บ้านปุยคำตั้งอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อหลายแห่งเช่น วัดร่องขุ่น สิงห์ปาร์คและใกล้ตัวเมืองของจังหวัดเชียงราย ภายในหมู่บ้านมีวัดวาอารามที่ร่มรื่นและโบสถ์คริสต์มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในหนึ่งชุมชนมีพระธาตุวัดปุยคำที่สวยเด่น
ชาวบีซูบ้านปุยคำได้ใช้ชื่อต้นไม้ คือ ต้นปุย กับชื่อของผู้ใหญ่บ้านที่มีชื่อว่า คำ นั้นมารวมเป็น ปุยคำ ตั้งแต่นั้นมาชาวบีซูจึง เรียกหมู่บ้านปุยคำ วัดปุยคำ นามสกุล ปุยคำ
บ้านปุยคำตั้งอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อหลายแห่งเช่น วัดร่องขุ่น สิงห์ปาร์คและใกล้ตัวเมืองของจังหวัดเชียงราย ภายในหมู่บ้านมีวัดวาอารามที่ร่มรื่นและโบสถ์คริสต์มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในหนึ่งชุมชนมีพระธาตุวัดปุยคำที่สวยเด่น
หมู่บ้านปุยคำ เป็นชุมชนดั้งเดิมตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2442 หรือ 104 ปีที่แล้ว เป็นชนเผ่า บีซู หรือเรียกตาม ภาษาบ้านใกล้เคียงว่า ชนเผ่าลั๊วะ อพยพมาจากทางอำเภอพาน บ้านผาแดง โดยมีพ่อหลวงคำ พาลูกบ้านมาประมาณ 10 ครอบครัวอพยพมา
เดิมทีชาวบ้านบีซูยังไม่มีนามสกุล แต่บังเอิญเขตภายในหมู่บ้านมีต้นปุยอยู่ และมีผู้ใหญ่บ้านชื่อ คำ ชาวบีซูจึงใช้ชื่อต้นไม้ต้นปุย กับชื่อคำนั้นมารวมเป็น ปุยคำ ตั้งแต่นั้นมาชาวบีซูจึง เรียกหมู่บ้านปุยคำ วัดปุยคำ นามสกุลปุยคำ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ จึงเป็นชื่อของหมู่บ้าน และต้นตระกูลปุยคำ
ลักษณะทางกายภาพของที่ตั้งหมู่บ้านเป็นพื้นที่ราบ สภาพภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น
อาณาเขต
- ทิศตะวันออก ติดกับ เทือกเขาดอยปุย
- ทิศตะวันตก ติดกับ พื้นที่ทางการเกษตร
- ทิศเหนือ ติดกับ ชุมชนไทยวน
- ทิศใต้ ติดกับ เขตพื้นที่ทำกินและป่าไม้
1.นายสุขคำ ปุยคำ
เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2506 อาศัยอยู่ ม.14 ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย
ท่านเป็นบุคคลหนึ่งที่มีใจในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมของชนเผ่าของตนเอง อีกทั้งยังมีความรอบรู้ชำนาญในเรื่องราวประวัติชนเผ่าบีซูเป็นอย่างดี ตลอดจนมีความรอบรู้ในด้านพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่สามารถประกอบพิธี สะเดาะเคราะห์ ทำเทียนมงคล พิธีสู่ขวัญ ตลอดเวลาที่ผ่านมาได้ทำหน้าที่ และการงานต่าง ๆ ในครอบครัวและหมู่บ้านมาด้วยดีซึ่งประวัติที่ผ่านมาตั้งแต่เล็กจนโตนั้น นายสุขคำ ปุยคำ ได้ศึกษาเล่าเรียนจนจบชั้นมัธยมปลาย และได้บรรพชาเป็นสามเณร และอุปสมบทเป็นพระต่อ จากนั้นก็ได้ลาบวชมาใช้ชีวิตตามปกติแบบชาวบ้านทั่วไป ทำงานสร้างตัวเลี้ยงชีพ ต่อมาก็ได้แต่งงานสร้างครอบครัวพร้อมกับมีบ้านใหม่เป็นของตนเอง จากนั้นก็หาช่องทางการทำงานโดยการออกไปทำงานที่ต่างจังหวัด และกรุงเทพ ฯ เป็นพนักงานบรรจุสินค้า โดยใช้เวลาในการทำงานได้ 5 ปี ก็เห็นว่าควรจะกลับบ้านเพื่อมาอยู่กับครอบครัว จนกระทั่งเมื่อกลับมาอยู่ที่บ้านได้หลายปีก็ได้รับหน้าที่ในการเป็นมัคนายก และเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณในหมู่บ้านปุยคำ
2.นายสมพิศ ศิริเต็มวงค์
เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2503 อาศัยอยู่ ม.14 ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย
ท่านเป็นบุคคลหนึ่งที่มีใจในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมของชนเผ่าของตนเองอีกทั้งยังมีความรอบรู้ชำนาญในเรื่องราวประวัติชนเผ่าบีซูเป็นอย่างดี ตลอดจนมีความรอบรู้ในด้านภูมิปัญญาการทำน้ำมันงา ตลอดเวลาที่ผ่านมาได้ทำหน้าที่และการงานต่าง ๆ ในครอบครัวและหมู่บ้านมาด้วยดีซึ่งประวัติที่ผ่านมาตั้งแต่เล็กจนโตนั้น นายสมพิศ ศิริเต็มมวงค์ ได้ศึกษาเล่าเรียนจนจบชั้นประถมปีที่ 4 และได้บรรพชาเป็นสามเณรจนจบนักธรรมตรี ต่อจากนั้นก็ได้ลาบวชมาใช้ชีวิตตามปกติแบบชาวบ้านทั่วไป ทำงานสร้างตัวเลี้ยงชีพ ต่อมาก็ได้แต่งงานสร้างครอบครัวพร้อมกับมีบ้านใหม่เป็นของตนเอง ได้รับหน้าที่เป็นกรรมการวัด ผู้ทรงคุณวุติประจำหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านปุยคำ
ทุนกายภาพ
หมู่บ้านบีซูปุยคำนั้นมีภูเขาป่าไม้ที่ยังอุดมสมบูรณ์แบบป่าไม้เตงรังในเขตพื้นที่ป่าของหมู่บ้านมีแม่น้ำโป่งแดง และห้วยปูที่ไหลมาจากต้นหล่อเลี้ยงชาวบ้านบีซู และละแวกใกล้เคียง มีการปลูกพืชผักสวนครัวต่าง ๆ พันธุ์ไม้ผลต่าง ๆ และยังมีการเลี้ยงไก่บ้านเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
ชาวบีซูมีภาษาพูดเป็นของตนเองที่ใช้พูดคุยสื่อสารกันในกลุ่มมาอย่างยาวนาน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาภาษาด้านการสะกดการเขียนอ่านที่ผ่านมารตฐานจากราชบัณฑิตยสภา โดยมีการใช้อักษรไทยในการเขียน
ประชากรของชาวบีซูนั้นค่อนข้างจะขยายเติบโตช้า ด้วยเหตุที่ว่าไม่ค่อยมีการแต่งงานกันในกลุ่มชนเดียวกันมักจะแต่งงานกับคนภายนอก และไปอยู่ที่อื่นซึ่งอาจมีผลต่อจำนวนประชากรที่เหมาะสมในอนาคต
ความสัมพันธ์ของชาวบีซูในชุมชนนั้นได้ลดลงเรื่อย ๆ ตามกาลเวลาเพราะขาดการปลูกฝังจากพ่อแม่ที่จะสร้างความสัมพันธ์ต่อกันในชุมชนเนื่องจากไม่มีเวลาจากการทำงานอีกทั้งความสามัคคีในชุมชนที่ลดน้อยลงแบ่งฝ่ายพรรคพวกกัน สาเหตุมาจากความขัดแย้งกันของตระกูลต่าง ๆ ที่ต้องแข่งขันกันทีจะเลือกคนของตระกูลตัวเองมาเป็นตัวแทนของหมู่
ด้านสิทธิพลเมืองและสถานะบุคคลนั้นมีการได้รับสิทธิอย่างทั่วถึงตามปกติระบบสาธารณูปโภคก็อยู่ในระดับที่พอใช้ มีระบบประปาที่ผ่านการกรองโดยการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและมีการเข้าถึงทางด้านการศึกษาอย่างทั่วถึง
พื้นที่ทำกินพื้นที่ทำประโยชน์นั้นชาวบีซูยังมีปัญหาทางด้านกรรมสิทธิ์ที่ไม่ได้ครอบครองเป็นของตนเองมีส่วนน้อยที่มีโฉนดที่ดินที่ถูกต้อง
ชาวบีซูในปัจจุบันนี้มีการวิ่งตามระบบเศรษฐกิจภายนอกและแข่งขันกันในด้านเศรษฐกิจอย่างมากเพราะต้อนดิ้นรนทำมาหากินหาเงินเพื่อปากท้องและครอบครัวจนก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ครอบครัวไม่มีเวลาให้ต่อกันต่างคนต่างทำหน้าที่จนระบบครอบครัวอ่อนแอสุขภาพร่างกายย่ำแย่จากการทำงานหนักไม่มีการพักผ่อนที่เหมาะสมและร่างกายได้รับสารพิษจากสารเคมีทางการเกษตรต่าง ๆ แม้ว่าการเข้าถึงระบบสาธารณสุขตามสถานีอนามัยและโรงพยาบาลของชาวบีซูนั้นจะสะดวกก็ตาม อีกทั้งในสังคมบีซูบางส่วนนั้นมีปัญหาทางด้านสุขภาพหลายอย่าง เช่น ผู้ป่วยเรื้อรังเบาหวานความดัน ผู้ติดสุราและอื่น ๆ
ปัญหาการติดโทรศัพท์มือถือ และการติดเกมของวัยรุ่น ส่งผลให้การศึกษาที่ได้รับมีประสิทธิภาพที่ไม่ดีพอ
คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจวัฒนธรรมประเพณี
การจัดการระบบสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านได้ไม่ดีพอ เช่น การจัดการขยะในครัวเรือนต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
แม่ปืม
พื้นที่ ส.ป.ก.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์บีซู ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.