Advance search

ปางปอป

ชุมชนวัฒนธรรมดั้งเดิม ทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ ประชาอยู่ดี กินดี

หมู่ที่ 19
น้ำยวนพัฒนา
ร่มเย็น
เชียงคำ
พะเยา
อบต.ร่มเย็น โทร. 0-5445-2776
อรพรรณ ศิริธนากร
19 ต.ค. 2023
เลาต๋า แซ่จ๋าว
20 ต.ค. 2023
ปริญญ์ รุจิรัชกุล
9 ก.ค. 2024
บ้านน้ำยวนพัฒนา
ปางปอป

สมัยก่อน จะมีไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งมีผลกลม ๆ เท่าไข่ไก่ จะออกตามบริเวณแม่น้ำยวนจำนวนมาก ชาวบ้านเรียกว่าต้นปอป (ภาษาพื้นบ้าน) ต่อมามีคนพื้นราบขึ้นไปปลูกข้าวโพดและเลี้ยงช้างในบริเวณนั้น มีการทำที่พักอาศัยเลี้ยงช้าง (ปาง) เขาเลยเรียกพื้นที่ตรงนี้ว่า ปางปอป (พื้นที่เลี้ยงช้างที่มีต้นปอปขึ้นอยู่จำนวนมาก)  


ชุมชนวัฒนธรรมดั้งเดิม ทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ ประชาอยู่ดี กินดี

น้ำยวนพัฒนา
หมู่ที่ 19
ร่มเย็น
เชียงคำ
พะเยา
56110
19.5036057943545
100.453108996153
องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น

ในปี พ.ศ. 2500 ครอบครัวนายจันก๋วย แซ่ลิ้ว ได้เดินทางพาครอบครัวมาอาศัยอยู่เป็นครอบครัวแรก โดยย้ายมาจากบ้านต้นผึ้ง ต่อมามีชาวบ้านจากห้วยเคียนย้ายลงมาสมทบ ขณะนั้นมีประชากรประมาณ 40-50 คน

ทางการประกาศให้ขึ้นเป็นบ้านบริวารของบ้านปางถ้ำ หมู่ที่ 9 เป็นบ้านคนพื้นราบ คนไทยลื้อ อยู่ห่างจากบ้านปางปอป 4 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2540 ผู้ใหญ่บ้านบ้านปางถ้ำหมดวาระอายุครบ 60 ปี ทางหมู่บ้านเมี่ยนปางปอปจึงส่งนายเลาต๋า แซ่จ๋าว ลงสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านและชนะการเลือกตั้ง

เนื่องจากประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อและวิถีชีวิตไม่เหมือนกัน ทางบ้านปางปอปจึงทำเรื่องขอแยกหมู่บ้านใหม่ เป็นหมู่ที่ 19 เมื่อผู้ใหญ่บ้านคนเก่าหมดวาระลงในปี พ.ศ. 2545 ก็มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านใหม่ โดยนางอรพรรณ ศิริธนากร ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน และได้ทำเรื่องขอเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านจากบ้านปางปอปเป็นบ้านน้ำยวนพัฒนาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

หมู่บ้านมีทั้งหมดประมาณ 2,000 ไร่ เป็นที่ทำกิน 500 ไร่ พื้นที่ป่าประมาณ 1,500 ไร่ หมู่บ้านน้ำยวนพัฒนาเป็นหมู่บ้านขนาดกลาง ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานและเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีภูเขาล้อมรอบ มีที่ดินและแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ แม่น้ำยวนใสสะอาด ชาวบ้านใช้บริโภคและอุปโภค (ทำประปาภูเขา) หน้าแล้งเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวทั้งใกล้และไกลมาเล่นน้ำในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมทุกปี

ปัจจุบันน้ำยวนพัฒนา ประกอบด้วย 90 หลังคาเรือน ประชากร จำนวน 394 คน แยกเป็นชาย 198 คน หญิง 197 คน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยน

อิ้วเมี่ยน

ในชุมชนมีกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเลี้ยงวัว กลุ่มทำไม้กวาด กลุ่มสตรีปักผ้า กองทุนเงินล้าน ฯลฯ ชาวบ้านมีอาชีพหลักทำการเกษตร (ปลูกข้าวไร่ ปลูกยางพารา ปลูกลำไย และมะม่วง) ชาวบ้านบางส่วนมีรายได้เสริมจากการเก็บหาของป่าไปชาย เช่น เห็ด หน่อไม้ มีการจับปลาเพื่อบริโภคในครัวเรือน บางคนออกไปรับจ้างข้างนอกทั้งในและต่างประเทศ

บ้านน้ำยวนพัฒนาส่วนใหญ่นับถือบรรพบุรุษ มีการทำพิธีเซ่นไหว้ตามความเชื่อ นอกจากนี้ก็มีพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และมีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันเนื่องจากชุมชนมีการปฏิสัมพันธ์กับสังคมภายนอก ทำให้มีการรับเอาวัฒนธรรมจากข้างนอกมาปฏิบัติด้วย เช่น การแต่งงาน งานบวช งานศพ พิธีบวชป่า สู่ขวัญ ส่งเคราะห์ เป็นต้น

พิธีกรรมและความเชื่อที่สำคัญ

  • กี่งบะอง (กรรมผีฟ้า)
  • กี่งดะม่าว (กรรมเสือ)
  • กี่งหย๋าว (กรรมลม)
  • กี่งเหนาะ (กรรมนก)

วัฒนธรรมการแต่งกาย

ผู้ชายสวมเสื้อคล้าย ๆ คอจีน ติดด้วยกระดุมเงิน ตัวเสื้อมีลายปักเล็กน้อย ชุดผู้หญิงจะมีผ้าพันหัวสีดำยาวประมาณ 3 เมตร ปลายผ้าจะมีการปักด้วยลวดลายที่สวยงาม ตัวเสื้อจะเป็นเสื้อแขนยาว ชายเสื้อยาวถึงตาตุ่ม รอบ ๆ คอเสื้อจะประดับด้วยไหมพรมสีแดงเป็นพวงยาว มีเอกลักษณ์เฉพาะ กางเกงจะปักด้วยลายปัก 2 ข้าง อย่างประณีต นอกจากนี้จะมีผ้าพันเอวยาว 2-3 เมตร ปลายผ้าปักด้วยลวดลาย และมีสไบคล้องไหล่ปักลายสวยงาม ถ้าแต่งตัวเต็มรูปแบบ จะมีเครื่องเงินประดับด้วยทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เช่น ตุ้มหู กำไล แหวน

ผู้นำที่สำคัญในชุมชน

  • ปี พ.ศ. 2540-2545 นายเลาต๋า แซ่จ๋าว ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 1
  • ปี พ.ศ. 2545-2550 นางอรพรรณ ศิริธนากร ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2
  • ปี พ.ศ. 2550-2555 นายอนุกุล จ๋าวจิรัฐสกุล ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3
  • ปี พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน นายเจี้ยวโฟ่ง เต็มสิริมงคล ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 4

ปราชญ์ชุมชน

  • นายเลาสาน เรืองสกุลชาติ
  • นายสุเทพ แซ่เต็ม
  • นายสาร แซ่พ่าน

ช่างตีเหล็ก

  • นายเลาสู แซ่จ๋าว
  • นายสุรศักดิ์ พัฒนชนชาติคีรี

หมอยาสมุนไพร

  • นางเหมย แซ่เต็ม

หมอปี่

  • นายเลาสาน เรี่ยวสกุลชาติ

ทุนมนุษย์

  • ในชุมชนยังมีผู้รู้ ผู้ประกอบพิธีกรรม หมอปี่ หมอยาสมุนไพร และมีการปฏิบัติอยู่

ทุนวัฒนธรรม

  • การปักผ้าลวดลายต่าง ๆ นอกจากใช้ทำเสื้อผ้าแบบดั้งเดิมแล้ว ยังสามารถใช้ประยุกต์ประดับเสื้อผ้าในรูปแบบใหม่ ๆ ได้ 

ทุนกายภาพ

  • ชุมชนมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวในช่วงฤดูแล้ง 

ในชุมชนใช้ภาษาเมี่ยน ภาษาล้านนาและภาษาไทยในการสื่อสาร และมีการใช้อักษรจีนบันทึกวันเดือนปีเกิดของเด็ก และรายชื่อบรรพบุรุษ มีตำราสำหรับใช้ประกอบพิธีกรรม และตำราบทสวด

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยน ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

อบต.ร่มเย็น โทร. 0-5445-2776