บ้านเลาวู อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,550-1,600 เมตร อากาศหนาวทั้งปี มีป่าธรรมชาติสวยงาม มีสถานที่ท่องเที่ยวและผลไม้ตามฤดูกาล
ชื่อหมู่บ้านเลาวู ตั้งขึ้นตามชื่อของผู้ก่อตั้งชุมชนคนแรก
บ้านเลาวู อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,550-1,600 เมตร อากาศหนาวทั้งปี มีป่าธรรมชาติสวยงาม มีสถานที่ท่องเที่ยวและผลไม้ตามฤดูกาล
บ้านเลาวู หรือ ภาษาลีซูเรียกว่า กือ-มี ซึ่งแปลว่า ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ 11 ตำบล เวียงแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชนผ่าลีซู ก่อตั้งชุมชนประมาณปี พ.ศ. 2496 นำโดย นายเลาวู เลายี่ป๋า
ปัจจุบันชื่อหมู่บ้านเลาวูตามผู้ก่อตั้งชุมชนคนแรก หมู่บ้านหน้าด่านหรือหมู่บ้านแรกที่ตั้งก่อนที่จะถึงเวียงแหงมักเรีอกชื่อกันว่า เลาวูประตูสู่เวียงแหง เข้าสู่เขตอำเภอ เวียงแหง
จากคำบอกว่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านได้กล่าวถึงหมู่บ้านเลาวูสืบต่อกันมาว่า หมู่บ้านแห่งนี้แต่เดิมเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของเผ่าม้ง ที่อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาอยู่บริเวณนี้เพื่อปลูกฝิ่น ทั้งนี้ด้วยสภาพป่า อากาศ ที่สามารถปลูกพืชชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี และเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนม้งในยุคนั้น
ต่อมาเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2486 ทหารญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งฐานทัพในบริเวณใกล้ ๆ หมู่บ้าน พร้อมกับได้เกณฑ์ชาวบ้านเพื่อทำถนน ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่อยากไป จึงวางแผนที่จะอพยพออกจากไปจากพื้นที่นี้ โดยการเอาทรัพย์สมบัติของตัวเองไปฝังไว้ในบริเวณรอบ ๆ หมู่บ้าน พร้อมกับวางแผนวางยาทหารญี่ปุ่นตายหมด จึงได้อพยพย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว และในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์
จากนั้นในช่วงปี พ.ศ. 2496 ได้มีพี่น้องลีซู ซึ่งอพยพมาจากประเทศจีนหลายสิบปี เนื่องจากมีความเป็นอยู่ลำบาก ข้าวยากหมากแพง และได้รับการชักชวนจากพ่อค้าฝิ่นว่าในปะรเทศไทยมีพื้นที่ปลูกฝิ่นและผลผลิตดีมาก จึงอพยพเข้ามาโดยการนำของนายอ่าเลาปาหมึก เลายี่ป๋า นายอาซาปลูกชา ยี่ป๋า นายอาซาฟืน เลาฉี่ และนายใส่มาเกียะ เลาหมี่
เดิมได้ก่อตั้งหมู่บ้านอยู่ที่อำเภอฝาง ในเขตพื้นที่บ้านถ้ำง้อน จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นได้อพยพมาอยู่ที่เก่า (ใกล้กับหนองคาย) และต่อมาได้ก่อตั้งหมู่บ้าน (นาเลา) แห่งใหม่ ที่บ้านนาเลาใหม่ ซึ่งตอนนี้ขึ้นกับการปกครองกับ ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านเลาวูในปัจจุบัน ประมาณ 2 กิโลเมตร
ชุมชนบ้านเลาวู ได้มีการจำแนกการใช้ประโยชน์พื้นที่จากการสำรวจ ปี 2560 และผ่านการประชาคมบ้านเลาวู ดังนี้
- พื้นที่ใช้ประโยชน์ จำนวน 137 แปลง ขนาด 1.87 ตร.กม / 1167.4 ไร่ หรือ ร้อยละ 29.34%
- พื้นที่ดินเป็นป่า ขนาด 0.77 ตร.กม / 479.0 ไร่ หรือ ร้อยละ 12.4%
- พื้นที่ป่าธรรมชาติ ขนาด 3.73 ตร.กม / 2332.3 ไร่ หรือ ร้อยละ 58.62%
ทรัพยากรทางธรรมชาติ
- มีการทำไม้แนวกันชนพื้นที่ป่า
- มีระบบการผลิต การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- มีระบบน้ำ ที่สามารถใช้พื้นที่น้อยแต่เพิ่มผลผลิตที่มั่นคง
- มีการคมนาคมขนส่ง ระบบการผลิต
- มีการป้องกัน ฟื้นฟู ดูแลรักษาป่า (ทำแนวกันไฟป้องกันไฟป่าลาดตระเวน ปลูกไม้ดั้งเดิมแทรกเข้าไปในพื้นที่ป่า ไม่ใช่คนรุกป่า เพราะชุมชนอยู่กับป่ามาตั้งแต่เริ่มต้น)
ชุมชนบ้านเลาวู ประกอบด้วย ครัวเรือน จำนวน 170 ครัวเรือน และประชากร 650 คน
ลีซู- กิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเพาะปลูกแต่ละปี มีช่วงเวลาที่แน่นอนของการดำเนินการของสวนต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของชาวสวน ไม่มีรายการปฏิทินที่แน่นอน
- กิจกรรมทางสังคม วัฒนธรรม และศาสนา มีกิจกรรมปีใหม่กินวอ กิจกรรมดำหัวอาปาโม่ กิจกรรมดำหัวผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำหมู่บ้าน กิจกรรม เต้นอวยพร อิดะมะ
- ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบปี ขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค และการเกษตร รายได้ไม่เพียงพอเนื่องจากพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ
1.นายอมรเทพ ภมรสุจริตกุล
ที่อยู่ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน บ้านเล่าวู หมู่ 11 ต.เวียงแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่
เป็นผู้ที่ตระหนักถึงผลกระทบจากการบุกรุกทำลายป่า การทำลายสมดุลของระบบนิเวศจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของวิกฤตฝุ่นควันพิษทั่วภาคเหนือ พ่อหลวง (ผู้ใหญ่บ้าน) อมรเทพและครอบครัวเริ่มต้นจากการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างจนกลุ่มชาวบ้านลุกขึ้นมามีส่วนร่วมระดมความคิดเห็น เพื่อจัดการชุมชนซึ่งสามารถอยู่ร่วมกับป่าอย่างเป็นรูปธรรม โดยเปลี่ยนจากการปลูกข้าวโพด มาเป็น อโวคาโด และกาแฟที่นอกจากจะสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน ยังช่วยป้องกันปัญหามลพิษฝุ่นควันได้อย่างยั่งยืนและชุมชนสามารถคงวิถีชีวิตดั้งเดิมไว้ได้
ทุนกายภาพ มีจุดชมวิวธรรมชาติ 360 องศา เป็นหมู่บ้านแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและแหล่งเรียนรู็วิถีชุมชนชาติพันธุ์ลีซู
ทุนมนุษย์ มีผู้นำชุมชนที่เป็นผู้ริเริ่มแนวทางการอยู่ร่วมกับป่าให้กับชุมชน เปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นไม้ยืนต้น เช่น กาแฟ อโวคาโด
ภาษาที่ใช้พูด ภาษาจีน ภาษาไทย ภาษาลีซู
ภาษาหรือตัวอักษรที่ใช้เขียน ภาษาไทย และภาษาจีน
สถานการณ์การใช้ภาษาของผู้คนในชุมชนในปัจจุบัน ภายในชุมชนลีซูบ้านขุนแจ๋มีการใช้ภาษาไทย และภาษาลีซูในการสื่อสารโดยทั่วไป
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.