Advance search

ละเอาะถิ่นชาวกูย รวยวัฒนธรรม งามล้ำผ้าไหมลายลูกแก้ว งานใหญ่บุญผเหวด เขตแม่ตะเคียนทอง

หมู่ที่ 9
ละเอาะ
ละเอาะ
น้ำเกลี้ยง
ศรีสะเกษ
อบต.ละเอาะ โทร. 0-4596-0203
บุญพงษ์ สิทธิพร
29 ต.ค. 2023
ศุรวิษฐ์ ศิริพาณิชย์ศกุนต์
30 ต.ค. 2023
ปริญญ์ รุจิรัชกุล
1 ก.ค. 2024
บ้านละเอาะ

ตั้งชื่อตามหนองน้ำในชุมชนที่เป็นน้ำขุ่น ภาษากูยเรียกน้ำขุ่นว่า "ละเอาะ"


ละเอาะถิ่นชาวกูย รวยวัฒนธรรม งามล้ำผ้าไหมลายลูกแก้ว งานใหญ่บุญผเหวด เขตแม่ตะเคียนทอง

ละเอาะ
หมู่ที่ 9
ละเอาะ
น้ำเกลี้ยง
ศรีสะเกษ
33130
14.9371191322538
104.453893303871
องค์การบริหารส่วนตำบลละเอาะ

บ้านละเอาะ เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านแวดใหญ่ อพยพย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านละเอาะราว 200 ปีที่แล้ว มีกำนันคนแรก คือ กำนันก้อน ปัจจุบันคือ กำนันปรีชา ไกรษี อยู่ที่บ้านทุ่งสว่าง หมู่ 7 เคยเกิดโรคระบาดภายในชุมชน คือ ไข้มาลาเรีย อีสุกอีใส โควิด-19 และอุทกภัย

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลตองปิด
  • ทิศใต้ ติดกับ ตำบลรุ่งระวี ตำบลตำแย
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลน้ำเกลี้ยง
  • ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลตำแย

ตำบลละเอาะ ประกอบด้วย 13 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านเข้มแข็งทางวัฒนธรรม 12 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านพูดกูยลาว 1 หมู่บ้าน มีหลากหลายตระกูล ตระกูลใหญ่ คือ ตระกูลนามวิชา และตระกูลศรีปัตเนตร

กูย

ชาวบ้านละเอาะส่วนมากประกอบอาชีพทำนา ทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ในชุมชนมีการรวมกลุ่มต่าง ๆ คือ กลุ่มอาชีพทอผ้าไหม กลุ่มอาชีพจักสานทำเครื่องมือจับปลา

ชาวกูยมีประเพณีและพิธีกรรมส่วนใหญ่แล้วจะผูกโยงเข้ากับพุทธศาสนาผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมคือการนับถือผี ประเพณีและพิธีกรรมของชาวกูยที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาส่วนใหญ่พบว่าเป็นพิธีการอันเป็นพื้นฐานตามฮีตสิบสองของชาวอีสาน (พรรณวดี ศรีขาว, 2554, น. 59-64 และธณัฐดา ศรศักดิ์, 2563, น. 80)

ประเพณีแซนเหลียน (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3) เหลียน คือ ลานนวดข้าว เมื่อชาวกูยนำข้าวเปลือกขึ้นยุ้งฉางแล้ว ก็จะมีการเซ่นไหว้ลาน (การแซนเหลียน) เพื่อบอกกล่าวแก่พระแม่ธรณี พระแม่โพสพ เทวดาอารักษ์ ผีไร่ ผีนา ให้ทราบและขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลอยู่เย็นเป็นสุขแก่ครอบครัว และเป็นการทํานายถึงฤดูกาลในปีต่อไปว่าผลผลิตจะดีขึ้นหรือไม่

ประเพณีแซนหลาว (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3) แซนลาว คือ การเซ่นยุ้งฉาง เมื่อนำข้าวเปลือกขึ้นยุ้งฉางแล้วก็จะเอาใบคูณ ใบยอเสียบตามเสายุ้งฉางด้านใน (ให้ค่ำคูน ให้ยก ให้ยอขึ้น) ก่อนจะนำข้าวออกมาสีหรือจำหน่ายจ่ายแจก จะต้องมีการเซ่นไหว้ยุ้งฉางก่อนจึงจะเอาข้าวเปลือกลงจากยุ้งฉางได้

ประเพณีเซนญะจู๊ฮ (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3) เป็นประเพณีเซ่นปู่ตา หรือภาษากูยเรียกอีกอย่างว่า "แซนเผาะหญะ" ชาวกูยมีความเชื่อว่าก่อนที่จะทำการมงคลหรือการทำไร่ทำนา ต้องดูกำหนดวัน เดือน ปี ฤกษ์งามยามดี เพื่อมาประกอบพิธีหรือทำการมงคลต่าง ๆ ประเพณีการเซ่นไหว้ดังกล่าวนี้จะมีปีละ ครั้ง ดังนี้

  • ครั้งที่ 1 วันเซ่นไหว้เบิกวัน-เบิกเดือน-เบิกปี หรือภาษากูยเรียกว่า "แซนเบอะตะงัย-เบอะกะซัย-เบอะกะมอ" ทำการเซ่นไหว้ในเดือน ขึ้น ค่ำ ชาวกูยจะนําเครื่องเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน หลังจากเซ่นไหว้เสร็จก็ให้ลูกหลานเอาปุ๋ยคอกหาบไปเทตามที่นาหรือแปลงกล้า พอตกกลางคืนก็จะมีการจับกลุ่มกันเพื่อรอฟังเสียงคล้ายฟ้าร้อง หรือความเชื่อของชาวกูย คือ เทพเจ้าเปิดประตูโลก ชาวบ้านก็จะนำเสียงที่ได้ยินมาจากทิศทางใดมาทำนายดูว่าเกณฑ์ชะตาในแต่ละปีนั้น ๆ จะดีหรือไม่ดี ซึ่งเป็นประเพณีของชาวกูยที่มีมาตั้งแต่โบราณ
  • ครั้งที่ 2 การเซ่นไหว้ลงนา หรือภาษากูยเรียกว่า "แซน แซง แซ" เป็นการเซ่นไหว้บอกกล่าวพระภูมิเจ้าที่พระแม่ธรณีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ปกปักรักษาพื้นที่นาให้ช่วยปกป้องคุ้มครองดูแลรักษาข้าวในนาให้งอกงามและขอพรต่าง ๆ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของนา
  • ครั้งที่ 3 การเซ่นไหว้ข้าวใหม่ปลามัน หรือภาษากูยเรียกว่า "แซน ซอ กะมัย-อากา แชง" หลังจากที่เริ่มเก็บเกี่ยวข้าวในนา ซึ่งอยู่ในช่วงที่ปลาเริ่มมีมันและมีรสชาติอร่อย แต่ก่อนจะทำพิธีเซ่นไหว้ในช่วงขึ้น ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี แต่เนื่องจากฤดูกาลเปลี่ยนแปลงข้าวในนาสุกเร็วขึ้น ชาวกูยจึงมีการแก้ไขให้มีการเซ่นไหว้ในช่วงแรม ค่ำ เดือน 11 เพื่อให้ทันข้าวใหม่จริง ๆ เป็นการเซ่นไหว้บอกกล่าวว่าปีนี้การทำนาได้ประสบผลสำเร็จและได้ข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ดีทุกอย่าง ประเพณีการเซ่นไหว้ปู่ตา เครื่องเซ่นไหว้ก็จะประกอบด้วย ไก่ต้ม ตัว เหล้า ขวด น้ำหวาน ขวด และอาหารคาวหวาน

บุญข้าวจี่ (เดือน 3) หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว นําข้าวเปลือกขึ้นเล้าขึ้นฉางเสร็จ ชาวกูยก็จะจัดบุญข้าวจี่ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ทำบุญบ้าน"โดยจะนำข้าวเหนียวนึ่งสุกแล้วปันติดกันเป็นก้อนแล้ว "อัง" หรือ จี่ไฟ หรือ บุ๊โดย (ภาษากูย) ให้สุกอีกทีหนึ่ง ชาวบ้านจะร่วมกันทำที่หมู่บ้านหรือไปร่วมกันทำที่วัด เสร็จแล้วนำถวายให้พระภิกษุและสามเณรได้ฉันพร้อมกับอาหารคาวหวาน

บุญพระเวสสันดรชาดก หรือ บุญเทศน์มหาชาติ (เดือน 4) ชาวบ้านจะพากันไปเชิญพระเวสสันดร ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ จากนั้นนำพระเวสสันดร นางมัทรี พร้อมด้วยกัญหาชาลี ขึ้นบนหลังช้าง ตั้งขบวนแห่เข้าสู่เมืองหรือวัด มีการยกธงหรือตุงแปดทิศ เพื่อป้องกันภัยอันตรายที่จะเข้ามา หลังจากนั้นช่วงเย็นจะมีการเจริญพระพุทธมนต์เย็น รุ่งเช้าวันถัดไปเป็นวันฟังเทศน์ และวันรุ่งเช้าวันถัดมาก็จะมีการทำบุญตักบาตร ถวายจตุปัจจัยไทยธรรมเป็นเสร็จพิธี

ประเพณีสงกรานต์ (เดือน 5) ชาวบ้านจะออกมารวมกันที่วัดจากนั้นก็จะพากันขนทรายมากองเพื่อทำเป็นเจดีย์ทราย พอกองเจดีย์ทรายเสร็จเวลา ชาวบ้านจะนำน้ำหอมน้ำขมิ้นออกมาที่วัดแล้วอัญเชิญพระพุทธรูปลงจากศาลาการเปรียญมาประดิษฐานที่กลางลานวัด ชาวบ้านก็นำน้ำหอมน้ำขมิ้นที่นำมาจากบ้านสรงน้ำพระพุทธรูป

ประเพณีแซนแซงแซ (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6) เมื่อถึงฤดูเริ่มลงทำนา ชาวกูยจะมีประเพณีแซนแซงแซเพื่อบอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวดาอารักษ์ เจ้าที่ที่นา ที่ไร่ให้รับทราบว่าได้ลงไร่ ลงนาตามฤดูกาล ขอให้อำนวยอวยพรให้ลูกหลานทำไร่ ทำนาอุดมสมบูรณ์ เพิ่มพูนผลผลิต ครอบครัวมีแต่ความสุขความเจริญ เครื่องเซ่นไหว้ ประกอบด้วย ไก่ต้ม ตัว เหล้า ขวด น้ำขมิ้น ขัน ขันธ์ ขันธ์ ดอกไม้ ธูป เทียน ข้าวเปล่า จาน น้ำพริก ถ้วย น้ำส้ม ขวด ผลไม้ ขนม น้ำสะอาด เมื่อเซ่นไหว้เสร็จก็จะมีการขอดูคางไก่ เป็นการทํานายผลผลิตที่กำลังจะลงมือปักดำ

เข้าพรรษา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ชาวบ้านจะนําต้นเทียนและผ้าอาบน้ำฝนไปถวายพระสงฆ์

แซนซ๊ากชาวกูย (เดือน 10) จะทำช่วงเดือน 10 ขึ้น 15 ค่ำ เพื่อทำพิธีเซ่นไหว้ให้กับบรรพบุรุษและญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว ชาวบ้านจะเตรียมของเครื่องเซ่นไหว้เอาไว้หนึ่งวัน เช่น การห่อข้าวต้ม ต้องเตรียมข้าวเหนียว ใบตอง ใบมะพร้าว ลูกมะพร้าว กล้วยสุก และของอื่น ๆ อีกที่ต้องการใส่ สวนผลไม้ส่วนมากจะซื้อมาจากตลาด เช่น ส้ม ชมพู่ ส้มโอ และหมากพลู ส่วนเครื่องเซ่นไหว้จะมี ไก่ต้ม ปลาย่าง หมูย่าง ขนมกระยาสารท เหล้า เบียร์ น้ำส้ม สาโท เมื่อเตรียมของเซ่นไหว้ครบแล้ว ตอนเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวกูยจะเอาเครื่องเซ่นไหววางลงในกระด้งหรือผ้าขาวเพื่อทำพิธีเซ่นไหว้ ลูกหลานจุดธูป ดอก เทียน เล่ม เพื่อถวายข้าวพระพุทธรูป จากนั้นลูกหลานก็จะจุดธูปคนละ ดอก เพื่อบอกกล่าวดวงวิญญาณ ปู่ ย่า ตา ยาย และผู้ล่วงลับไปแล้วให้รับ/กินเครื่องเซ่นไหว้ โดยจะมีคําพูดบอกกล่าวเป็นภาษากูยว่า "เจาเด้อ นุเฒา แมะเฒา เจาจา เจาหงวก อาปี อาปา อามาด อาหยี่ เจา เย้อ" ลูกหลานก็จะรินเหล้า รินเบียร์ เครื่องดื่มทุกชนิดเพื่อให้ดวงวิญญาณมากิน เมื่อกินเสร็จแล้วมีหมากมีพลูกินต่อ ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วกรวดน้ำเป็นเสร็จพิธี ต่อจากนั้นลูกหลานก็จะไปทำบุญที่วัดอีก ด้วยการห่อข้าวสากเพื่อไปอุทิศให้แก่เปรต อสุรกาย วิญญาณที่ไม่มีญาติ อุทิศส่วนกุศลไปให้ วัสดุที่ใช้คือ ใบตองห่อยาว ปลาแห้ง เนื้อย่าง หมูนึ่ง ไก่ย่าง ขนมเทียน ข้าวต้ม หมากพลู บุหรี่ กล้วย และผลไม้อื่น ๆ เกลือ พริกแห้ง การประกอบพิธีจะทำอยู่ที่วัด โดยชาวบ้านจะนำห่อข้าวสากมาใส่ไว้ในตะกร้าใหญ่ (เตาะ) ที่ทางวัดจัดเอาไว้ให้ ทำพิธีจุดธูปเทียนบอกกล่าว แล้วนิมนต์พระสงฆ์สวดมนต์และญาติโยมกรวดน้ำอุทิศให้เป็นเสร็จพิธี ชาวกูยจะนิยมนำห่อข้าวสากไปไว้ตามมุมคันนา เพราะมีความเชื่อว่า ข้าวที่เป็นโรคหรือแมลงลงก็จะหายไป

ออกพรรษา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ก่อนออกพรรษาชาวกูยก็จะมีการร่วมกลุ่มกันเพื่อเตรียมไปเล่น "แกลนหลอน" อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมี ฉิ่ง ฉาบ พิณ แคน กลองยาว ร้องเพลงสด และเต้นรำตามทำนองเพลงที่เปิด ผู้นำชุมชนก็จะมีการจัดเตรียมต้นดอกผึ้ง ต้นปราสาทผึ้ง (อะตะ) ต้นดอกผึ้งจะใช้ผลมะพร้าวผ่าเปลือก ข้าง ใช้ไม้ไผ่เสียบพร้อมเงินและอีกอย่างก็ใช้กิ่งมะขามที่ชูยอดต้นที่สวยที่สุดมาทำต้นดอกผึ้งประดับด้วยกระดาษย่นพร้อมเงิน ดินสอ สมุด ปากกา สบู่ ผงซักฟอก ต้นปราสาทผึ้งประดับด้วยกระดาษย่น ลักษณะคล้ายทอดกฐิน มีการใส่ข้าวสาร ขิง ข่า ลูกมะพร้าว ฟักทอง มะละกอ พริก กระเทียม ที่เหลือจะใส่เหมือนต้นดอกผึ้ง สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ข้าวเม่า

บุญข้าวใหม่ปลามัน (เดือน 11) บุญข้าวใหม่ปลามัน เป็นบุญที่ชาวกูยทำกันมาต่อเนื่องจากในช่วงเดือนหกที่ชาวบ้านได้ทำนา (หวัวแซ-ซอโดย) เสร็จแล้ว เมื่อถึงเดือน 11 ทุกปีก็จะมีการจัดทำบุญข้าวใหม่ปลามันขึ้นหลังจากออกพรรษาแล้ว โดยผู้นำจะกำหนดวันในช่วงวันขึ้น ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี วัตถุประสงค์เพื่อเลี้ยงปู่ตา เทวดาฟ้าดิน แม่โพสพ ที่คุ้มครองลูกหลานเพื่อให้ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์

บุญกฐิน (เดือน 12) จะมีการทำบุญทอดกฐิน ระยะเวลาการทอดกฐินในแต่ละปีเริ่มตั้งแต่วันแรม ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นวันสุดท้ายของการทอดกฐิน เมื่อพระสงฆ์ปวารณาออกพรรษาแล้วชาวพุทธในชุมชนชาวกูยจะนิยมทำบุญทอดกฐินเพื่อได้อานิสงส์แห่งการทอดกฐินถือว่าเป็นบุญใหญ่ใน ปี

ประเพณีลอยกระทง (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) ชาวกูยมีความเคารพนับถือต่อเจ้าแม่คงคา ที่ได้นําน้ำมาใช้อุปโภค บริโภค และการดำรงชีวิต ซึ่งชาวกูยถือว่าเจ้าแม่คงคามีความศักดิ์สิทธิ์มากเพราะให้ชีวิตแก่ชุมชนกูย ชาวบ้านจะทำกระทงเล็ก ใหญ่ พร้อมเครื่องบริขารเซ่นไหว้ใส่ลงในกระทงนำไปบูชาเจ้าแม่คงคาโดยมีการกล่าวคำขอขมาต่อเจ้าแม่คงคาแล้วอธิษฐานนำกระทงลอยลงสู่แม่น้ำ

1.นายบุญญพงศ์​ สิทธิพร

เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2502 อาศัยอยู่หมู่ 9 บ้านละเอาะ ตำบลละเอาะ อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ

บทบาทสำคัญในชุมชน ผู้นำชุมชน ตำแหน่ง ที่ปรึกษานายก อบต. และประธานชมรมชาวกูยตำบลละเอาะ

ลำดับเครือญาติบรรพบุรุษเป็นกูยทุกลำดับชั้น

ทุนวัฒนธรรม มรดกภาษากูย และมรดกทางภูมิปัญญาของชาวกูย

ใช้ภาษากูยเป็นภาษาพูด ไม่มีตัวอักษรใช้


ป่าสนละเอาะ
ป่าชุมชน
ป่าชุมชน, สนามกีฬากลางในชุมชน
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์กูย ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

อบต.ละเอาะ โทร. 0-4596-0203