Advance search

บากา

หมู่บ้านพื้นที่สูง อากาศดีเย็นตลอดทั้งปี มีผลไม้เมืองหนาว ผักพืชผล อาทิ พีช พลับ พลัม ลูกเชอรี่ มะม่วงนอกฤดู ชุมชนยังคงเอกลักษณ์ ด้านการแต่งกาย ภาษา ดนตรีลีซูปละผืนป่าที่ยังคงเดิมและต้นไม้ที่หนาแน่น

หมู่ที่ 8
ขุนแจ๋
แม่แวน
พร้าว
เชียงใหม่
อบต.แม่แวน โทร. 0-5301-7090
อนุวิทย์ อักษรอริยานนท์
12 ต.ค. 2023
อนุวิทย์ อักษรอริยานนท์
12 ต.ค. 2023
ปริญญ์ รุจิรัชกุล
9 ก.ค. 2024
บ้านขุนแจ๋
บากา

บากา ในภาษาไทยแปลว่าบ้านเก่า เนื่องจากบ้านขุนแจ๋ เป็นต้นกำเนิดของหลาย ๆ หมู่บ้าน อาทิ ขุนแจ๋ แม่แวน สามกุลา สามลี่ ส่วนหนึ่งของห้วยน้ำดัง


หมู่บ้านพื้นที่สูง อากาศดีเย็นตลอดทั้งปี มีผลไม้เมืองหนาว ผักพืชผล อาทิ พีช พลับ พลัม ลูกเชอรี่ มะม่วงนอกฤดู ชุมชนยังคงเอกลักษณ์ ด้านการแต่งกาย ภาษา ดนตรีลีซูปละผืนป่าที่ยังคงเดิมและต้นไม้ที่หนาแน่น

ขุนแจ๋
หมู่ที่ 8
แม่แวน
พร้าว
เชียงใหม่
50190
19.3325402901697
99.3184594810009
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่แวน

เดิมบ้านขุนแจ๋ อยู่ที่ จ.เชียงราย อ.เวียงป่าเป้า ตอนหลังมามีการแยกย้ายออกไปเป็น 2 หมู่บ้าน ปัจจุบันเรียกว่า บ้านสามกุลา (จ.เชียงราย) และ บ้านขุนแจ๋ (จ.เชียงใหม่)

มีผู้คนจากหลายหมู่บ้านมาร่วมอาศัย มีหลากหลายชนเผ่า อาทิเช่น ลีซู มูเซอ ชาวจีนเชื้อสายยูนนาน เป็นต้น วิถีชีวิตยังมีการทำไร่ ประชากรมีการเคลื่อนย้าย เข้า ๆ ออกๆ ยังไม่มั่นคง

ประชากรเริ่มนิ่งหลังจากโครงการหลวงเข้ามาอบรม อาชีพ และส่งเสริมให้เลิกปลูกฝิ่น ทางชุมชนได้ให้ความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ อาทิเช่น โครงการหลวง รัฐวิสาหกิจ รัฐบาล และเข้าร่วมโครงการต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ประกอบพิธีทางศาสนา หรือการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ

ทุกกิจกรรมที่มีการเชิญเข้ามา โดยไม่แบ่งศาสนา และ ชนเผ่า เศรษฐกิจของหมู่บ้าน เริ่มดีขึ้นเนื่องจาก มีการผลิตผลผลิตทางการเกษตร ทั้งพืชผล พืชผักผลไม้เมืองหนาว และเริ่มมีความมั่งคงทางด้านการเงิน เศรษฐกิจ ทำให้ชาวบ้านไม่มีหนี้นอกระบบ และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ ฤดูฝนยังคงมีภัยพิบัติ อาทิเช่น ดินถล่ม ต้นไม้ล้ม เป็นต้น

บ้านขุนแจ๋ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ มีเนื้อที่ติดต่อกับ อ.เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่สาธารณะ และสาธารณูปโภคในชุมชน มีน้ำประปาหมู่บ้าน แต่ละบ้านจะมีมิเตอร์ของพื้นที่ส่วนตัว มีอาคารเอนกประสงค์ เพื่อให้ชาวบ้านสามารถใช้สอยได้ มีตลาดชุมชนปล่อยให้เช่าในราคาถูก สนามกีฬาหมู่บ้าน มีศูนย์การเรียนรู้ศิลปะดนตรีและวัฒนธรรมลีซู เพื่อสอนเด็ก ๆ ได้เรียนรู้ยามว่าง มีกิจกรรมที่มีประโยชน์ และสามารถสืบสานวัฒนธรรมได้สืบไป

  • จำนวนครัวเรือน-ครอบครัว หมู่บ้าน มี 140 ครัวเรือน
  • จำนวนประชากร มี 444 คน
  • ตระกูลของชุมชน ได้แก่ แสนยี่ จื๋อจา ไทยศักดา ไทยหิรัญยุค ไทยสุรเกษม
ลีซู
  • ระบบเศรษฐกิจภายในสังคมช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการสืบสานวัฒนธรรมชนเผ่าอย่างต่อเนื่อง
  • อาชีพหลักของชุมชน คือ ปลูกผัก ผลไม้เมืองหนาว และผลไม้มะม่วง พันธุ์มหาชนก พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้เบอร์ 4 จินหงส์ เป็นต้น
  • มีการรวมกลุ่มภายในชุมชน ได้แก่ ตลาดชุมชนหมู่บ้าน กลุ่มเฟสบุ๊คซื้อขายออนไลน์ นำส่งถึงหน้าบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุน ออกเดินทางโดยรถมอไซค์ รถขนส่งโดยสาร

การเพาะปลูกแต่ละปีมีช่วงเวลาที่แน่นอน ของการดำเนินการของสวนต่างๆ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของชาวสวน ไม่มีรายการปฏิทินที่แน่นอน

  • ประเพณีของชุมชน ได้แก่ กิจกรรมปีใหม่กินวอ กิจกรรมดำหัวอาปาโม่ กิจกรรมดำหัวผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำหมู่บ้าน กิจกรรม เต้นอวยพร อิดะมะ
  • ปัจจุบันยังขาดงบประมาณบางส่วนในการดำเนินงาน ต้องเก็บรวบรวมจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และ จากเงินบริจาค

กิจกรรมกินวอ

สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจกรรม คือบ้านผู้นำหมู่บ้านอิดะมะ บ้านอาปาโม่ เป็นการเต้นเข้าจังหวะ โดยการให้มีนักดนตรีดีดซือบือ เป่าแคน และจับมือล้อมรอบวงเพื่ออวยพร และสังสรรค์ สร้างความสามัคคีในชุมชน ให้เกิดความรักใคร่ปรองดอง มีกิจกรรมร่วมกันทำอาหาร ดื่มสุราพื้นบ้าน

1.นายอนุวิทย์ อักษรอริยานนท์ 

เกิดปีพ.ศ. 2502 อาศัยอยู่หมู่ 8 ต.แม่แวน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เป็นผู้อาวุโสของชุมชน มีความรู้ด้านศิลปะดนตรีและวัฒนธรรมลีซู ได้มีการสอนดนตรีเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และสามารถเอาไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน ที่ผ่านมาดำรงตำแหน่งเป็นพ่อหลวงบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) เป็นระยะเวลา 10 ปี และเป็นประธานชนเผ่าภาคเหนือ

ทุนกายภาพ ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ ภูมิประเทศที่เหมาะสมในการปลูกไม้ผลผลไม้เมืองหนาว 

ทุนมนุษย์ มีกลุ่มฮักขุนแจ๋ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่ให้การสนับสนุนและคอยผลักดันให้เกินการพัฒนาในชุมชนไปในทางที่ดี คอยป้อนกิจกรรมในวันกินวอ แจกจ่ายของ แจกจ่ายรางวัลโดยหาเงินจากการขายเสื้อประจำหมู่บ้าน

ภาษาที่ใช้พูด ภาษาจีน ภาษาไทย ภาษาลีซู

ตัวอักษรที่ใช้เขียน ภาษาไทย และภาษาจีน

สถานการณ์การใช้ภาษาของผู้คนในชุมชนในปัจจุบัน ภายในชุมชนลีซูบ้านขุนแจ๋มีการใช้ภาษาไทย และภาษาลีซูในการสื่อสารโดยทั่วไป

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

อบต.แม่แวน โทร. 0-5301-7090