Advance search

หมู่บ้านชาวชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยน จุดชมวิวภูผาแดง ป่าต้นน้ำแม่ใจ ไร่กาแฟพืชเศรษฐกิจ

หมู่ที่ 10
ผาแดง
ศรีถ้อย
แม่ใจ
พะเยา
ทต.ศรีถ้อย โทร. 0-5449-9679
รัฐศาสตร์ สันติโชคไพบูลย์
30 ต.ค. 2023
รัฐศาสตร์ สันติโชคไพบูลย์
30 ต.ค. 2023
ปริญญ์ รุจิรัชกุล
9 ก.ค. 2024
บ้านผาแดง

ด้านหลังหมู่บ้านมีหน้าผาหินขนาดใหญ่ เวลากลางวันแดดส่องกระทบจะมีสีแดง จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน “ผาแดง”


หมู่บ้านชาวชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยน จุดชมวิวภูผาแดง ป่าต้นน้ำแม่ใจ ไร่กาแฟพืชเศรษฐกิจ

ผาแดง
หมู่ที่ 10
ศรีถ้อย
แม่ใจ
พะเยา
56130
19.3822561033199
99.7018396854401
เทศบาลตำบลศรีถ้อย

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500 มีครอบครัวชาวอิ้วเมี่ยน ประมาณ 4 ครอบครัว นำโดย นายอ้งเหยี่ยน แซ่เติ๋น ได้อพยพมาจากจังหวัดน่าน เข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณต้นน้ำห้วยป่ากล้วย เพื่อหาพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ (ฝิ่น)

ต่อมามีผู้คนอพยพเข้ามาอาศัยในบริเวณเดียวกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากที่ต่าง ๆ เช่น บ้านห้วยฮ่อม จังหวัดลำปาง บ้านห้วยป่าลันจังหวัดเชียงราย บ้านคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ชาวบ้านที่เข้ามาส่วนใหญ่ทำการเกษตร ปลูกฝิ่น ปลูกข้าว ปลูกข้าวโพดและเลี้ยงสัตว์

ต่อมาได้มีหน่วยงานสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ในขณะนั้น ร่วมกับโครงการ ไทย-นอรเวย์ ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาพัฒนาหมู่บ้าน ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชเมืองหนาวทดแทนการปลูกฝิ่น เช่น กาแฟ ลิ่นจี่ ส้มโอ ท้อ สาลี บ๊วย ถั่วแดง ถั่งแขก เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2510 ทางการได้ประกาศจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านผาแดงอย่างเป็นทางการ มีเขตปกครอง 2 หย่อมบ้าน คือ บ้านผาแดงและบ้านปางปูเลาะ

ในปี พ.ศ. 2533 ได้มีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ซึ่งทับพื้นที่ทำกิน และที่อยู่อาศัยของหมู่บ้านทั้งหมด

หมู่บ้าน "ผาแดง" เป็นเป็นหมู่บ้านชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยน ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา อยู่บริเวณสันเขาดอยหลวง (อุทยานแห่งชาติดอยหลวง) ทางทิศตะวันตกของอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ภายในชุมชนไม่มีสถานศึกษา และไม่มีไฟฟ้าใช้

พื้นที่ในชุมชน แบ่งเป็น พื้นที่อยู่อาศัย 140 ไร่ พื้นที่ทำเกษตร 1750 ไร่

ป่าชุมชน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ป่าใช้สอย ป่าพิธีกรรม และป่าต้นน้ำ รวม 900 ไร่

แหล่งน้ำสาธารณะ จำนวน 1 แห่ง

ประปาภูเขา จำนวน 2 แห่ง

อาคารเอนกประสงค์ จำนวน 2 แห่ง

จำนวนครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริง จำนวน 49 ครัวเรือน จำนวนประชากร 238 คน แบ่งเป็น ชาย 136 คน หญิง 102 คน

อาชีพหลัก

  • เกษตรกร จำนวน 20 ครัวเรือน
  • ค้าขาย จำนวน 15 ครัวเรือน
  • อื่น ๆ จำนวน 6 ครัวเรือน

อาชีพเสริม

  • ปักผ้าชนเผ่า จำนวน 35 ครัวเรือน
  • จักรสานเครื่องใช้ จำนวน 12 ครัวเรือน
  • กลุ่มแปรรูปกาแฟสด จำนวน 15 ครัวเรือน

รายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย จำนวน 80,000 บาท/ครัวเรือน/ปี

รายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย จำนวน 150,000 บาท/ครัวเรือน/ปี

ภายในชุมชนบ้านผาแดง ประกอบด้วยองค์กรชุมชนทั้งในรูปแบบกองทุน กลุ่มอนุรักษ์ และกลุ่มอาชีพ ดังนี้ (ปีที่ก่อตั้ง)

  • กองทุนหมู่บ้าน (2540)
  • กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน หรือ ก.ข.ค.จ. (2535)
  • กลุ่มสตรีบ้านผาแดง (2550)
  • กลุ่มแปรรูปกาแฟสด (2550)
  • กลุ่มอนุรักษ์ พิทักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านผาแดง (2556)
  • กลุ่มแปรรูปหน่อไม้ดอง (2556)
  • กลุ่มผ้าปักชนเผ่า (2556)
  • กลุ่มโรงสีข้าว/กาแฟ (2520)
  • กลุ่มสมุนไพรพื้นบ้าน (2552)
  • กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อ.ส.ม. (2528)
  • กองทุนส่งเสริมสวัสดิการบนพื้นที่สูง หรือ ศสส (2559)

ปฏิทินพิธีกรรม

  • เทศกาลตรุษจีน เดือนกุมภาพันธ์
  • ประเพณีสืบชะตาหมู่บ้าน เดือนเมษายน
  • วันเซ่งเม้ง (เชงเม้ง) เดือนเมษายน
  • เทศกาลสาร์ทจีน เดือนสิงหาคม
  • ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ เดือนกันยายน

ปฏิทินฤดูกาล

เดือน เรื่อง สภาพที่เกิด/ผลกระทบ
มกราคม สภาพอากาศหนาวจัด สุขภาพของคนในชุมชน
กุมภาพันธ์ สภาพอากาศหนาวจัด สุขภาพของคนในชุมชน
มีนาคม หมอกควันไฟป่า สุขภาพของคนในชุมชน
เมษายน พายุลูกเห็บ พืชไร่/สวนและบ้านเรือนเสียหาย
พฤษภาคม พายุฤดูร้อน บ้านเรือนและต้นลิ้นจี่และกาแฟเสียหาย
มิถุนายน โรคหนอนเจาะต้นกาแฟ ต้นกาแฟล้ม หัก เสียหาย
กันยายน ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ทำให้ดินไสล น้ำป่าไหลหลาก ฝนตกหนักทำให้ผิวดินและร่องน้ำที่ยังไม่ได้พัฒนาให้เป็นคอนกรีต เกิดร่องลึกและน้ำไหลไม่มีทิศทาง
พฤศจิกายน เริ่มเข้าสู่ช่วงภัยหนาว ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ผลกระทบด้านสุขภาพของเด็กและผู้สูงอายุ

 

ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร

  • นายยุ่นเฟย แซ่จ๋าว ด้านนักเกษตรพื้นที่สูง
  • นายฟุฮิน แซ่เติ๋น ด้านนักเกษตรพื้นที่สูง

ปราชญ์ชาวบ้านด้านหมอพื้นบ้าน

  • นายนายฟุฮิ้น แซ่เติ๋น ด้านสมุนไพรพื้นบ้าน
  • นายฟุเม่ง แซ่เติ๋น ด้านยาสมุนไพรบำรุงกำลัง
  • นางเจียวเวิ่น แซ่เติ๋น ด้านสมุนไพรพื้นบ้าน

ปราชญ์ชาวบ้านด้านศิลปวัฒนธรรม

  • นายไชยศักดิ์ พ่านพัฒนะสกุล ด้านดนตรี
  • นางสาวเฝยชง แซ่ฟุ้ง ด้านการแสดงพื้นบ้าน

ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม

  • นายนิคม พิเชษฐเกียติสกุล ด้านการจักสาน
  • นางดวงเดือน พิเชษฐเกียติสกุล ด้านผ้าปักพื้นบ้าน
  • นางหมวงออน แซ่เติ๋น ด้านผ้าปักพื้นบ้าน

ทุนมนุษย์

  • ชุมชนมีการจัดตั้งองค์กรภายในที่หลากหลาย ทั้งกองทุน กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ กลุ่มอาชีพ ต่าง ๆ ร่วมกับปราชญ์ชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญในภูมิปัญญาของชาติพันธุ์ ทั้งด้านศิลปะวัฒนธรรม ด้านอาหาร ด้านการเกษตร เป็นต้น

ทุนกายภาพ 

  • บ้านผาแดงมีแหล่งน้ำจากประปาภูเขา ร่วมกับป่าต้นน้ำที่เป็นแหล่งน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ มีการแบ่งพื้นที่ของป่าที่ชัดเจน เป็นป่าพิธีกรรม ป่าอนุรักษ์ และป่าต้นน้ำ นอกจากนี้ยังมีภูผาแดงที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน
  • มีการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญต่อการสร้างรายได้ให้กับชุมชน คือ กาแฟ

ทุนวัฒนธรรม

  • คนในชุมชนมีการดำเนินวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ทำและใช้เครื่องจักสานของชนเผ่า ทำการเกษตรพื้นที่สูงตามวิถีแบบอิ้วเมี่ยน มีภูมิปัญญาด้านยาสมุนไพร และยังมีการทำพิธีกรรมตามวิถีชาวอิ้วเมี่ยนดั้งเดิม

ในชุมชนใช้ภาษาเมี่ยน ภาษาล้านนาและภาษาไทยในการสื่อสาร


ที่ดินในชุมชนบ้านผาแดงซ้อนทับกับเขตอุทยานแห่งชาติที่ประกาศในช่วงปี พ.ศ. 2533 ทำให้ที่ดินทั้งหมดไม่มีเอกสารสิทธิ์ ทั้ง ๆ ที่ชาวอิ้วเมี่ยนตั้งรกรากในพื้นที่ดังกล่าวมานานแล้ว


ผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นรายได้หลักของชาวบ้านผาแดงนั้นมีราคาที่ไม่แน่นอน รวมถึงไม่มีการกำกับดูแลในเรื่องราคาจากหน่วยงานใด ๆ 


ปัจจุบัน บ้านผาแดงไม่มีผู้แทนในสมาชิกสภาท้องถิ่น จึงไม่มีผู้นำเสนอความสำคัญและปัญหาของชุมชนเพื่อรับการช่วยเหลือหรือเพื่อการพัฒนา


บ้านผาแดงไม่มีไฟฟ้าใช้ทั้งหมู่บ้าน และถนนเข้าถึงหมู่บ้านยังไม่ได้รับการพัฒนา


เจ้าหน้าที่ด้านการสาธารณสุขมีจำนวนน้อย อาจเข้าถึงชาวอิ้วเมี่ยนได้อย่างไม่ทั่วถึง รวมถึงชาวบ้านเองที่ไม่ค่อยตระหนักถึงโรคภัยที่จะเกิดขึ้น


ในทุก ๆ ปี บริเวณหมู่บ้านจะเกิดไฟป่า จึงต้องมีการสร้างแนวกันไฟป่ารอบ ๆ หมู่บ้าน


อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยน ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ทต.ศรีถ้อย โทร. 0-5449-9679