Advance search

บ้านวังดิน

ชาวไตหย่าชุมชนบ้านไร่ เริ่มแรกเป็นกลุ่มญาติพี่น้องที่อพยพมาจากหมู่บ้านป่าสักขวาง บ้านน้ำบ่อขาว ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งมี คริสตจักรวังธรรม เป็นศูนย์รวมของชุมชนและชาวไตหย่า

หมู่ 19 ถนนบ้านไร่
บ้านไร่
รอบเวียง
เมืองเชียงราย
เชียงราย
ทน.เชียงราย โทร. 0-5371-1333
อาสกรณ์ นาปัง
8 ต.ค. 2023
ศิวกร สุปรียสุนทร
9 ก.ค. 2024
บ้านไร่
บ้านวังดิน

ในอดีตมีหนองน้ำขนาดใหญ่อยู่บริเวณทางทิตตะวันออกของหมู่บ้านชื่อหนองน้ำวังดิน และบริเวณรอบ ๆ หนองน้ำชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนาเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น หมู่บ้านไร่ หรือชุมชนบ้านไร่ในภายหลัง เพราะหนองน้ำได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็น บ่อบำบัดน้ำเสีย ของเทศบาลนครเชียงราย


ชาวไตหย่าชุมชนบ้านไร่ เริ่มแรกเป็นกลุ่มญาติพี่น้องที่อพยพมาจากหมู่บ้านป่าสักขวาง บ้านน้ำบ่อขาว ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งมี คริสตจักรวังธรรม เป็นศูนย์รวมของชุมชนและชาวไตหย่า

บ้านไร่
หมู่ 19 ถนนบ้านไร่
รอบเวียง
เมืองเชียงราย
เชียงราย
57000
19.91360778596231
99.84992578625679
เทศบาลนครเชียงราย

ชาวไตหย่าของหมู่บ้านไร่ เริ่มแรกนั้นเป็นกลุ่มญาติพี่น้องที่อพยพมาจากหมู่บ้านป่าสักขวาง บ้านน้ำบ่อขาว เข้ามาอาศัยในตัวเมืองเชียงรายช่วงแรกที่บริเวณบ้านเด่นห้า แถว ๆ ประตูเชียงใหม่ ที่เรียกว่า บ้านพักฟื้น (ชุมชนบ้านพักนายสิบ ค่ายทหารบก จ.เชียงราย ในปัจจุบัน) ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2506 ทางราชการได้เวนคืนที่ดิน เพื่อทำเป็นบ้านพักของทหาร ชาวไตหย่าหลาย ๆ คนจึงได้กระจัดกระจายไปอาศัยในที่ต่าง ๆ และอพยพย้ายมาอาศัยในชุมชนบ้านวังดิน ประมาณ 8-10 ครอบครัว และส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ เป็นสมาชิกของคริสตจักรที่ 1 เวียงเชียงราย และถูกจัดให้เป็น 1 ใน 5 หมวด (คริสตจักรลูก) ของคริสตจักร มีการนมัสการพระเจ้าตามบ้านของสมาชิกในทุก ๆ บ่าย ของวันอาทิตย์ เริ่มแรกใช้ชื่อว่า หมวดวังดิน เปลี่ยนมาเป็น ศาลาธรรมวังดิน และเติบโตเพิ่มพูนสมาชิกจนกลายเป็น คริสตจักรวังธรรม ในปี พ.ศ. 2535 มาจนถึงในปัจจุบัน 

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดกับ ชุมชนกกโท้ง (หมู่บ้านของชาวอิสลามเป็นส่วนใหญ่)
  • ทิศใต้ ติดกับ หมู่บ้านเกาะ
  • ทิศตะวันออก ติดกับ หนองน้ำวังดิน ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นบ่อบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครเชียงราย และสนามกีฬากลางประจำจังหวัดเชียงราย
  • ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่บ้านรั้วเหล็ก

ครอบครัวกลุ่มแรก (ประมาณปี พ.ศ. 2506-2507)

1.นายซาน-นางกอง นาวิน บุตรคือ ผป.สุรสิทธิ์ นาวิน

2.นายกิ้น-นางศรีวัย ไชยวงศ์ บุตรคือ ผป.อำไพ ไชยวงศ์

3.นายสาม-นางไอ่ สามแก้ว บุตรคือ ผป.สมชาย สามแก้ว

4.นายอ้าย-นางอี แซ่ลี (ธรณีอักษร) บุตรคือ นางจันทนา แซ่ลี นางมาลี ธรณีอักษร

5.นายปาน-นางนาง ปันแก้ว บุตรคือ นายอำนวย ปันแก้ว

6.นายศรี-นางเฟย เจริญพร บุตรคือ ผป.ละอาด เจริญพร

7.นางแหลว เจริญพร บุตร คือ ผป.สุรชัย นาปัง, นายจรัส เจริญพร

8.นายยี่-นางอี เป็งซิ บุตร คือ ผป.อารมณ์ บรมพิชัยชาติกุล

9.นางกอง เจริญพร บุตร คือ ผป.อำไพ สามแก้ว

10.นายแก้ว-ภรรยาเป็นเผ่าเย้า ย้ายไปอยู่บนภูเขา ไม่มีข้อมูลเพิ่ม

ไตหย่า, ไทยวน, ลาหู่, อ่าข่า, อิ้วเมี่ยน

อดีตชาวบ้านในชุมชนบ้านไร่มีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร ทำนา ทำสวน และค้าขาย ในปัจจุบันกลายเป็นชุมชนเมือง ไม่มีการทำการเกษตรกรรมเหลืออยู่เลย และชาวไตหย่าในช่วงที่อพยพเข้ามาเริ่มแรกนั้นก็ได้ประกอบอาชีพทำไร่ ทำสวน และรับจ้างทั่วไป ปัจจุบันลูกหลานได้ประกอบกิจการส่วนตัว ค้าขาย รับจ้าง และข้าราชการ ฯลฯ

ปฏิทินชุมชนกิจกรรมต่าง ๆ จัดตามวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภาษาไตหย่ามีแต่ภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน ทำให้เป็นอุปสรรคในการการถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่เนื่องจากมีการใช้ภาษาพื้นเมืองและภาษาไทยกลางเป็นภาษาสื่อสารกันเป็นส่วนใหญ่


ปัจจุบันชาวไตหย่า ได้แต่งงานข้ามชาติพันธุ์ กับกลุ่มอื่น ๆ และมีการสืบทอดภาษา วัฒนธรรมน้อยมากคนรุ่นใหม่ไม่สามารถพูดภาษาของพ่อแม่ บรรพบุรุษได้ สิ่งเหล่านี้กำลังจะถูกลดทอนความสำคัญลงในยุคสมัยปัจจุบันนี้

ชาติพันธุ์ไตหย่าแม้จะมีจำนวนประชากรไม่มาก และแยกย้ายไปอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ แต่ด้านความสัมพันธ์ยังคงเหนียวแน่น มีการไปมาหาสู่กันโดยเฉพาะเมื่อมีกิจกรรมประเพณีประจำปี เช่น วันถวายขอบพระคุณพระเจ้า ก็จะมาร่วมกันเฉลิมฉลอง หรือเมื่อมีผู้เสียชีวิต ก็จะมาร่วมกันแสดงความไว้อาลัย และแสดงอัตลักษณ์ความเป็นไตหย่า ตามมติของชมรมไตหย่าคือ หากผู้ที่เป็นไตหย่าอายุ 70 ปีขึ้นไปเสียชีวิต ในคืนไว้อาลัยคืนสุดท้ายจะมีการแต่งกายชุดไตหย่ามาร่วมให้เกียรติแก่ผู้วายชนม์ด้วย อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์กับญาติที่อยู่ในประเทศจีน มีการไปเยือนแผ่นดินบรรพบุรุษที่เมืองหย่า และติดต่อกับพี่น้องที่เมืองหย่า ต้อนรับพี่น้องจากเมืองหย่าที่มาเยือนด้วย

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ไตหย่า ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

กาญจนา เงารังษี. (2526). ภาษาในบทประพันธ์ของชาวไตหย่า. เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องวัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติความเชื่อศิลปกรรมและภาษา. กรุงเทพมหานคร : โครงการไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงนุช จันทราภัย. (2524). สังคมและวัฒนธรรมไตหย่า : การศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. เชียงใหม่ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2547). 30 ชาติในเชียงราย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ศยาม

พิษณุ อรรฆภิญญ์. (2546). กิตติคุณถึงคนไทยที่เมืองหย่า. มปพ.

ยิ่งยง เทาประเสริฐ (บ.ก.). (2542). ภูมิปัญญาล้านนาในมิติวัฒนธรรม. เชียงใหม่ : คณะอนุกรรมการวิจัยภาคเหนือ, 2542.

รุจพร ประชาเดชสุวัฒน์ และ จินตนา มัธยมบุรุษ. (2541). วิถีชีวิตชาวไตหย่า : ศึกษากรณีซินผิง และหยวนเจียงมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาธิปไตยประชาชนจีนกรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

รุจพร ประชาเดชสุวัฒน์ และ ราญ ฤนาท. (2532). อิทธิพลของศาสนาคริสต์ที่มีต่อชาวไตหย่าในจังหวัดเชียงราย. รายงานวิจัยฉบับที่ 104. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยพายัพ.

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2534). ภาษาไตหย่า. กรุงเทพมหานคร :  โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นงนุช ยงษ์ยุติ, สัมภาษณ์, 2 ตุลาคม 2566.

วินัย จิตวรางคณา, สัมภาษณ์, 8 ตุลาคม 2566.

คำป้อ นาปัง, สัมภาษณ์, 8 ตุลาคม 2566.

สุแก้ว นาวิน, สัมภาษณ์, 8 ตุลาคม 2566.

ทน.เชียงราย โทร. 0-5371-1333