Advance search

ศูนย์การศึกษาไตดำบ้านหนองเข้ แหล่งเรียนรู้วิถีกลุ่มชาติพันธุ์ที่อนุรักษ์ไว้ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่และผู้ที่สนใจได้ศึกษา

หมู่ที่ 5
หนองเข้
หนองปรง
เขาย้อย
เพชรบุรี
อบต.หนองปรง โทร. 0-3256-1800
พิทยา ศรีหอม
29 ก.ย. 2022
ประนอม กลองชิต
ศิวกร สุปรียสุนทร
1 ก.ค. 2024
บ้านหนองเข้

เดิมเป็นที่ลุ่มและมีหนองน้ำใหญ่ สันนิษฐานว่าเป็นแหล่งที่มีจระเข้อาศัยอยู่ โดยประชาชนในหมู่บ้านเคยพบจระเข้ ก็เลยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านจระเข้" ชุมชนนี้เป็นชุมชนไทยทรงดำ (ลาวโซ่ง) คนพื้นที่นี้เรียกว่า "บ้านหนองเข้"


ศูนย์การศึกษาไตดำบ้านหนองเข้ แหล่งเรียนรู้วิถีกลุ่มชาติพันธุ์ที่อนุรักษ์ไว้ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่และผู้ที่สนใจได้ศึกษา

หนองเข้
หมู่ที่ 5
หนองปรง
เขาย้อย
เพชรบุรี
76140
13.160575153152898
99.83467876911163
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรง

เดิมพื้นที่บริเวณ หมู่ 5 บ้านหนองเข้ มีบริเวณพื้นที่เป็นที่ลุ่ม ประมาณสี่ไร่เศษมีหนองน้ำขนาดใหญ่และมีต้นไผ่คลุมหนาทึบ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำจืด เช่น กุ้ง หอย ปลา มากมาย ที่อยู่บริเวณหนองน้ำจึงเป็นที่มาของจระเข้น้ำจืด (ซึ่งสมัยนี้จะเรียกกันว่า ตัวเงินตัวทอง) ซึ่งเป็นสัตว์ที่ชาวบ้านมีความเชื่อว่าเป็นจระเข้น้ำจืดนั้น มักจะเข้ามากัดกินไก่ของชาวบ้านกันเป็นประจำ ชาวบ้านจึงมีความเชื่อว่าเป็นจระเข้หรือโตจุงแข้ จึงเป็นที่มาของหมู่บ้านหนองเข้ 

ต่อมาได้มีงบประมาณของทางราชการเข้ามา โดยใช้คำว่า (เงินผันคึกฤทธิ์) เข้ามาในปี พ.ศ. 2526 ในนามพรรคกิจสังคม และได้นำเงินมาปรับปรุงบริเวณหนองน้ำใหญ่ ต่อมาปี พ.ศ. 2548 นางประนอม กลองชิต และ ส.อบต. ปอ แยกรัง ได้รับงบประมาณจัดสรรมาจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรง มาถมสระและทำเป็นสนามลานกีฬาอเนกประสงค์ขึ้น และต่อมาปี พ.ศ. 2555 นางประนอม กลองชิต นายธีระศักดิ์ ค้อนทอง นายสาธิต เอี่ยมภักดิ์ นายสมศักดิ์ พยายาม ได้งบประมาณจัดสรรจากกรมการปกครองจัดตั้งศาลาศูนย์การเรียนรู้-ศูนย์การศึกษาไตดำบ้านหนองเข้ มาจนถึงปัจจุบันนี้

อาณาเขต ขนาดพื้นที่ชุมชนสภาพพื้นที่ทางกายภาพ

  • ทิศเหนือ จรด พื้นที่หมู่ 1
  • ทิศตะวันออก จรด พื้นที่หมู่ 3 หมู่ 4
  • ทิศตะวันตก จรด ภูเขา (เรียกว่า เขาเยือง เป็นป่าสงวน ส.ป.ก.) ต่อไปเป็นเขต อำเภอหนองปล้อง จังหวัดเพชรบุรี
  • ทิศใต้ จรด พื้นที่ตำบลห้วยท่าช้าง-พื้นที่สาธารณะ และสาธารณูปโภคในชุมชน ป่าช้า

สถานที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วัด ตลาดนัด ศูนย์การศึกษาไตดำ

ทรัพยากรทางธรรมชาติ/แหล่งน้ำ อ่างเก็บน้ำพระราชดำริ ป่าชุมชน

พื้นที่ที่มีกิจกรรมทางสังคม ประเพณี และเทศกาล ศูนย์การศึกษาไตดำ

จำนวนครัวเรือน-ครอบครัว 120 หลังคาเรือน จำนวนประชากร ชาย 208 หญิง 355 รวม 563 

ระบบเครือญาติ เช่น ตระกูลดั้งเดิมที่อยู่ในชุมชน การนับลำดับญาติ การสืบทอดมรดก การแต่งงาน มีการจัดลำดับเครือญาติโดยการจัดเรียงมาตามบรรพบุรุษ ปู่ทวด ปู่ยา ตายาย แต่ก่อนมาจนถึงปัจจุบัน โดยนับจากต้นบรรพบุรุษชายหากมีคู่ถือเป็นนับเครือญาติตามฝ่ายชาย หากไม่ได้สมรสก็คงอยู่ตระกูลเดิมของตนมีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเรียกว่า "ปั๊บผีเรือน"

ไทดำ

มีวัดเป็นศูนย์รวมใจชุมชน  มีโรงเรียน(ใช้รวมกับหมู่อื่น) มีศูนย์การศึกษาไตดำเป็นของชุมชนเอง

อาชีพและการรวมกลุ่มประกอบอาชีพในชุมชน มีกลุ่มงานฝีมือพื้นบ้าน (ผู้หญิง) ผ้าทอ กลุ่มจักสาน สานตะกร้า สานข้องใส่ปลา สุ่ม ซ่อน ไซ แหจับปลา 

เครือข่ายการค้าขาย/แลกเปลี่ยนภายใน-ภายนอกชุมชน

  • เข้าร่วมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสถาบันการเงินชุมชน
  • การออกไปทำงานนอกชุมชน การเข้ามาทำงานในชุมชนของคนต่างถิ่น
  • รับจ้างทั่วไป

องค์กรภายนอกที่เข้ามาทำงานในชุมชน ภาครัฐ-พัฒนาชุมชน ส.ป.ก. วัฒนธรรมจังหวัด  ภาคเอกชน-สถาบันพระปกเกล้า บริษัท, โรงงานที่เข้าร่วม  CSR

กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในรอบปี เช่น ปฏิทินการเพาะปลูก ปฏิทินการเลี้ยงสัตว์ ปฏิทินการเกษตร ปฏิทินการผลิตและการค้า 

พิธีตำข้าวเม่า

เมื่อสิ้นปีฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวใหม่จะเก็บเกี่ยวข้าวใหม่มาตำเป็นข้าวเม่าเพื่อทำบุญ บูชาพระแม่โพสพ พระแม่ธรณี ผีนา จ้าวป่า เป็นการบูชา เซ่นไหว้ กราบไหว้ ตอบแทนพระคุณ ที่ประทานผืนดิน ให้เพาะปลูกข้าวได้นำมาเป็นอาหารหลักของชีวิต  สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจกรรม หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจกรรม ศูนย์การศึกษาไตดำบ้านหนองเข้ ม.5 ต.หนองปรง อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี

กิจกรรมทางสังคม วัฒนธรรม และศาสนาที่เกิดขึ้นในรอบปี

  • เข้าร่วมงานฟื้นฟูประเพณีไทยทรงดำกับพี่น้องไตดำต่างถิ่นทั่วประเทศเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะใช้ช่วงเวลาเทศกาลเดือน 5 ทั้งเดือน

การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและภัยพิบัติในรอบปี ปัญหาภัยแล้งมีน้อยมากเนื่องจากมีระบบส่งน้ำของโครงการชลประทาน ส่งน้ำมาจากเขื่อนจังหวัดกาญจนบุรี

ผลกระทบ/ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาในรอบปี ไม่ปรากฎ

1.นายพักตร์ คำโพธิ์

อาศัยอยู่ ม.6 ต.หนองปรง อ. เขาย้อย จ. เพชรบุรี

บทบาท เจ้าพิธิกรรมเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ครูหนังตะลุง ครูกลองยาว

2.นางพเยาว์ พยายาม 

บทบาท เจ้าพิธิกรรม จัดการด้านเซ่นไหว้บรรพบุรุษ เจ้าพิธีกรรมเสนตั้งบั้งหน่อ

ทุนกายภาพ มีพื้นที่ป่าชุมชน 1 แห่ง อ่างเก็บน้ำโครงการพระราชดำริ 1 แห่ง

ทุนมนุษย์ นายพักตร์ คำโพธิ์, นางพเยาว์ พยายาม, นางเบื้อย อยู่สุข, นายเนียม 

ทุนวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น มีศูนย์การศึกษาไตดำบ้านหนองเข้ 1 แห่ง

ทุนสังคม/การเมือง จัดตั้งศูนย์จิตอาสา ดูแลผู้อาวุโส สูงวัย ผู้พิการ ช่วยเหลือที่อยู่อาศัย

ภาษาที่ใช้พูด พื้นที่ในชุมชุมใช้ภาษาไตดำเป็นหลัก และพูดภาษาไทยกลางกับกลุ่มอื่น ๆ

ภาษาหรือตัวอักษรที่ใช้เขียน มีภาษาเขียนเป็นของตนเองมาตั้งแต่ดั้งเดิมจากประเทศเวียดนาม

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2567). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ ปีงบประมาณ 2567. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

อบต.หนองปรง โทร. 0-3256-1800