสำรอง, นางเคน ภูสำรอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 นายคำพันธ์ ภูดินดง ได้ขอแยกบ้านหนองโกออกจากบ้านสมศรีเป็นทางการ โดยมีนายคำพันธ์ ภูดินดง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ชุมชนบ้านหนองโกเป็นชุมชนขนาดเล็กที่มีความสามัคคีช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา เลี้ยงสัตว์ และมีอาชีพเสริมรับจ้างทั่วไป เช่น งานก่อสร้าง
ชุมชนหนองโกเป็นชุมชนขนาดเล็กที่แยกตัวออกจากบ้านสมศรีมีทรัพยากรป่าที่สำคัญของชุมชน
ประชากรในชุมชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนจากบ้านสมศรีที่แยกตัวออกมาตั้งบ้านหนองโกจนปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนในวัฒนธรรมลาว (อีสาน)
กลุ่มทอเสื่อกกบ้านหนองโก ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ตั้งกลุ่มเมื่อประมาณ พ.ศ. 2540 โดยมีสมาชิกเริ่มต้น 12 คน แรกเริ่มการทอเสื่อกกเป็นการทอใช้ในครัวเรือนเท่านั้น เก็บต้นกกจากภายในหมู่บ้านมาทอเพื่อเก็บไว้ใช้ในครัวเรือน ฝากญาติพี่น้อง การทอเสื่อในช่วงแรกเป็นรูปแบบธรรมดาไม่มีสีสัน ต่อมาเริ่มตั้งกลุ่มจึงมีการทอเพื่อเก็บไว้ขายโดยมีลูกหลานที่ไปทำงานกรุงเทพมหานครสั่งให้ทอและช่วยขายให้คนรู้จัก เมื่อ พ.ศ. 2565 มีการสนับสนุนการทอเสื่อกกจากหน่วยงานของรัฐให้เริ่มมีการทำสีทำลวดลายที่หลากหลายมากขึ้น เช่น ลายสาวภูไท ดาวพระศุกร์ หัวใจกาฬสินธุ์ ฯลฯ เมื่อมีการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐทำให้สามารถขายสินค้าได้มากขึ้น มีผู้สั่งซื้อเข้ามากลุ่มเริ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
- ผลิตภัณฑ์เสื่อกก
คนในชุมชนใช้ภาษาอีสานในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2566). โครงการวิจัยเรื่อง การอยู่ร่วมกันในเมืองประวัติศาสตร์ทวารวดีอย่างมีอนาคต ณ กันทรวิชัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สายหยุด ช่างทองคำ. (2545). การจัดทำแพนแม่บทชุมชนบ้านหนองโกหมู่ที่12 ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม