Advance search

ซ่งน้ำพุ

แหล่งท่องเที่ยวทางด้านเกษตร "แปลงเกษตรลอยน้ำ" แห่งเเรกของจังหวัดสกลนคร

หมู่ที่ 4
น้ำพุ
บ้านแป้น
โพนนาแก้ว
สกลนคร
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
24 มิ.ย. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
26 มิ.ย. 2024
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
1 ก.ค. 2024
บ้านน้ำพุ
ซ่งน้ำพุ

บ้านน้ำพุ ชื่อของหมู่บ้านเรียกตาม “ภูมิลักษณะนาม” ที่ปรากฏมี “น้ำพุ” ธรรมชาติในบริเวณ “ดอนปู่ตา” จนเกิดพื้นที่ทาง “นิเวศวัฒนธรรม” ของชุมชน ทั้งที่มีพื้นที่ทางธรรมชาติ พื้นที่ทางสังคม และพื้นที่ทางความเชื่อเหนือธรรมชาติ


ชุมชนชนบท

แหล่งท่องเที่ยวทางด้านเกษตร "แปลงเกษตรลอยน้ำ" แห่งเเรกของจังหวัดสกลนคร

น้ำพุ
หมู่ที่ 4
บ้านแป้น
โพนนาแก้ว
สกลนคร
47230
17.18209231
104.2480029
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้น

บ้านน้ำพุ ชื่อของหมู่บ้านเรียกตาม “ภูมิลักษณะนาม” ที่ปรากฏมี “น้ำพุ” ธรรมชาติในบริเวณ “ดอนปู่ตา” จนเกิดพื้นที่ทาง “นิเวศวัฒนธรรม” ของชุมชน ที่มีทั้งพื้นที่ทางธรรมชาติ พื้นที่ทางสังคม และพื้นที่ทางความเชื่อเหนือธรรมชาติของชุมชนที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามอาณาเขตของหมู่บ้านด้านทิศตะวันตกที่อยู่ติดกับหนองหารได้รับผลกระทบจากก้อนวัชพืช หรือ สนุ่น ปิดล้อมพื้นที่ริมชายฝั่งอยู่เป็นประจำ ซึ่งบริเวณนี้มีลักษณะเป็นอ่าว หรือ “ซ่ง” ทำให้ชาวบ้านทั่วไปประสบปัญหาในการสัญจรไปมา การนำเรือเข้าออกหนองหาร และชาวประมงพื้นบ้านมีความยากลำบากในการออกเรือหาปลา ดังนั้น ชาวบ้านน้ำพุจึงร่วมมือกับศูนย์หนองหารศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครในการแก้ไขปัญหาวัชพืชปิดล้อมชายฝั่งด้วยการแปลงวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยการนำ “สนุ่น” มาทำเป็น “แปลงเกษตรลอยน้ำ” ปลูกพืชผักสวนครัวลงในแปลงซึ่งเป็นการเพิ่มเนื้อที่ของผิวน้ำและลดปริมาณวัชพืชที่ติดกันเป็นแพขนาดใหญ่ ส่งผลทำให้เรือของชาวประมงพื้นบ้านเข้าออกหนองหารได้ง่ายยิ่งขึ้น

ชาวชุมชนบ้านน้ำพุทำนาปี นาปัง และการประมงพื้นบ้านเป็นหลัก ซึ่งหมู่บ้านมีประวัติความเป็นมายาวนานตามตำนานอุรังคธาตุประวัติการเกิดเมืองหนองหาร เมืองสกลทวาปี และเมืองสกลนครในปัจจุบัน ซึ่งตำนานดังกล่าวปรากฏชื่อบ้านทรงน้ำพุ (ปัจจุบันคือบ้านน้ำพุ) อยู่ด้วย กล่าวคือ เจ้าเมืองหนองหารจะเสด็จมาสรงน้ำที่บ่อน้ำพุซึ่งอยู่ในบริเวณดอนปู่ตาเป็นประจำทุกปี และดอนปู่ตาบริเวณนี้เป็นสถานที่ตั้งของสิ่งสำคัญและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน ได้แก่ น้ำพุธรรมชาติ หินศิลาแลงรอยพระพุทธบาท และมีประวัติเกี่ยวโยงไปถึงวัดพระธาตุเชิงชุม วรวิหาร รวมถึงวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง ดังนั้น จึงนับได้ว่าบ้านน้ำพุเป็นหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็งหมู่บ้านหนึ่ง เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีพื้นฐานมาจากต้นตระกูลเดียวกันเกือบทั้งหมู่บ้าน จะเห็นได้จากการที่คนในหมู่บ้านมีนามสกุลไม่กี่นามสกุล ซึ่งส่วนใหญ่คนที่มีนามสกุลเดียวกันมักจะเป็นเครือญาติกันโดยสายเลือด ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้คนในหมู่บ้านมีความรักความสามัคคีกันมาโดยตลอด รวมถึงความร่วมมือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ภายในหมู่บ้านเป็นไปด้วยดี เด็กและเยาวชนมีความเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่เพราะเด็กเหล่านั้นเชื่อว่าผู้ใหญ่ทุกคนในหมู่บ้านเป็นญาติผู้ใหญ่คนหนึ่ง อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของหมู่บ้านยังไม่ดีเท่าที่ควรจึงทำให้คนที่อยู่ในวัยทำงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศและไปทำงานในเมืองหลวงเป็นส่วนใหญ่ คงเหลือแต่เด็กและคนชราที่อยู่ในหมู่บ้าน สิ่งหนึ่งที่คนในหมู่บ้านต้องการและคาดหวัง คือ การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นแหล่งงานรองรับบุตรหลานที่อยู่ในวัยทำงานได้กลับมาทำงานอยู่ในหมู่บ้าน ในท้องถิ่นของตนเอง และพื้นที่ใกล้เคียง อันจะนำไปสู่การสร้างความอบอุ่นให้กับครอบครัว และสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับชีวิตมากกว่าการไปทำงานรับจ้างต่างถิ่น นอกจากนี้แล้วบ้านน้ำพุยังมีธรรมชาติที่สวยงาม มีวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นที่ยังสืบทอดกันมายาวนาน ในอนาคตบ้านน้ำพุเป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่เหมาะแก่การพัฒนาศักยภาพชุมชน เนื่องจากมีระบบนิเวศหนองหารที่เอื้อต่อการเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้คนในจังหวัดสกลนครและพื้นที่ใกล้เคียง

บ้านน้ำพุเป็นหมู่บ้านซึ่งมีพื้นที่ติดริมฝั่งหนองหาร ทำให้มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีความอุดมสมบูรณ์ของผัก ปลา สัตว์น้ำ นกหลายชนิด พืชพรรณ และธัญญาหาร ซึ่งลักษณะดังกล่าวถือได้ว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ และมีความสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่าบุ่งป่าทาม มีอาณาเขตติดกับหมู่บ้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ บ้านนาแก้ว
  • ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านนาตงวัฒนา
  • ทิศใต้ ติดกับ หนองหาร
  • ทิศตะวันตก ติดกับ หนองหารและลำน้ำก่ำ

ปัจจุบันบ้านน้ำพุ มี 150 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากร 690 คน เป็นชาย 450 คน หญิง 240 คน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทญ้อ มีความสัมพันธ์ในชุมชนแบบเครือญาติ 

ญ้อ

ชาวบ้านน้ำพุ ประกอบอาชีพหลัก คือ การทำนา เกษตรกรรม การจับสัตว์น้ำ การทำการเกษตรลอยน้ำ และการทำเครื่องจักสาน

ชาวบ้านน้ำพุ เป็นสังคมเกษตรกรรมชนบท ชาวบ้านรักใคร่กลมเกลียวกัน มีความห่วงหาอาทรซึ่งกันและกัน มีการนับถือกันระหว่างเครือญาติ ยึดมั่นในฮีตสิบสองคองสิบสี่ นอกจากนี้ ชาวบ้านน้ำพุมีความเชื่อเรื่องพุทธศาสนากับความเชื่อเรื่องผีสาง เทวดา และผีบรรพบุรุษ

1.นายสมพงษ์ กล่อมใจ ปราชญ์ชุมชน

2.นายเตรียม ปุ่งคำน้อย ปราชญ์ชุมชน

  • การศึกษาระบบนิเวศน์ของหนองหาร
  • การเกษตรลอยน้ำ
  • การรวมกลุ่มทำเครื่องจักรสาน

ภาษา การออกเสียงเป็นสำเนียงภาษากลุ่มชาติพันธุ์ไทญ้อ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปูริดา วิป้ชชา และคณะ. (2563). การพัฒนาศักยภาพชุมชนตามแนวทางศาสตร์พระราชาเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศหนองหาร กรณีบ้านน้ำพุ ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นายเตรียม ปุ่งคำน้อย, สัมภาษณ์

นายสมพงษ์ กล่อมใจ, สัมภาษณ์