เป็นชุมชนชานเมืองที่ตั้งอยู่บนพื้นที่นาของตระกูลเจ้าเมืองมหาสารคาม เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของผู้คนในเมือง เป็นสถานที่ก่อสร้างบ้านจัดสรรจำนวนมาก ในอนาคตอาจจะเป็นชุมชนที่หนาแน่นเนื่องจากเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของเมือง
พื้นที่มีต้นตะคร้อใหญ่ เลยเลือดตั้งชื่อตามต้นไม้ใหญ่ ต้นตะคร้อภาษาอีสานเรีกย ต้นค้อ ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากว่าบ้านค้อ
เป็นชุมชนชานเมืองที่ตั้งอยู่บนพื้นที่นาของตระกูลเจ้าเมืองมหาสารคาม เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของผู้คนในเมือง เป็นสถานที่ก่อสร้างบ้านจัดสรรจำนวนมาก ในอนาคตอาจจะเป็นชุมชนที่หนาแน่นเนื่องจากเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของเมือง
พื้นที่บ้านค้อเดิมเป็นป่าไม่มีคนอยู่อาศัย ผู้ที่เป็นแกนนำในการก่อตั้งบ้านค้อคือ พ่อใหญ่หมื่น ซึ่งท่านอพยพมาจากเมืองอุบล มาอยู่ที่ร้อยเอ็ด ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านแกดำ สมัยที่ยังไม่ตั้งเป็นอำเภอ แต่พื้นที่แกดำนั้นไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ พ่อใหญ่หมื่นจึงอพยพย้ายถิ่นฐานอีกครั้ง โดยเดินทางมาด้วยกัน 3 คน คือ พ่อใหญ่หมื่น พ่อใหญ่แสน พ่อใหญ่กั้ง การเดินทางสมัยก่อนนั้นมีความยากลำบากเพราะไม่มีรถ ต้องเดินทางด้วยเกวียน มาถึงที่แห่งหนึ่ง ได้เห็นต้นค้อใหญ่จึงพากันนั่งพักใต้ต้นค้อ เมื่อดูพื้นที่บริเวณรอบๆแล้ว จึงปรึกษากันว่าจะลงหลักปักฐานที่นี่เพราะเป็นที่ราบอุดมไปด้วยป่าไหม้สัตว์ป่า ดินมีคุณภาพดีประกอบกับมีหนองน้ำ หลังจากนั้นชาวบ้านก็ค่อยๆอพยพตามมา จึงมีการตั้งชื่อบ้านคามต้นต้นไม้ที่พบในบริเวณนี้คือ ต้นตะคร้อหรือภาษาท้องถิ่นเรีนกว่า “ต้นค้อ” ว่า บ้านค้อ หลังจากตั้งถิ่นฐานมั่นคงดีแล้ว ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้ย้ายออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านโนนช่อง ต่อมาเกิดภัยพิบัติแผ่นดินแยกออกจากกันคือ บ้านโนนเดื่อ บ้านโนนม่วง บ้านกุดเป่ง และบ้านท่าแร่
จากคำบอกเล่าหมู่บ้านค้อมีอายุกว่า 300 ปี ดังนั้นน่าจะก่อตั้งเมื่อราวปีพ.ศ.2240 ปัจจุบันมี 216 หลังคาเรือน 1,060 คน ตระกูลสำคัญในหมู่บ้านเช่น คะนะมะ รักษาพล อาศัยมาหลายชั่วอายุคน เมื่อแรกตั้งชุมชนมีการสร้างบ้านเรือนอยู่บริเวณวัดเครือวัลย์ประมาณ 10 ครัวเรือน เมื่อมีการตั้งถิ่นฐานมากขึ้นก็มีการขยายตัวไปทางทิศใต้และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หมู่บ้านค้อเดิมมีหนองน้ำ 3 หนองด้วยกันคือ หนองอึ่ง หนองโพธิ์ หนองสา โดยหนองอึ่งปัจจุบันยังใช้เป็นหนองน้ำส่วนรวมอยู่ ซึ่งอดีตเคยเป็นแหล่งอาหารของหมู่บ้าน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในยุคนี้คือการมาขึ้นกับเทศบาลเมืองมหาสารคาม ซึ่งเข้ามาดูแลคุณภาพชีวิตของชาวบ้านเช่น ถนนเส้นกลางบ้าน สร้างความเจริญด้านสาธารณูปโภคและความสะดวกสบายด้านการศึกษา รวมถึงความเจริญก้าวหน้าของสังคมภายนอกเช่น ทางเกวียน เปลี่ยนเป็นทางลูกรังมีรถโดยสารวิ่ง เทคโนโลยีต่างๆโดยเฉพาะไฟฟ้าเข้าสู่หมู่บ้าน
ช่วงพ.ศ. 2536 เป็นต้นมาเป็นยุคแห่งความเจริญ ความเป็นเมือง เป็นยุคแห่งกระแสวัฒนธรรมตะวันตก ราวปี พ.ศ.2506 ได้มีถนนลาดยางสารคาม-บรบือ ระยะแรกไม่ค่อยคึกคักมากนัก จนปีพ.ศ.2536 เป็นต้นมา รถจึงเริ่มมากขึ้นบนถนนเส้นนี้ทำให้เห็นความแตกต่างเริ่มมีความเป็นเมืองมากขึ้น กิจการร้านค้าต่างๆขยายตัวออกมา มีการกว้านซื้อที่ดินของคนจีน คนญวณทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่น ชาวบ้านมีความั่งคั่งมากขึ้นเนื่องจากมีการขายที่ดินถึงไร่ละ500,000-1,000,000 บาท ทำให้ชาวบ้านร่ำรวยกลายเป็นเศรษฐีรุ่นใหม่
บ้านค้อตั้งอยู่บนเนินเตี้ยๆบริเวณรอบๆเป็นที่ราบลุ่มต่ำ มีอาณาเขตดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับ ที่นาของตระกูลเจ้าเมือง ซึ่งให้ชาวบ้านค้อเช่าทำนา
- ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่บ้านโนนสำราญ
- ทิศตะวันตก ติดกับ ถนนสายสารคาม-บรบือ
- ทิศใต้ ติดกับ หมู่บ้านโนนเดื่อ
จากข้อมูลเทศบาลเมืองมหาสารคาม บอกว่าชุมชนเครือวัลย์1และ2 คือกลุ่มชุมชนบ้านค้อเดิมทั้งห 1,254 คน
ชาวชุมชนแรกเริ่มมีอาชีพทำการเกษตรเพื่อยังชีพ ต่อมาด้วยความเป็นสังคมเมืองที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจึงมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อขายและเริ่มทำอาชีพใกม่ที่หลากหลายเช่น รับราชการ รับจ้าง ค้าขาย รวมถึงไปทำงานต่างถิ่น อาชีพทำนากลับกลายเป็นอาชีพเสริมเนื่องจากที่นาถูกกว้านซื้อโดยกลุ่มคนจีนและคนญวณ
ปัจจุบันชุมชนทำนาเป็นอาชีพเสริมเนื่องจากพื้นที่โดยมากกลายเป็นสังคมเมือง ชาวชุมชนบ้านค้อจึงหันไปรับจ้างหน่วยงานราชการ รับจ้างร้านค้า หรือเปิดร้านค้าในชุมชนของตนเอง
วัดเครือวัลย์สุทธาวาส เดิมชื่อว่าวัด เครือวัลย์บ้านค้อ ตามชื่อของหมู่บ้าน ที่มีต้นตะคร้อและตาภูมิศาสตร์ซึ่งบริเวณนั้นเต็มไปด้วยเถาวัลย์ สันนิฐานว่า วัดนี้ก่อตั้งขึ้นหลังจากตั้งชุมชนเพียงเล็กน้อย เพราะวัดบ้านค้อแห่งนี้ได้มีประวัติร่วมสมัยกับหมู่บ้านมาตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อสร้างวัด แล้วพ่อใหญ่กั้งก็ตัดสินใจบวชเป็นพระภิกษุประจำวัด ชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงปู่กั้ง แต่ประวัติซึ่งทางวัดยึดถือและเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยได้ข้อมูลมาจากการสัมภาษณ์แม่พิมพ์ (ภวภูตานนท์) โปราณานนท์ กล่าวว่า วัดเครือวัลย์สร้างในสมัยพระเจริญราชเดช (ฮึง) เจ้าเมืองมหาสารคามคนที่ 2 ตอนนั้นบ้านค้อเป็นบ้านเล็กๆ อุโบสถจึงมีขนาดเล็ก สร้างมาประมาณ 100 ปี ก็ทรุดโทรมและก็พังไปตามกาลเวลา พระสมุห์คำ อหิงสโก เจ้าอาวาสในขณะนั้นได้ให้พระครูธรรมธรสัมฤทธิ์ วัดพิชัยญาติการาม กรุงเทพฯ กับชาวบ้านดำเนินการสร้างอุโบสถใหม่แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2533 สภาพของโบสถ์เก่าก่อนจะมีการสร้างใหม่ให้เห็นในปัจจุบันนั้น เท่าที่มีผู้จดจำได้ขณะนั้นตัวโบสถ์ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่โบกปูน ซึ่งทำแบบชาวบ้านคือ ผสมแกลบ ดินเหนียวและปูนขาว ตัวโบสถ์มีขนาดเล็ก หลังคาระยะแรกมุงด้วยหญ้า ต่อมาเปลี่ยนเป็นสังกะสี
เดิมวัดเครือวัลย์นี้เป็นวัดเล็กๆ ประจำหมู่บ้านไม่มีชื่อ ต่อมาจึงเริ่มเรียกวัดบ้านค้อตามชื่อหมู่บ้านและในปี พ.ศ. 2501 พระครูธรรมธรสัมฤทธิ์ ได้ดำเนินการขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ตั้งเป็นวัดอย่างเป็นทางการที่ชื่อว่า วัดเครือวัลย์ และเมื่อหมู่บ้านค้อได้มาขึ้นกับเทศบาลในปี พ.ศ. 2525 ได้เปลี่ยนเป็นวัดเครือวัลย์สุทธาวาส และหมู่บ้านค้อได้เปลี่ยนเป็นคุ้มเครือวัลย์
ปัจจุบันวัดเครือวัลย์สุทธาวาส ประกอบด้วยกุฏิ 1 หลัง ศาลาการเปรียญสร้างใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ 1 หลัง ศาลาการเปรียญหลังเก่า ตั้งอยู่บริเวณศาลหลวงปู่กั้งในปัจจุบัน แต่ถูกไฟไหม้ ในวันที่ 29 เมษายน 2523 ขณะยังไม่ได้สร้างศาลาหลังใหม่ได้ใช้กุฏิซึ่งชั้นล่างมีลักษณะเป็นห้องโล่ง แทนศาลาการเปรียญ โบสถ์ 1 หลัง ซึ่งเป็นหลังใหม่ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2533 เมรุ 1 หลัง สร้างในปี พ.ศ. 2538 (ก่อนหน้านี้วางเผากลางแจ้ง) หอระฆัง 1 หลัง สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2534 และศาลหลวงปู่กั้งซึ่งเป็นบุคคลที่ชาวบ้านเคารพนับถือ บางคนนับถือท่านเป็นปู่ตาด้วยโดยจะทำการบูชาท่านในวันใดก็ได้ภายในเดือน 7 (เดือนมิถุนายน) และเนื่องจากท่านเป็นพระของที่นำมาจึงมักเป็นพวกผมไม้ ของหวาน ขันหมากพลู เป็นต้น ศาลหลวงปู่กั้งนี้เดิมอยู่เยื้องจากที่ปัจจุบันนิดหน่อย เริ่มแรกเป็นเสาไม้แก่นธรรมดา ปักอยู่ใต้ซุ้มคัดเค้า ปัจจุบันปลูกสร้างเป็นมณฑปค่อนข้างกว้างใหญ่ ก่อด้วยปูนประดับประดาสวยงาม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นช่วง พ.ศ. 2525-2536 เช่น ถนนเส้นกลางบ้าน ซึ่งเดิมเป็นถนนมีฝุ่นคลุ้ง เทศบาลก็นำดินมาโรย และลาดยางใน พ.ศ. 2527 และมีการเริ่มสร้างโรงเรียนบ้านค้อปี พ.ศ. 2526 แล้วเสร็จปี 2557 ตั้งอยู่ในเขตบ้านค้อน้อย จากการเปลี่ยนแปลงทำให้พื้นที่บ้านค้อกลายเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ทำให้มีกลุ่มกิจการร้านค้าต่าง ๆ เริ่มขยายตัวออกมา ทำให้มีการกว้านซื้อที่ดินของคนจีน คนญวณทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ ทำให้ชุมชนมีรายได้จากการขายที่ดิน มีการเปลี่ยนแปลงอาชีพใหม่เป็นรับราชการ ค้าขาย รับจ้าง อาชีพทำนากลายมาเป็นอาชีพรอง
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะและคณะ. (2546). พิพิธภัณฑ์ ศูนย์รวมนง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน จังหวัดมหาสารคาม. พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
พิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม. (2559). วัดเครือวัลย์สุทธาวาส. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2566. จาก, https://www.facebook.com/mahasarakham.museum/