Advance search

บ้านหนองเหมือด เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตลาวครั่ง

หมู่ที่ 6, 7
บ้านหนองเหมือด
แสนตอ
ขาณุวรลักษบุรี
กำแพงเพชร
อบต.แสนตอ โทร. 0-5587-2100, 08-1351-2364
พรสุดา กุลนาดา
27 ก.ย. 2023
พรสุดา กุลนาดา
29 ต.ค. 2023
ศิวกร สุปรียสุนทร
8 ก.ค. 2024
บ้านหนองเหมือด

บ้านหนองเหมือด ระยะเริ่มแรกตั้งชุมชนถิ่นที่อยู่อาศัยมีหนองน้ำที่มีต้นเหมือดขึ้นล้อมรอบหนองน้ำ จึงตั้งชื่อตามแหล่งน้ำนั้นว่า บ้านหนองเหมือด


บ้านหนองเหมือด เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตลาวครั่ง

บ้านหนองเหมือด
หมู่ที่ 6, 7
แสนตอ
ขาณุวรลักษบุรี
กำแพงเพชร
62130
16.019471354887386
99.8274502158165
องค์การบริหารส่วนตำบลแสนตอ

บ้านหนองเหมือด ตำบลแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร

ประวัติการตั้งถิ่นฐาน ขุนเฝือแสน ได้รับตำแหน่งกำนัน ได้ออกเดินทางด้วยเกวียนเป็นพาหนะมาจากอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีการออกสำรวจพื้นที่หาแหล่งที่ตั้งภูมิลำเนาโดยเริ่มที่บ้านโนนปอแดงจึงได้เรียกตนเองว่า "ไทโนนปอแดง" และอีกกลุ่มก็ออกหาสำรวจได้แหล่งที่ตั้งเป็นหนองเหมือด ก็เรียกตนเองว่า "ไทหนองเหมือด"

สำหรับนายสวาย ขันสิงหา อายุ 87 ปี ชาวบ้านเหมือด เล่าว่า ตนเองนั้นเกิดที่บ้านหนองเหมือด โดยบรรพบุรุษได้ย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านดอนเพชร อพยพร่วมกันเดินทางมาด้วยกันหลายครอบครัว ได้มาตั้งหลักปักฐานกันที่บ้านหนองเหมือดพร้อมกับกลุ่มอื่น ๆ ที่เดินทางมาร่วมกันต่างก็จับจองพื้นที่ทำไร่ ทำนา อยู่ในชุมชนของตัวเองคือ หมู่บ้านหนองเหมือด จนปัจจุบัน (สวาย ขันสิงหา, 2566)

การอพยพย้ายถิ่น เมื่อปี พ.ศ. 2447 มีการอพยพด้วยสาเหตุการเกิดโรคฝีดาษที่ตำบลวังม้า อำเภอลาวยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยการนำของขุนเฝือแสน (ตำแหน่งกำนัน) โดยอพยพขึ้นมาทางเหนือ มีหนองน้ำที่มีต้นเหมือดขึ้นล้อมรอบหนองน้ำจึงตั้งชื่อตามแหล่งน้ำนั้นว่า บ้านหนองเหมือด ตั้งแต่นั้นมา จนสร้างวัดหนองเหมือด โรงเรียนวัดหนองเหมือด ซึ่งในสมัยนั้นการปกครองยังใช้ระบบขุน วัง คลัง นา จึงมีผู้นำคนแรกคือ ผู้ใหญ่บ้าน หมื่น วิเชียรโรจน์ (ที่ แสนเพชร) เป็นลูกชายคนเดียวของขุนเฝือแสน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บ้านหนองเหมือด แบ่งออกเป็นสองหมู่บ้าน มีจำนวนประชากรดังนี้ 

  • บ้านหนองเหมือด ม.6 มีประชากรรวมทั้งสิ้น 652 คน แบ่งเป็นเพศชาย 350 คน และเพศหญิง 352 คน
  • บ้านหนองเหมือด ม.7 มีประชากรรวมทั้งสิ้น 785 คน แบ่งเป็นเพศชาย 354 คน และเพศหญิง 431 คน
ลาวครั่ง
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กิจกรรมบุญคูณลานสู่ขวัญข้าว สถานที่จัดกิจกรรม คือ วัด โดยมีความสัมพันธ์และอิทธิพลที่มีต่อวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับอาชีพทำนา ช่วงเวลาจัดกิจกรรม เดือน 3

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

  • ประเพณีสู่ขวัญข้าว
  • การละเล่นนางกวัก นางด้ง

ลาวครั่งบ้านหนองเหมือด ใช้ภาษาลาวครั่งในการสื่อสารผ่านกิจกรรมประจำวัน วัฒนธรรม ประเพณี และพิธีกรรมของชาติพันธุ์ลาวครั่ง ด้วยบริบทชุมชนของบ้านหนองเหมือดอยู่รวมกันเป็นกลุ่มญาติพี่น้องและเครือญาติกัน การใช้ภาษาลาวครั่งในการสื่อสารมีอย่างต่อเนื่อง การใช้ภาษาลาวครั่งในการประกอบพิธีกรรมหรือการละเล่น การร้องเพลง ใช้ในบางโอกาสตามประเพณี ส่วนใหญ่ผู้ใช้ภาษาลาวครั่งในการประกอบพิธีกรรมจะเป็นผู้สูงอายุหรือปราชญ์ หรือผู้ทรงภูมิปัญญาในหมู่บ้าน เรียกได้ว่า ภาษาที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมกับภาษาที่ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของลาวครั่งยังได้รับการปฏิบัติอยู่ ส่วนการใช้ภาษาไทยกลางสื่อสารกับคนภายนอกหรือการติดต่อราชการ


ชาวลาวครั่งมีสิทธิ สถานะส่วนบุคคลต่าง ๆ เช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

อัญชลี วงศ์วัฒนา (บ.ก.). (2560). ประวัติและวัฒนธรรมลาว บรรพบุรุษไทครั่ง. https://www.santo-kp.go.th/pdf/culture.pdf

อบต.แสนตอ โทร. 0-5587-2100, 08-1351-2364