Advance search

แม อิ หลิ

หมู่บ้านแม่อีแลบเป็นหมู่บ้านที่มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ คือ ดอยเมี่ยงหรือยอดดอยกึ่งกลางระหว่างหมู่บ้านแม่อีแลบกับบ้านแพมบก และมีแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งคือ ดอยธง ยอดดอยสูงสุดบริเวณสันเขาแห่งนี้ มีวิว 360 องศา สามารถมองเห็น 2 อำเภอปายและปางมะผ้า วิวธรรมชาติสวยงามอากาศเย็นตลอดทั้งปี มีกฎระเบียบว่าด้วยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีพิธีกรรมสำคัญชนเผ่าลีซูเกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้ธรรมชาติที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ

หมู่ที่ 7
แม่อีแลบ
ทุ่งยาว
ปาย
แม่ฮ่องสอน
อบต.ทุ่งยาว โทร. 0-5204-0217
พิศาล ไทยร่มเย็น
12 ต.ค. 2023
พิศาล ไทยร่มเย็น
12 ต.ค. 2023
ปริญญ์ รุจิรัชกุล
9 ก.ค. 2024
บ้านแม่อีแลบ
แม อิ หลิ


หมู่บ้านแม่อีแลบเป็นหมู่บ้านที่มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ คือ ดอยเมี่ยงหรือยอดดอยกึ่งกลางระหว่างหมู่บ้านแม่อีแลบกับบ้านแพมบก และมีแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งคือ ดอยธง ยอดดอยสูงสุดบริเวณสันเขาแห่งนี้ มีวิว 360 องศา สามารถมองเห็น 2 อำเภอปายและปางมะผ้า วิวธรรมชาติสวยงามอากาศเย็นตลอดทั้งปี มีกฎระเบียบว่าด้วยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีพิธีกรรมสำคัญชนเผ่าลีซูเกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้ธรรมชาติที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ

แม่อีแลบ
หมู่ที่ 7
ทุ่งยาว
ปาย
แม่ฮ่องสอน
58130
19.3318872992408
98.308806270361
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว

บ้านแม่อีแลบ หรือภาษาลีซูเรียกว่า แม อิ หลิ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นชนเผ่าลีซู ได้เริ่มก่อตั้งชุมชนเมื่อ พ.ศ. 2514 หรือปีกุน (แหวะ คุ๊) อายุได้ประมาณ 52 ปี เดิมทีย้ายมาจาก ดอยอ้น หรือ แล โอ ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างอำเภอปางมะผ้าหรือบ้านผามอนชนเผ่าลาหู่ทางตะวันออก กับบ้านไทรงาม อำเภอปาย ทางทิศตะวันตก ซึ่งนำโดยนายใส่ เลาว้าง นายเลาหลู่ เลาหมู่ นายเบ้โอ่ เปียผะ นายเลาเอ่อ เลาหมู่ นายเลาหมู่ เลาหมู่ และกลุ่มงัวผ่า หรือเลายี่ป่า เดิมที่บ้านแม่อีแลบได้ขึ้นอยู่กับบ้านแพมบก หลังจากปี พ.ศ. 2514 ถัดมา 2-3 ปี บ้านแม่อีแลบได้ประกาศบ้านหมู่ทางการขึ้นมา ผู้ใหญ่บ้านคนแรก ชื่อนายใส่ เลาว้าง (หว่า จา) 

ชุมชนบ้านแม่อีแลบ ประกอบด้วย 75 หลังคาเรือน

ถูกประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย (พ.ศ.2515)

มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชุมชนได้แก่ ศาลเจ้า หรืออาปาโหม่ฮี 1 แห่ง และศาลเจ้าอิ๊ด่ามาหลัว จำนวน 1 แห่ง

ชุมชนมีสถานที่ราชการโรงเรียน 1 แห่ง มีตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา 1-6 มีศาลาอเนกประสงค์หรือหอประชุม 1 แห่ง มีโบสถ์คริสต์ 1 แห่ง

แหล่งท่องเที่ยวสำคัญคือดอยเมื่ยงหรือยอดดอยกึ่งกลางระหว่างหมู่บ้านแม่อีแลบกับบ้านแพมบก จัดการดูแลโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้วิวสวยงามบนดอยสูงระดับน้ำทะเล ประมาณ1800-2000 เมตร และมีแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งคือ ดอยธง สูงจากระดับน้ำทะเล 1950 เมตร ยอดดอยสูงสุดบริเวณสันเขาแห่งนี้มีวิว 360 องศา สามารถมองเห็น 2 อำเภอ ปายและปางมะผ้า วิวธรรมชาติสวยงามอากาศเย็นตลอดทั้งปี ซึ่งบริเวณดอยธงแห่งนี้อดีตเคยเป็นสวนฝิ่นเก่าของบ้านแม่อีแลบ

บ้านแม่อีแลบ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีอาณาเขต ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อบ้านสันติชล ตำบลเวียงใต้ และบ้านหมอแปง ตำบลแม่นาเติง
  • ทิศใต้ ติดต่อบ้านปางตอง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อบ้านแพมบก
  • ทิศตะวันตก ติดต่อบ้านมโนรา อำเภอปางมะผ้า

การคมนาคม การสัญจรเข้าออกหมู่บ้านหลัก 1 เส้นทาง คือจากถนนหลวงหลายเลข 1095 ปาย แยกเข้ามาทางบ้านแพมบก คนพื้นราบมายังบ้านแม่อีแลบ รวมระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ถนนค่อนข้างแคบ คอนกรีตบางช่วงและถนนลูกรังเป็นช่วง มีความลาดชันสูง บางจุดมีเหวลึก อาจใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับคนที่ไม่เคยมา

ชุมชนบ้านแม่อีแลบ ประกอบด้วย 75 หลังคาเรือน และประชากร จำนวน 342 คน

ลีซู
  • เศรษฐกิจและสังคมภายในชุมชนอยู่ในรูปแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการสืบสานวัฒนธรรมชนเผ่าอย่างต่อเนื่อง
  • อาชีพรายได้ชุมชนส่วนใหญ่ของคนในชุมชน ได้แก่ ปลูกข้าว ข้าวโพด กระเทียม ฟักทอง ถั่ว ไม้ผลได้แก่ ส้มเขียวหวาน มะม่วง และมะละกอ
  • องค์กรภายนอกที่เข้ามาทำงานในชุมชน ได้แก่ กรมป่าไม้

ปฏิทินการเกษตร (ปฏิทินการเพาะปลูก)

ลำดับ ระยะเวลา กิจกรรม/กระบวนการ
1 เดือน 11-12 ลีซูชือตี้ฮา-หลายี่ ตรงกับเดือนธันวาคม-มกราคม ถางหญ้า ถางหรือตัดตอซังข้าว เตรียมพื้นที่เพาะปลูกปีถัดไป
2 เดือน 3 ลีซู ซาฮา ตรงกับเดือนเมษายน เผาไร่ เผาสวน, ตัดกิ่งก้านไม้ เคลียร์พื้นที่ท่อนไม้ สื่อ โด่ว จือ, ใช้จอบ ดายหญ้า
3 ลิฮา ชือ หงัว เดือน 4 ลีซู ตรงกับเดือนพฤษภาคม เป็นเวลาเพาะปลูกข้าว โดยให้มีการสังเกตจากลูกมะม่วงป่าจะเริ่มสุกสามารถปลูกข้าวได้ โดยปกติแล้วข้าวไร่ลีซูมีการปลูกหลายอย่างพร้อมกัน เช่น ถั่วฝักยาว ผักกาด มะเขือ ฟักทอง ผักชี แตงกวา แตงโม แตงลาย ข้าวฟ่าง พริก หัวมัน หงอนไก่ เป็นต้น ซึ่งมีความหลากหลายมาก
4 หงัวฮา-ชือฮา ตรงกับเดือน 5-10 ลีซู มิถุนายน-ตุลาคม ดายหญ้าวัชพืชไร่ข้าว, ระหว่างมีการเลี้ยงผีไร่ อะหมี่ หนี่ กัวะ เพื่อให้ได้ผลผลิตดี มีความอุดมสมบูรณ์ไม่มีศัตรูแมลงมากัดกินพืชผล โดยใช้ไก้ในการประกอบพิธีกรรมนี้
5 ชือฮา ตรงกับเดือน 10 ลีซู ปลายตุลาคม-ต้นเดือนพฤศจิกายน ช่วงเก็บเกี่ยวข้าวไร่ ตีข้าว และพิธีเรียกขวัญข้าวกลับมาบ้าน
6 ชื่อตี้ฮา ตรงกับเดือนพฤศจิกายน กินข้าวใหม่

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นในรอบปี ขาดงบประมาณบางส่วนในการดำเนินงาน ต้องเก็บรวบรวมจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และเงินบริจาค

ปฏิทินพิธีกรรม

ลำดับ ชื่อพิธีกรรม ระยะเวลา ความสำคัญ
1 ปีใหม่ หรือโข่ เชยียะ มกราคม-กุมภาพันธ์ เป็นการเฉลิมฉลอง วันแห่งเริ่มต้นใหม่ ปีใหม่ของลีซู มีการประกอบพิธีกรรมระดับชุมชนที่ศาลเจ้าอาปาโหม่ อิ๊ด่ามา และระดับครอบครัว ทำบุญเรียกขวัญ วันรวมญาติและครอบครอบครัว เพื่อให้ชีวิตมีความสุข ความเจริญก้าวหน้า โดยมีกิจกรรมเต้นรำทุกหลังคาเรือน (2 คืน ส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่) และรดน้ำดำหัวพ่อ แม่ อาวุโส ผู้นำพิธีกรรม เหมอเหมอผ่า หนี่ผ่า ตลอดจนผู้นำทางการ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยฯ สอบต. เป็นต้น
2 ปีใหม่น้อย หรือ เอ๋อ ยี ปา หลังจากปีใหม่ครบ 1 เดือน กับ 7 วัน ตรงกับมีนาคมทุกปี เป็นการจัดปีใหม่ให้กับผู้ชายลีซู เชื่อว่าช่วงเทศกาลปีใหม่ผู้ชายลีซูไปออกศึกรบไม่สามารถมาฉลองปีใหม่จึงจัดชดเชยให้ กิจกรรมทีการเต้นรำหน้าบ้านเหมอ เหมอผ่า 1 วัน 1 คืน ทำพิธีกรรมศาลเจ้าอาปาโหม่เพื่อเป็นสิริมงคล
3 พิธีขอขมาวิญญาณบรรพบุรุษประจำตระกูล ซะ ฟู่ หลังปีใหม่หรือปีใหม่น้อย กุมภาพันธ์ มีนาคม หรือตามสะดวก หลังจากปีใหม่ลีซูเสร็จสิ้น ชุมชนแม่อีแลบมีการเริ่มประกอบพิธีนี้ขึ้น เพื่อเป็นการขอบคุณและขอขมาต่อวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงับไปแล้ว เพื่อให้ความเป็นอยู่ ครอบครัว อยู่ดีมีสุขปลอดภัยจากภยันอันตราย ถือเป็นการเริ่มต้นชีวิตครอบครัว
4 ทำบุญเรียกขวัญสืบชะตา ตลอดทั้งปี

พิธีทำบุญเรียกขวัญสืบชะตาลีซูมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไป เช่น ทำพิธีขนาดใหญ่ เล็ก หรือใช้หมู ไก่ หรือใช้กระดาษ ตามความชอบหรือสนใจของตนเองและครอบครัว เพื่อให้ขวัญที่ล่องลอยไปที่อื่น ๆ กลับมาสู่กับตนเองเพื่อไม่ให้เจ็บป่วย ร่างกายสมบูรณ์ ไม่เจ็บไม่ไข้ ต่ออายุให้ยืนยาว 100 ปี หาเงินหาทองคล่องตัว ลีซูเชื่อว่า ขวัญผู้ชายมี 9 ดวง ผู้หญิง 7 ดวง พิธีเรียกขวัญลีซูจากใหญ่ไปหาเล็ก ดังนี้

  1. ซา ล่า หลัวะ หรือศาลา ไม่ใช้หมู ไก่
  2. หล่า ปะ ตือ โต๊ะมานั่ง ไม่ใช้หมู ไก่
  3. โอ่ จึ กุ จว่า สะพานไม้ข้ามน้ำ มี 2 ขนาด คือ ต๊ะ เขยีวะ และ โอ่ จะ ธรรมดาใช้หมู ไก่ เซ่นไหว้
  4. อื้อเปาะและ ยอ เปาะ เรียกขวัญข้างประตูในบ้านมี 2 แบบ (ใช้หมูและไก่)
  5. ใช้ไข่เรียกขวัญให้เด็กเล็ก
5 หลี่ ฮี ชัว หรือ เช็งเม้ง เดือน 3 วันที่ 3 ลีซู มีนาคม-เมษายน

สร้างบ้านหรือปรับปรุงบ้านให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับให้น่าอยู่หรือทำบุญอุทิศส่งกุศล นิยมทำพิธีนี้ช่วงวันที่ 3 เดือน 3 ลีซู ปกติทำพิธีต่อเนื่องสามปี ถ้าลูกหลานไม่พร้อมอาจเว้นปีได้ตามความเหมาะสม และปีที่สามหรือปีสุดท้าย เชิญวิญญาณให้กลับมาบ้าน ให้สถิตบ้าน หิ้งบูชาประจำบ้าน ต่า เบียะ เพื่อให้ลูกหลานในบ้าน ครอบครัว อยู่ดีมีสุข ความเจริญก้าวหน้า และคอยปกป้องสิ่งขั่วร้ายต่าง ๆ 

6 หงัว ฮา เต๋อ หวู่ วันที่ 5 เดือน 5 พฤษภาคม-มิถุนายน

ถือว่าเป็นวันปลูกพืชของลีซู ถือว่าเป็นวันที่ฤกษ์งามยามดีในการเพาะปลูกพืชต่าง ๆ ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ลีซู บางชุมชนมีการประกอบพิธีกรรมอาปโหม่ และมีการประกอบพิธีทำบุญเรียกขวัญถือว่าเป็นวันดีมาก แต่ชุมชนแม่อีแลบไม่มีการประกอบพิธีอาปาโหม่ มีแต่เรียกขวัญเท่านั้น

7 ชือ แป๊ะ กัวะ วันที่ 13 เดือน 7 ลีซู สิงหาคม

ชือ แป๊ะ กัวะ เป็นพิธีถวายพืชธัญญาหารให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับและถวายให้กับเทพ อิ๊ด่ามา อาปาโหม่ เป็นการขอบคุณเทพต่าง ๆ  กับบรรพบุรุษที่คอยปกป้องและดูแลพืชผลทางการเกษตรให้กับครอบครัว พืชผลที่ถวาย ได้แก่ ข้าวโพดฝักอ่อน ฝักแก่ แตงกวา กล้วย อ้อย ดอกหงอนไก่ สับปะรด ประกอบพิธีช่วงวันที่ 13-14-15 ของเดือน 7 ลีซู ตรงกับเดือนสิงหาคม หรือบางตระกูลลีซู เช่น หลี่จา เริ่มวันที่ 12 ของเดือน 7 หรือบางตระกูลลีซูไม่ทำพิธีนี้ เช่น นุหลี คือ ชือ แป๊ะกัวะ หรือ เอ้อ ยี ปา ปีใหม่น้อย เชื่อว่าเป็นลีซูดั้งเดิมจริง

8 กินข้าวใหม่ จวา ฉิ จวา ชือ ฮา - ชือ ตี้ฮา เดือน 10 หรือ 11 ลีซู ตรงกับพฤศจิกายน

สมัยก่อนลีซูเชื่อว่า อย่างน้อยจะจนอย่างไร มีข้าวกินถือว่ารอดตาย ให้ความสำคัญข้าวเป็นอย่างมาก เวลากิข้าวให้กินหมดจานไม่ให้เหลือ และเศษข้าวจะไม่นิยมทิ้งแบบทั่วไป

กินข้าวใหม่ จงา ฉิ จงาถือเป็นพิธีระดับครอบครัวสำหรับลีซูที่นับถือบรรพบุรุษดั้งเดิม หลังจากที่ได้เก็บเกี่ยว ตี นวดข้าว เสร็จจากไร่มีการเรียกขวัญข้าวจากไร่กลับมายังบ้านหรือยุ้งฉางข้าว จากนั้นได้ตากข้าวใหม่ ตำข้าวหรือสีข้าว ปัจจุบันมีพิธีกินข้าวใหม่แต่ละครอบครัวอาจมีการฆ่าหมูด้วย หรือบางคนไม่พร้อมก็ไม่นิยม โดยการนึ่งข้าวใหม่พร้อม ๆ กับ หัวมัน เผือก ข้าวใหม่มื้อแรก ก้อนแรก ปั้นก้อนให้สุนัขในบ้านกินก่อน ลีซูเชื่อว่า มีบุญคุณกับสุนัขเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีเรื่องเล่า สมัยก่อนมนุษย์ไม่มีข้าวกิน มีสุนัขตัวหนึ่งได้ขึ้นไปบนสวรรค์และได้เดินไปบริเวณลานตากข้าวของ หวู่ สา เทพผู้สร้างกำเนิดโลก สุนัขตัวนี้ได้นอนกลิ้งไปกลิ้งมาบนลานตากข้าว แล้วเมล็ดข้าวเปลือกติดมากับตัวและหางกลับมายังโลกมนุษย์ ระหว่างทางกลับมานั้นได้ข้ามน้ำข้ามทะเลมาถึงเมืองมนุษย์เมล็ดข้าวเปลือกเหลือไม่เยอะ มนุษย์จึงนำมาปลูกกินขยายพันธุ์ข้าวถึงทุกวันี้ มนุษย์จึงเชื่อว่า สุนัขมีบุญคุณอย่างมาก จึงเป็นที่มา ข้าวใหม่ มื้อแรกให้สุนัขกินก่อน และลีซูจะไม่กินเนื้อหาสุนัขและไม่ทำร้าย ถ้าหากไม่จำเป็นที่สุดถือเป็นการตอบแทน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนกายภาพ

มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ คือ ดอยเมี่ยง หรือยอดดอยกึ่งกลางระหว่างหมู่บ้านแม่อีแลบกับบ้านแพมบก จัดการดูแลโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้ วิวสวยงาม บนดอยสูงระดับน้ำทะเล ประมาณ 1,800-2,000 เมตร และมีแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งคือ ดอยธง สูงจากระดับน้ำทะเล 1,950 เมตร ยอดดอยสูงสุดบริเวณสันเขาแห่งนี้ สามารถชมวิวได้ 360 องศา มองเห็น อำเภอ ปายและปางมะผ้า วิวธรรมชาติสวยงามอากาศเย็นตลอดทั้งปี   

ภาษาที่ใช้พูด ภาษาจีน ภาษาไทย ภาษาลีซู

ภาษาหรือตัวอักษรที่ใช้เขียน ภาษาไทย และภาษาจีน

สถานการณ์การใช้ภาษาของผู้คนในชุมชนในปัจจุบัน ภายในชุมชนลีซูบ้านขุนแจ๋มีการใช้ภาษาไทย และภาษาลีซูในการสื่อสารโดยทั่วไป

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

อบต.ทุ่งยาว โทร. 0-5204-0217