เป็นย่านลงทุนแห่งใหม่ของเมืองมหาสารคาม จึงกลายเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท
การตั้งชื่อหมู่บ้าน ตั้งตามพื้นที่ที่อยู่อาศัยคือ ท้องนา และแต่ก่อนจะมีต้นกาเราหรือต้นกะเมาขึ้นอยู่ตามหนองน้ำ ชาวบ้านเอาต้นกะเพากับทุ่งนา รวมเข้าด้วยกัน ชาวบ้านเลยตั้ง ชื่อหมู่บ้านว่าบ้านทุ่งนาเรา มาตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน
เป็นย่านลงทุนแห่งใหม่ของเมืองมหาสารคาม จึงกลายเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท
บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านแต่เดิมเป็นทุ่งนากว้าง โดยบ้านทุ่งนาเราแยกออกมาจากบ้านดินดำในปี พ.ศ. 2519 ต่อมาจึงได้มีคนอพยพเข้ามาอยู่อาศัยตั้งบ้านเรือนขึ้น กลุ่มคนที่อพยพเข้ามาอยู่คนแรก คือ นายเคน พิมพ์ภูธร และครอบครัว สาเหตุที่นายเคนอพยพพาครอบครัวมาตั้งบ้านเรือนที่นี่เพราะมาเฝ้านาของตนเอง ต่อมาจึงมีคนอพยพอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คนที่อพยพเข้ามาจะใช้ที่นาของตนในการก่อสร้างบ้านเรือนและทำมาหากิน โดยเฉพาะในช่วงประมาณ พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2520 จะมีคนอพยพเข้ามามาก ในระยะเริ่มแรกมีเพียง 25 ครอบครัวเท่านั้น มีประชากรจำนวน 85 คน ในเวลาต่อมามีคนอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่เพิ่มขึ้น คนที่อพยพเข้ามานั้นจะมาจากหลายหมู่บ้าน เช่น มาจากบ้านหนองข่า บ้านดินดำ บ้านโนนศรีสวัสดิ์ เหตุมีคนอพยพเขามาก็เนื่องมาจากเพื่อเฝ้าที่นา ทำนา ทำการเกษตร เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน และดินมีความอุดมสมบูรณ์และอยู่ใกล้กับแม่น้ำชี ถึงแม้การคมนาคมจะไม่อำนวยความสะดวกเท่าที่ควร ปัจจุบันบริเวณรอบ ๆ ชุมชนทุ่งนาเราเป็นย่านธุรกิจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม เช่น ห้างสรรพสินค้าตลาดเกษตร ธุรกิจหอพักโรงแรม มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งประเทศไทย วิทยาเขตจังหวัดมหาสารคาม ร้านค้าต่าง ๆ อีกมากมาย เมื่อสถานการณ์ที่เข้ามากระทบผู้คนในชุมชนทำให้ผู้คนบางคนขายทิ้งเพื่อย้ายไปที่อื่น บางคนได้ทำธุรกิจสร้างอาคารพาณิชย์ไว้ขาย บางคนลงทุนทำธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ แม่น้ำชี
- ทิศใต้ ติดต่อกับ มหาวิทยาลัยการกีฬาเเห่งชาติ วิทยาเขตมหาสารคาม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แม่น้ำชี
บ้านทุ่งนาเรามีจำนวนประชากรแบ่งเป็นเพศชาย 311 คน หญิง 291 คน รวม 602 คน และมีจำนวนครัวเรือน 333 ครัวเรือน คนในชุมชนเป็นคนกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มประชากรแฝงที่เป็นกลุ่มนักศึกษา นิสิต จำนวนหนึ่งจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยการกีฬาเเห่งชาติ วิทยาเขตมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ของชุมชน
ด้วยสภาพหมู่บ้านตั้งอยู่บริเวณชานเมือง ทำให้ที่นาในการทำการเกษตรเหลือน้อย แต่ก็ยังมีการทำนาอยู่ ชาวบ้านบางส่วนจึงเปิดร้านอาหารและทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปล่อยเช่าหอพักให้กับนักศึกษา และรับจ้างทั่วไป
ด้วยความที่เป็นสังคมเมือง ประเพณีบางอย่างก็ได้หายไปจากชุมชน เเต่สิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาก็จะเป็นประเพณีสงกรานต์ ที่เปรียบเสมือนวันครอบครัวให้ได้กลับมาพบเจอกัน
- เป็นแหล่งที่สร้างโอกาสทางด้านเศรษฐกิจอีกแห่งหนึ่งของเมืองมหาสารคาม
เมื่อผู้คนหลากหลายจากหลายพื้นที่มาอยู่ในชุมชน วัฒนธรรมทางด้านภาษาจึงมีการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรม