ชุมชนชาวคริสต์เเละมีภูมิปัญญาทางด้านงานหัตถกรรมของจังหวัดสกลนคร
ชื่อบ้านป่าหว้าน มีที่จากบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านในปัจจุบันเป็นป่า มีความอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี และในบริเวณป่านั้นมีเครือไม้เถา (หว้าน) ที่เป็นสมุนไพรเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้นำมาใช้เป็นยาในการบำบัด รักษา บรรเทาอาการป่วยไข้ของชาวบ้าน จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามบริบทของพื้นที่ว่า "ป่าหว้าน"
ชุมชนชาวคริสต์เเละมีภูมิปัญญาทางด้านงานหัตถกรรมของจังหวัดสกลนคร
มีกลุ่มชน 3 กลุ่ม ย้ายมาจากเมืองบกและเมืองวัง ของประเทศลาวในปัจจุบัน ในยุคนั้นมีความเจริญมาก แต่ปัจจุบันเป็นเพียงหมู่บ้านในเมืองเซโปน อพยพโยกย้ายมาเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 1 พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภายหลังจากตีเมืองเวียงจันทร์ได้สำเร็จ และได้ย้ายมาอยู่ฝั่งบ้านใหญ่วัดดงติ้ว หลังจากนั้นได้ย้ายมาอยู่ที่สกลนคร กลุ่มชน 3 สกุลนั้นคือ
- สกุลอุปพงษ์ คือคุณยายจันทา อุปพงษ์ ย้านมาจากเมืองสกลนคร
- สกุลวันดี คือคุณยายบัว วันดี ย้ายมาจากเมืองภูวานนากระแด้ง เมืองบก ประเทศลาว
- สกุลหะติง คือคุณตาดี หะติง ย้ายมาจาดเมืองห้วยดอลาม เมืองวัง ประเทศลาว
ต่อมาได้เกิดโรคฝีดาษระบาดหนัก ชาวบ้านจึงย้ายมาอยู่รวมกันที่ป่ายางใหญ่ และในป่านั้นมีว่าน และสมุนไพรต่าง ๆ หลายชนิด ได้พากันนำเอาว่านนั้นไปรักษาโรคฝีดาษ และโรคฝีดาษก็ได้หายไป และได้ทำมาหากินได้ตามปกติ มีความอยู่เย็นเป็นสุข ส่วนป่ายางใหญ่นั้น ปัจจุบันคือที่ตั้งของศาลเจ้าปู่ และวัดสะอาดสามัคคีธรรม หลังจากนั้นได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "ป่าหว้าน" มาจนถึงปัจจุบัน
บ้านป่าหว้าน หมู่ที่ 7 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากตัวเมืองสกลนครออกไปทางทิศใต้ประมาณ 12.5 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับหมู่บ้านต่าง ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับบ้านเชียงเครือวัดใหญ่
- ทิศตะวันออก ติดกับบ้านป่าหว้านทุ่งพัฒนา
- ทิศใต้ ติดกับบ้านหนองศาลา
- ทิศตะวันตก ติดกับบ้านหนองหอยใหม่
ชุมชนป่าหว้านทุ่งพัฒนาประกอบด้วยจำนวนครัวเรือน 636 หลังคาเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 1,992 คน แบ่งเป็นชาย 970 คน และเพศหญิง 1,022 คน
ญ้อบ้านป่าหว้านทุ่งพัฒนา เป็นที่ราบลุ่มติดกับหนองหาร และมีลำธารเล็ก ๆ คือ ลำห้วยลาก ไหลผ่านลงสู่หนองหาร ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ในการทำนา ทำสวน ทำไร่ และเป็นแหล่งหาอาหารเพื่อนำมาบริโภค ฉะนั้นชาวบ้านจึงประกอบอาชีพหลัก คือ การทำนา เกษตรกรรม การจับสัตว์น้ำ รับจ้าง และรับราชการ เนื่องจากบ้านป่าหว้านอยู่ไม่ห่างจากตัวเมืองสกลนครไม่มากนัก
ชุมชนเป็นสังคมเกษตรกรรมชนบท ชาวบ้านไม่เอารัดเอาเปรียบกัน มีความห่วงหาอาทรซึ่งกันและกัน มีการนับถือกันระหว่างเครือญาติ ยึดมั่นในฮีตสิบสองคองสิบสี่ มีผู้สูงอายุเป็นแบบอย่างที่ดี นอกจากนี้ชาวบ้านมีความเชื่อเรื่องพุทธศาสนาและคริสตศาสนามากพอ ๆ กับความเชื่อเรื่องผีสาง เทวดาและผีบรรพบุรุษ
กลุ่มชาวบ้านที่รวมตัวกันทำเสื่อจากกกจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ในชุมชน
ปัจจุบันสำเนียงพูดของชาวบ้านเป็นสำเนียงภาษาไทญ้อ
นายชาญชัย แก้วมะ, ผู้ใหญ่บ้าน, สัมภาษณ์
นายครองศักดิ์ ลีทาศรี, ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน, สัมภาษณ์
นางจินตนา เดือยพิมพ์, ชาวบ้านและกรรมการหมู่บ้าน, สัมภาษณ์