Advance search

ถิ่นอำเภอเก่า มะพร้าวงาม ลือนามบ่อหว้า พัฒนาไทยทรงดำ

หมู่ที่ 1
ห้วยท่าช้าง
ห้วยท่าช้าง
เขาย้อย
เพชรบุรี
อบต.ห้วยท่าช้าง โทร. 0-3270-6285
ตะวัน พันธุ์ชาติ
30 ก.ย. 2023
นางขวัญเมือง เรียนผง, นางประนอม กลองชิต
ศิวกร สุปรียสุนทร
1 ก.ค. 2024
บ้านห้วยท่าช้าง


ถิ่นอำเภอเก่า มะพร้าวงาม ลือนามบ่อหว้า พัฒนาไทยทรงดำ

ห้วยท่าช้าง
หมู่ที่ 1
ห้วยท่าช้าง
เขาย้อย
เพชรบุรี
76140
13.145532242961442
99.83112752437592
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยท่าช้าง

ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับบ้านห้วยท่าช้าง

ตามที่คนรุ่นเก่าเล่าสืบต่อกันมาว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นป่ารกทึบที่มีลำห้วยตั้งแต่เหนือหมู่บ้านทางทิศตะวันตกทอดยาวมาจนถึงกลางหมู่บ้านไหลไปจนถึงท้ายบ้านคือด้านทิศตะวันออกก่อนที่จะเกิดเป็นหมู่บ้าน ประชากรในหมู่บ้านเป็นคนไทยเชื้อสายชาติพันธุ์ไทยทรงดำเป็นส่วนมาก

เล่าต่อกันมาว่าก่อนหน้าที่จะเข้ามาอยู่ในพื้นที่ห้วยท่าช้างในปัจจุบันนั้น ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บริเวณพื้นที่ติดเขาเหนืออำเภอบ้านลาดในปัจจุบัน เรียกขานว่า ดงบ้านเก่า ด้วยพื้นที่บริเวณนั้นใกล้ป่าเขา ขาดแคลนน้ำ ยากต่อการดำเนินชีวิตจึงย้ายเข้ามาสู่พื้นที่ห้วยท่าช้างในปัจจุบัน เพราะมีบ่อน้ำที่มีตาน้ำไหลออกตลอดทั้งปี เรียกว่า บ่อหว้า จนถึงปัจจุบัน เมื่อประชากรของหมู่บ้านได้เข้าอยู่อาศัยได้ตั้งชื่อบริเวณพื้นที่ของหมู่บ้านตามนี้ ลำห้วยเหนือ

หมู่บ้านทางทิศตะวันตกไหลทอดยาวขวางขนาบหมู่บ้านอยู่บริเวณหมู่ที่ 5 ในปัจจุบันจึงเรียกว่า ห้วยขวาง ไหลผ่านลงมาบริเวณนั้นมีป่าที่เต็มไปด้วยต้นไผ่รวก จึงกล่าวขานชุมชนบริเวณนี้ว่า บ้านบ่อรวก ไหลทอดยาวมาจนถึงกลางหมู่บ้านระหว่างหมู่ 3 หมู่ 4 และหมู่ 2 กลายเป็นหนองน้ำขนาดกว้าง กล่าวกันว่าในอดีตช้างป่าจะลงมาเล่นน้ำในบริเวณดังกล่าวจำนวนมากคนในหมู่บ้านจึงกล่าวเป็นภาษาไทยทรงดำในบริเวณนั้นว่า บั๊วะจ๊าง ที่แปลว่า ปลักช้าง จึงเป็นเรียกหมู่บ้านแห่งนี้เป็นภาษาไทยทรงดำว่า บ้านตาจ๊าง (ตาที่แปลว่า ท่า) ทางการจึงตั้งให้เป็นหมู่บ้านห้วยท่าช้างจนถึงปัจจุบัน

เมื่อน้ำที่ไหลลงไปจนถึงท้ายหมู่บ้านทางด้านทิศตะวันออกจะมีหนองน้ำใหญ่เป็นพื้นที่รับน้ำมีจอกแหนขึ้นเต็มหนองจึงกล่าวขานพื้นที่บริเวณนั้นว่า บ้านหนองแหน คือพื้นที่หมู่ที่ 6 ในปัจจุบัน ส่วนบริเวณหมู่ที่ 1 พื้นที่นี้จะมีการปลูกต้นมะพร้าวเป็นจำนวนมากจึงเรียกขานหมู่บ้านบริเวณนี้ว่า บ้านป่าป๊าวหรือป่ามะพร้าวและในพื้นที่บริเวณหมู่ที่ 4 มีบ่อน้ำประจำหมู่บ้านที่เรียกว่าบ่อหว้าจึงเรียกพื้นที่นี้ว่า บ้านน้ำบ่อ เล่ากันว่าเดิมเป็นเส้นทางเดินทัพทหารพบเป็นตาน้ำทหารจึงช่วยกันขุดเป็นบ่อน้ำเพื่อกินใช้และมีต้นลูกหว้าใหญ่หนึ่งต้นข้างบ่อนี้จึงเป็นที่มาของชื่อ บ่อหว้า หน้าแล้งคนหมู่บ้านอื่นจะมาเข้าคิวตักน้ำในบ่อหว้านี้ไปใช้เพราะน้ำบ่อหว้านี้ตาน้ำออกไหลตลอดทั้งปีไม่เคยแห้ง เมื่อน้ำในบ่อสกปรกมีเศษใบไม้และสาหร่ายเยอะก็จะเกณฑ์คนในหมู่บ้านนำระหัดวิดน้ำไปช่วยกันวิดน้ำออก โดยใช้กระทะใบบัวปิดรูตาน้ำที่ไหลออกชั่วขณะแล้วสร้างบ่อไว้ขังปลาที่จับขึ้นจากบ่อนั้นก่อนที่จะปล่อยคืนสู่บ่อหว้าอีกครั้ง เรียกว่า บ่อพะ ปลาในบ่อหว้านี้จะไม่มีใครกล้ากิน เพราะเล่ากันว่า รัชกาลที่ 4 ท่านถามพ่อเมืองว่ามีใครร้องทุกข์อะไรไหม

พ่อเมืองจึงทูลว่าชาวบ้านห้วยท่าช้างก็ร้องขอว่าบ่อน้ำจะขุ่นเมื่อมาตักน้ำไปใช้เพราะมีคนลงไปจับปลาทำให้น้ำขุ่น ท่านก็เสด็จมายังบ่อหว้าด้วยพระองค์เอง และทำการแช่งด้วยวาจาสิทธิ์ว่า ใครนำปลาในบ่อนี้ไปกินให้ปากแหว่งจมูกโหว่ ปรากฎว่ามีคนไม่เชื่อนำไปกินก็เกิดเป็นจมูกโหว่จริง ๆ และพระองค์ยังรับสั่งถามพ่อเมืองอีกว่าแถวนี้มีอำเภอหรือยังพ่อเมืองตอบว่ายัง พระองค์จึงแต่งตั้งให้หมู่บ้านห้วยท่าช้างเป็น อำเภอห้วยท่าช้าง ขึ้นแห่งแรกก่อนที่จะย้ายไปตั้งที่บ้านน้อย หนองปลาไหลเป็นอำเภอบ้านน้อย และย้ายไปเป็นอำเภอเขาย้อยในปัจจุบัน บ่อหว้าแห่งนี้ยังมีการกล่าวถึงปลาไหลเผือกช่วยชีวิตเด็กตกน้ำแล้วไม่ตายอีกด้วย

อาณาเขต สภาพพื้นที่ทางกายภาพตำบลห้วยท่าช้าง

  • ทิศตะวันออก ติด อำเภอเมือง
  • ทิศตะวันตก ติด เขาตะนาวศรีและอำเภอหนองหญ้าปล้องอำเภอบ้านลาด 
  • ทิศเหนือ ติด ตำบลหนองปรง

พื้นที่สาธารณะและสาธารณูปโภคในชุมชน บ่อหว้า

สถานที่สำคัญทางสังคม วัฒนธรรม พื้นที่ของห้วยท่าช้างยังค้นพบร่องรอยพุทธศาลนา 3 แห่งด้วยการคือ พระธาตุเจดีย์ 1 ใน 3 คือ พระธาตุกระเดื่องทอง อยู่บริเวนกลางทุ่งนาของหมู่บ้านเชื่อว่าในอดีตจะมีครกกระเดื่องและเรือสำเภาที่ทำจากทองคำ และอีก 2 พระธาตุอยู่ในหมู่บ้าน ปัจจุบันไม่เหลือแล้วเพราะถูกรื้อทำลายหมด จะเหลือแค่ธาตุกระเดืองทองที่มีการตั้งศาลไว้กลางทุ่งนา เมื่อในหมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลมานับถือพุทธศาสนาก็มีการตั้งวัดและโรงเรียนขึ้นในหมู่บ้าน คือบริเวณที่ทำการ อบต.ห้วยท่าช้างในปัจจุบัน ในอดีตถึงหน้าฝนน้ำหลากผ่านหมู่บ้านไปท่วมวัดท้ายบ้าน เชื่อว่าเป็นสิ่งไม่ดี จึงย้ายวัดและโรงเรียนไปตั้งยั้งที่สาธารณะของชุมชน ที่เป็นป่าช้าของชุมชนชื่อว่า วัดกุญชรวชิราราม และโรงเรียนวัดกุญชรวิรารามในปัจจุบัน

สถานที่สำคัญทางเศรษฐกิจ แหล่งเรียนรู้ งานฝีมือจำหน่ายผลิตภัณฑ์บ้านห้วยท่าช้าง ต.ห้วยท่าช้าง อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี วัด โบราณเก่าแก่ได้รับการบูรณะใหม่ มรดกทางวัฒนธรรมล้ำค่า หอระฆังโบราณ มี 2 เสา

ทรัพยากรทางธรรมชาติ คลองส่งน้ำจากโครงการราชบุรี ฝั่งขวา มีดงตาลอยู่ปะปนกับท้องทุ่งนา

บ้านห้วยท่าช้าง หมู่ที่ 1 ประกอบด้วยจำนวน 60 ครัวเรือน รวมจำนวนประชากร 196 คน แบ่งเป็นเพศชาย 96 คน และเพศหญิง 100 คน

ไทดำ

ประชาการในห้วยท่าช้าง ส่วนใหญ่จะประกอบชีพ เกษตรกรรม ค้าขาย และรับจ้าง ส่วนในครัวเรือนสตรีจะมีการทอผ้าไว้ใช้นุ่งห่มและใช้ในพิธีกรรมของชาติพันธุ์ และตัดเย็บเสื้อผ้าแต่งกายประจำตัวอีกด้วย

ความเชื่อของคนในหมู่บ้านเป็นคนไทยทรงดำจะเชื่อเรื่องผีคุ้มครอง โดยแบ่งเป็นผีบรรพบุรุษ ผีประจำหมู่บ้าน และผีไร่นา

การเลี้ยงผีบรรพบุรุษ จะมีการประกอบพิธีตั้งแต่เกิดจนตายด้วยหมอพิธีเป็นผู้นำทำพิธีได้แก่ เสนฆ่าเกือด เสนหมู่ เสนแก้เคราะห์ เสนน้อยจ้อย เสนตัว แปงขวัญ และประเพณีการตาย

ปัจจุบันในหมู่บ้านเหลือผู้ทำพิธี ดังนี้     

  • นางยุ้ย ดินแดง แม่มดผู้ต๊าว
  • นางเทศ พิมพ์งาม แม่มดผู้น้อย
  • นายวัน ดินแดง หมอเสนผู้น้อย

การเลี้ยงผีประจำหมู่บ้าน คือศาลเจ้าประจำหมู่บ้านที่เชื่อว่าเป็นผีหรือเจ้าพ่อหรือเจ้าปู่ที่คอยคุ้มครองหมู่บ้านและคนในหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ห้วยท่าช้างจะแบ่งออกเป็น 2 ศาล คือบ้านน้อยและบ้านใหญ่ โดยที่หมู่ที่ 2 และ 6 จะขึ้นต่อศาลพ่อปู่สร้อยทอง(บ้านน้อย)และหมู่ที่ 1, 3, 4 และ 5 จะขึ้นต่อศาลพ่อปู่สกุลทอง (บ้านใหญ่) จะทำการเลี้ยงศาลทุกปีในเดือน 6 ข้างขึ้น โดยมีความเชื่ออีกว่า จะต้องเลี้ยงศาลพ่อปู่บ้านน้อยก่อนถึงจะเลี้ยงศาลพ่อปู่บ้านใหญ่ได้ เพราะเจ้าพ่อศาลบ้านน้อยเป็นพี่พ่อปู่ศาลบ้านใหญ่

โดยในอดีตมีนายอ้อน เย็นตั้งเป็นทายาทหมอพิธีทำการเซ่นผีประจำหมู่บ้านที่เรียกว่า เจ้าจ้ำ เพราะเชื่อว่าตระกูลนี้เป็นผู้มาบุกเบิกพาคนสร้างหมู่บ้านนี้ขึ้นชื่อว่า ปู่เย็น ลูกหลานจึงใช้มาตั้งสกุลจนถึงปัจจุบันว่า เย็นตั้ง

นอกจากนี้ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อแล้ว ยังได้เข้าร่วมงานฟื้นฟูประเพณีไทยทรงดำกับพี่น้องไตดำต่างถิ่นทั่วประเทศเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะใช้ช่วงเวลาเทศกาลเดือน 5 ทั้งเดือน

1.หมอคม ต้นกระกูลพ่อมด (เจ้าพิธีกรรมเซ่นไหว้บรรพชน) ที่เก่าแก่ที่สุด

2.นางเวียง ในอดีตเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม แม่มด ซึ่งเป็นแม่ครูอาจารย์ของนางเทศ ที่เป็นแม่มดปัจจุบัน

3.นางยุ้ย ดินแดง ผู้ประกอบพิธีกรรม แม่มดผู้ต๊าว

4.นางเทศ พิมพ์งาม ผู้ประกอบพิธีกรรม แม่มดผู้น้อย 

5.นายวัน ดินแดง ผู้ประกอบพิธีกรรม หมอเสนผู้น้อย

ทุนกายภาพ

อาศัยพื้นที่ป่าเขาเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติ จากพืชและสัตว์เล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในป่า เช่น เห็ดป่า หน่อไม้ นก หนู ไก่ป่า

ทุนมนุษย์

เจ้าพิธีกรรม แม่มดยุ้ย แม่มดเทศ พ่อมด หมอเสนวัน ดินแดง

ปราชญ์เยาวชนของหมู่บ้าน ปราชญ์งานฝีมือ หัตถกรรม ลวดลายของไตดำ นายตะวัน พันธุ์ชาติ          

ทุนสังคม/การเมือง

องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยท่าช้าง

ภาษาที่ใช้พูด พื้นที่ในชุมชุมคนพื้นบ้านในชุมชน ใช้ "ภาษาไตดำ" เป็นหลัก จะพูดภาษากลางกับกลุ่มต่างชาติพันธุ์

ภาษาหรือตัวอักษรที่ใช้เขียน ใช้ภาษาไทยกลางในการเขียน มีภาษาเขียนเป็นของตนเองมาตั้งแต่ดังเดิม


มีพัฒนาชุมชนลงพื้นที่ 


ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ


การเมืองเช่นเดียวกันในประเทศไทย มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


ระบบสาธารณูปโภคทั่วถึง ทั้งน้ำประปาชุมชน ไฟฟ้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค


มีโรงพยาบาลเพื่อสุขภาพ จำนวน 1 แห่ง


ระบบการศึกษาภาคบังคับ มีโรงเรียนปฐมวัย ประถมการศึกษา 1-6 จำนวน 1 แห่ง


ใช้วิถีชีวิตการดำรงชีพปกติร่วมสมัยปัจจุบัน พิธีกรรมยังคงความเป็นไตดำ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2567). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ ปีงบประมาณ 2567. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

อบต.ห้วยท่าช้าง โทร. 0-3270-6285