Advance search

บ้านไทรน้อย

ชุมชนที่ยังคงอนุรักษ์วิถีชีวิต ศิลปะ งานฝีมือของชุมชน เช่น ภูมิปัญญาการทำอิญมอญ และมวยไทย 

หมู่ที่ 5, 6
บ้านมอญ
ไทรน้อย
บางบาล
พระนครศรีอยุธยา
ศูนย์การเรียนรู้ โฮมสเตย์ไทรน้อย (อ.มยุรี)โทร. 09-8156-6192
มยุรี ศรีนาค
19 ธ.ค. 2023
19 ธ.ค. 2023
ปริญญ์ รุจิรัชกุล
2 ก.ค. 2024
บ้านมอญ
บ้านไทรน้อย

เป็นชุมชนชาวมอญที่มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยอดีต


ชุมชนที่ยังคงอนุรักษ์วิถีชีวิต ศิลปะ งานฝีมือของชุมชน เช่น ภูมิปัญญาการทำอิญมอญ และมวยไทย 

บ้านมอญ
หมู่ที่ 5, 6
ไทรน้อย
บางบาล
พระนครศรีอยุธยา
13250
14.4028893
100.4748191
เทศบาลตำบลบางบาล

ชุมชนมอญไทรน้อย หมู่ที่ 5 และ 6 ตำบลไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นชุมชนมอญเก่าแก่ที่ตั้งรกรากมาตั้งแต่สมัยปลายสุโขทัยต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน 

บรรพบุรุษเล่าว่า คนมอญที่นี้ทำอิฐมอญบูรณะกรุงศรีอยุธยาและสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นอาชีพสร้างครอบครัวไปพร้อมกับการทำนาปลูกข้าว ปลูกพืชผักทำมาหากินอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยามีวิถีวัฒนธรรมที่เรียบง่ายมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยังยึดถือและปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้ คือ ประเพณีส่งงานปีจะอยู่ในช่วงข้างขึ้นเดือน 6 ของทุกปี 

ความภาคภูมิใจของคนมอญไทรน้อย คือ โบสถ์มหาอุตม์ที่ประดิษฐานหลวงพ่อใหญ่ซึ่งเป็นโบราณสถานที่เป็นสถาปัตยกรรมมอญ ก่อสร้างด้วยอิฐมอญก้อนใหญ่ที่ชาวบ้านทำกันเองภายในโบสถ์เป็นเสาไม้ตะเคียนทรงกลม 10 ต้นไสกลึงเป็นเหลี่ยมแปดเหลี่ยม มีความสวยงามโดดเด่น มีความภาคภูมิใจกันว่าโบสถ์นี้สมเด็จพระนเรศวรให้คนมอญสร้างไว้เป็นสถานที่ให้ชายชาติทหารได้เข้ามาสวดมนต์ นั่งสมาธิ เพื่อความมั่นคง และความกล้าแกร่งของนักรบก่อนที่จะออกไปทำศึกสงคราม

ชุมชนมอญไทรน้อย ตั้งอยู่หมู่ที่ 5-6 ตำบลไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ทิศใต้ ติดกับ ตำบลวัดยม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลบ้านกุ่ม, วัดยม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยา
  • ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลบางบาล, วัดยม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ลักษณะทางกายภาพ เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางบาลไหลผ่าน

พื้นที่สาธารณะ และสาธารณูปโภคในชุมชน ประกอบด้วย ประตูน้ำ และสถานีอนามัย

ชุมชนประกอบด้วย จำนวนครัวเรือน 205 ครัวเรือน รวมจำนวนประชากรทั้งสิ้น 485 คน 

มอญ

อาชีพของคนในพื้นที่ส่วนใหญ่ ทำนาปลูกข้าว ปลูกพืชผักทำมาหากินอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 

การทำอิฐมอญโบราณ อาชีพดั้งเดิมอีกอาชีพหนึ่ง ภายหลังชุมชนได้รับการส่งเสริมหเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษณ์ จึงเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้การทำอิฐมอญโบราณที่ทำด้วยมือทั้งหมด ตั้งแต่กระบวนการเตรียมดิน การขึ้นรูปอิฐ ตากอิฐ ไปจนถึงขั้นตอนการเผา

การทำขนมไทยมงคล หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ไทรน้อย เรียนรู้การทำขนมไทยมงคล อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน จ่ามงกุฎ ทองเอก เสน่ห์จันทร์ ขนมชั้น

ยาหม่องสมุนไพร หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ไทรน้อย นักท่องเที่ยวจะได้ทดลองทำยาหม่องสมุนไพรจากต้นตำรับของ “แม่อบเชย” สินค้าโอทอปขายดีประจำหมู่บ้าน เริ่มตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ ไปจนถึงไปจนถึงการเคี่ยวสมุนไพรรวมกันจนได้ยาหม่อง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถนำยาหม่องที่ทำด้วยตัวเองกลับไปเป็นของที่ระลึกได้

ระเพณีที่ยังยึดถือและปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้ คือ ประเพณีส่งงานปี โดยจัดในช่วงข้างขึ้นเดือน 6 ของทุกปี 

1.นางมยุรี ศรีนาค 

เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2503 อาศัยอยู่ที่ตำบลไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

บทบาทและความสำคัญต่อชุมชน : เป็นผู้นำในการรวมกลุ่มชุมชน และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ของชุมชนได้

ประวัติชีวิต : อดีตเคยเป็นครูมาก่อน ลาออกจากราชการครูเพื่่อกลับมาพัฒนาบ้านเกิดโดยเห็นว่าชุมชนนั้นมีของดีมากมายหลายอย่างที่จะทำอย่างไรให้คนต่างจังหวัดได้รู้จักชุมชนมากยิ่งขึ้นจึงได้รวมกลุ่มชาวบ้านจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและทำการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาศึกษาวิถีชุมชน วัฒนธรรมชุมชนจึงได้สืบค้นประวัติชุมชนจึงได้รู้ว่าอาชีพเก่าของชุมชนคือการทำอิฐมอญส่งไปสร้างเมือง และมาค้นพบชื่อหมู่บ้านเราว่า “บ้านมอญ” มีโบสถ์มหาอุตม์ที่เป็นสัญลักษณ์มอญ 

 

ทุนมนุษย์

ภายในชุมชนมีผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาแขนงต่าง ๆ ดังนี้

  • นางมยุรี ศรีนาค ผู้นำชุมชน
  • นางศิริรัตน์ สุขพอดี การปักสไบมอญ
  • นายวรพจน์ บุญสูตร ปี่พาทย์มอญ
  • นางจำลอง มะลิลา การผัดหมี่กรอบโบราณ
  • นางสาวอังคณา อ้นอารี แกงบอน แกงต้มปลาร้าหน่อไม้
  • นายนิพนธ์ ชนากรณ์ ผู้สื่อความหมายชุมชน
  • นายวิเชียร จันทร์โชติ การตีกลองยาว

ทุนวัฒนธรรม

  • วัดท่าสุทธาวาส เดิมเรียกว่า "วัดผีมด" สร้างสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. 2315 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ. 2320 มีประธานในพระอุโบสถคือ หลวงพ่อเศียรและหลวงพ่อเฒ่า มีคำขวัญของวัดคือ "หลวงพ่อเศียรคุ้มเกล้า หลวงพ่อเฒ่าคุ้มภัย"
  • วัดบุญกันนาวาส สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2356 โดยมีนางบุญมี และนายแจ่ม บริจาคที่ดินสร้างวัด มีหลวงพ่อเพชร ที่พบใต้ฐานโบถส์ เมื่อคราวดีดโบสถ์ขึ้น ประชาชนทั่วไปนิยมไปกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคล
  • วัดปราสาททอง สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. 2200 ต่อมากลายเป็นวัดร้าง มีซากฐานเจดีย์ใหญ่ปรากฎอยู่ และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ประมาณ พ.ศ. 2452 เดิมชาวบ้านเรียกชื่อวัดหลายชื่อ เช่น ชาวบ้านทางเหนือ เรียก "วัดใต้" ชาวบ้านทางใต้ เรียก "วัดเหนือ" ชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่รอบวัด เรียก "วัดเจดีย์" เมื่อคราวมีผู้ดูแลวัด ชื่อ "ตาบูน" ก็เรียก "วัดตาบูน" มีหลวงพ่อศิลานาเวงประดิษฐานอยู่ในวิหาร สร้างด้วยศิลาแลงปางสมาธิ ผู้คนทั่วไปจะไปกราบไหว้ขอให้ช่วยเหลือต่าง ๆ ตามแต่ปรารถนา หากสำเร็จจะจุดพลุถวายท่าน
  • วัดเก้าห้อง เดิมชื่อวัดท้ายตลาด ตั้งอยู่บ้านเก้าห้อง สร้างเป็นวัดตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2380 พระประธานในโบสถ์สร้างด้วยหินทรายปิดทองทั้งองค์ ใบเสมาคู่ทำด้วยศิลาแลงสลักลวดลายเครือเถาวัลย์เป็นของเก่าแก่ มีวัตถุมงคล คือ เหรียญแหวนหลวงพ่อพระครูสุมนเมธากร (หลวงพ่อโก๊ะ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเก้าห้อง ซึ่งเป็นเหรียญที่แปลกนั่นคือ หลวงพ่อนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ลูกศิษย์เมื่อยามได้รับนิมนต์ไปในงานต่าง ๆ

คนมอญในชุมชนนี้ไม่สามารถฟัง พูด อ่าน เขียนภาษามอญได้แล้ว เพียงมีสำนึกถึงความเป็นมอญและกำลังรื้อฟื้นอัตลักษณ์มอญให้เกิดขึ้นในชุมชน


เกิดความท้าทายด้านภาษาขึ้น เนื่องจากในชุมชนไม่สามารถสื่อสารภาษามอญได้ จึงมีความพยายามในการรื้อฟื้นทางภาษา

ศูนย์การเรียนรู้ โฮมสเตย์ไทรน้อย

แหล่งเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมของชุมชน ที่พร้อมเปิดรับนักท่องเที่ยวให้ได้มาสัมผัสบรรยากาศที่พักโฮมสเตย์ และกิจกรรมฐานการเรียนรู้ภายในชุมชน

  1. ฐานการเรียนรู้การปักผ้าสไบมอญ
  2. ฐานการเรียนรู้การทำขนมฝอยทอง
  3. ฐานการเรียนรู้ตรากะลาเพื่อสุขภาพ
  4. ฐานการเรียนรู้ครีมสมุนไพร
  5. ฐานการเรียนรู้การผัดหมี่กรอบโบราณ
  6. ฐานการเรียนรู้การทำอิฐมอญ
  7. ฐานการเรียนรู้ศิลปะแม่ไม้มวยไทย

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์มอญ ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

กาญจนา อายุวัฒน์ธนชัย. (2564). มอญสอนผ้า. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2568. https://onceinlife.co/sainoi-ayutthaya

ศูนย์การเรียนรู้ โฮมสเตย์ไทรน้อย (อ.มยุรี)โทร. 09-8156-6192