Advance search

ผาแดง, ผาจ้อ

ผาแดงโดดเด่น ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ลำธารไหลหล่อเลี้ยงชาวบีซู

หมู่ที่ 14
บ้านถ้ำ
สันกลาง
พาน
เชียงราย
อบต.สันกลาง โทร. 0-5335-5313
ธันย์ติศักดิ์ กิจก้าวไกล
16 ก.ย. 2023
มงคล เรืองศิริวัฒน์
30 ก.ย. 2023
ปริญญ์ รุจิรัชกุล
10 ก.ค. 2024
บ้านผาแดง
ผาแดง, ผาจ้อ

บ้านผาแดงตั้งตามชื่อหน้าผาที่มีสภาพเป็นดินแดงโดดเด่นซึ่งเป็นเนินเขาจาก ยอดดอยหลวงในเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง


ผาแดงโดดเด่น ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ลำธารไหลหล่อเลี้ยงชาวบีซู

บ้านถ้ำ
หมู่ที่ 14
สันกลาง
พาน
เชียงราย
57000
19.611746749696987
99.68638562767072
องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง

หย่อมบ้านผาแดง เดิมเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ของชนเผ่าพื้นเมืองบีซู แต่ปัจจุบันมีหลงเหลืออยู่ในหย่อมบ้านเพียง 10 ครัวเรือน เนื่องจากบางส่วนได้มีการย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ครั้งมีการสัมปทานป่าไม้ในช่วงปี พ.ศ. 2500

บ้านผาแดงตั้งตามชื่อหน้าผาที่มีสภาพเป็นดินแดงโดดเด่นซึ่งเป็นเนินเขาจาก ยอดดอยหลวงในเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวงปัจจุบัน ผาแดงนี้จะอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านและห้วยผาแดงที่ไหลผ่าน

บ้านผาแดงเดิมเป็นหมู่บ้านใหญ่มีผู้ใหญ่บ้านปกครองถึง 4 คนต่อเนื่องกัน เริ่มจากผู้ใหญ่บ้าน คำมอญ ผู้ใหญ่บ้าน หนานจั่น ผู้ใหญ่บ้าน ศรีทับ ผู้ใหญ่บ้าน น้อยรูญ และสุดท้ายคือ ผู้ใหญ่บ้านหนานนวล (นนท์)

จากนั้นประชากรเริ่มลดลงเพราะย้ายถิ่นฐานกันออกไปจากหมู่บ้านไปรวมกันอยู่ที่หมู่บ้านดอยชมภูสมัยผู้ใหญ่บ้านอุ่นเฮือน จึงเหลือบีซูในหมู่บ้านผาแดงน้อยลงและได้ถูกทางการยุบรวมกับหมู่บ้านถ้ำซึ่งเป็นบิช่าม (คนเมือง) จึงอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ใหญ่บ้านคนเมืองนับตั้งแต่นั้นมา

ก่อนหน้าที่จะมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านผาแดงปัจจุบัน ชาวบีซูตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณทิศเหนือวัดผาแดง เรียกว่า "ท่าสะบันงา" มีภูมิประเทศขึ้นเนินเขาหลังวัดผาแดง และอยู่บริเวณริมห้วยสะบันงาซึ่งมีหนองถ้ำที่เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออก คาดว่าอยู่ในช่วงสมัยของรัชกาลที่ 3 สมัยนั้นมีผู้นำชื่อหนานเตจ๊ะ เป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ มีฐานะร่ำรวย บ้านปลูกสร้างด้วยเสาไม้ขนาดใหญ่หลายคนโอบ มีคาถาอาคมคุ้มครองชาวบีซูจากการถูกรังแกจากคนไทยวนได้ แต่ด้วยโรคระบาด (ฝีดาษ) และคาดว่าโดนไสยศาสตร์จากชาวไทยวนละแวกนั้น ทำให้หนานเตจ๊ะตายและสิ้นบารมี จึงทำให้บีซูอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตรงที่ปัจจุบัน

ชาวบีซูบ้านผาแดงมีตระกูลในหมู่บ้านได้แก่ ก่องกูบ ตองจีลีด ช่าล่า และล้างซ้าม ปัจจุบันบ้านผาแดงมีครัวเรือนอยู่ประมาณ 10 ครัวเรือน

ลักษณะทางกายภาพของที่ตั้งหมู่บ้านเป็นพื้นที่ราบ สภาพภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น

อาณาเขต

  • ทิศตะวันออก ติดกับ เทือกเขาปุย
  • ทิศตะวันตก ติดกับ พื้นที่ทางการเกษตร
  • ทิศเหนือ ติดกับ ชุมชนไทยวน
  • ทิศใต้ ติดกับ เขตพื้นที่ทำกินและป่าไม้
บีซู
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

นายมงคล เรืองศิริวัฒน์

เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2497 อาศัยอยู่ ม.10 ต.สันกลาง อ.แม่พาน จ.เชียงราย

ท่านเป็นบุคคลหนึ่งที่มีใจในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมของชนเผ่าของตนเอง อีกทั้งยังมีความรอบรู้ชำนาญในเรื่องราวประวัติชนเผ่าบีซูเป็นอย่างดี มีความรอบรู้เรื่องการแต่งกลอนและบทเพลงภาษาบีซู มีความสามารถในงานฝีมืองานไม้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตลอดจนมีความรอบรู้ในด้านพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่สามารถประกอบพิธี สะเดาะเคราะห์ ทำเทียนมงคล พิธีสู่ขวัญ ทำนายดวงชะตา ทำนายหาของที่สูญหาย

ตลอดเวลาที่ผ่านมาได้ทำหน้าที่และการงานต่าง ๆ ในครอบครัวและหมู่บ้านมาด้วยดี ซึ่งประวัติที่ผ่านมาตั้งแต่เล็กจนโตนั้น นายมงคล เรืองศิริวัฒน์ ได้บรรพชาเป็นสามเณรและอุปสมบทเป็นพระต่อจากนั้นก็ได้ลาบวชมาใช้ชีวิตตามปกติแบบชาวบ้านทั่วไป ทำงานสร้างตัวเลี้ยงชีพ

ต่อมาก็ได้แต่งงานสร้างครอบครัวพร้อมกับมีบ้านใหม่เป็นของตนเอง จากนั้นก็หาช่องทางการทำงานโดยการออกไปทำงานที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย โดยใช้เวลาในการทำงานได้หนึ่งปีก็เห็นว่าควรจะกลับบ้านเพื่อมาอยู่กับครอบครัวจนกระทั่งเมื่อกลับมาอยู่ที่บ้านได้หลายปี ก็ได้รับหน้าที่ในการเป็นมัคนายกและเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณในหมู่บ้านผาแดงจนถึงปัจจุบัน

Screenshot%202567-07-10%20at%202_56_27%E2%80%AFPM_668e40a8d7489.png

ทุนกายภาพ

หมู่บ้านบีซูผาแดงนั้นมีเทือกเขาดอยหลวงเป็นจุดเด่นภูเขาป่าไม้ที่ยังอุดมสมบูรณ์แบบป่าดิบชื้นมีลำธารที่ไหลมาจากเทือกเขาดอยหลวงหล่อเลี้ยงชาวบ้านบีซู และละแวกใกล้เคียงที่ลำธารไหลผ่าน มีการปลูกพืชผักสวนครัวต่าง ๆ พันธุ์ไม้ผลต่าง ๆ และยังมีการเลี้ยงไก่บ้านเพื่อการบริโภคในครัวเรือน

ชาวบีซูมีภาษาพูดเป็นของตนเองที่ใช้พูดคุยสื่อสารกันในกลุ่มมาอย่างยาวนาน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาภาษาด้านการสะกดการเขียนอ่านที่ผ่านมาตรฐานจากราชบัณฑิตยสภา โดยมีการใช้อักษรไทยในการเขียน


ต้องทำการปรับปรุงและแก้ไขระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะภายนอกโดยจะต้องให้ความรู้กับผู้คนในชุมชนเรื่องปัญหาการเมืองที่เข้ามาสู่ชุมชนที่มีนักการเมืองของพรรคต่าง ๆ ที่เข้ามาหาเสียงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพรรคสร้างความแตกแยกทางด้านความคิดทางการเมืองนำไปสู่ปัญหาความแตกแยกในชุมชน


ประชากรของชาวบีซูนั้นค่อนข้างจะขยายเติบโตช้า ด้วยเหตุที่ว่าไม่ค่อยมีการแต่งงานกันในกลุ่มชนเผ่าเดียวกันมักจะแต่งงานกับคนภายนอก และไปอยู่ที่อื่นซึ่งอาจมีผลต่อจำนวนประชากรที่เหมาะสมในอนาคต

ความสัมพันธ์ของชาวบีซูในชุมชนนั้นได้ลดลงเรื่อย ๆ ตามกาลเวลาเพราะขาดการปลูกฝังจากพ่อแม่ที่จะสร้างความสัมพันธ์ต่อกันในชุมชนเนื่องจากไม่มีเวลาจากการทำงานอีกทั้งความสามัคคีในชุมชนที่ลดน้อยลงแบ่งฝ่ายพรรคพวกกัน สาเหตุมาจากความขัดแย้งกันของตระกูลต่าง ๆ ที่ต้องแข่งขันกันทีจะเลือกคนของตระกูลตัวเองมาเป็นตัวแทนของหมู่


ด้านสิทธิพลเมืองและสถานะบุคคลนั้นมีการได้รับสิทธิอย่างทั่วถึงตามปกติระบบสาธารณูปโภคก็อยู่ในระดับที่พอใช้ มีระบบประปาที่ผ่านการกรองโดยการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและมีการเข้าถึงทางด้านการศึกษาอย่างทั่วถึง

พื้นที่ทำกินพื้นที่ทำประโยชน์นั้นชาวบีซูยังมีปัญหาทางด้านกรรมสิทธิ์ที่ไม่ได้ครอบครองเป็นของตนเอง มีส่วนน้อยที่มีโฉนดที่ดินที่ถูกต้อง


ชาวบีซูในปัจจุบันนี้มีการวิ่งตามระบบเศรษฐกิจภายนอกและแข่งขันกันในด้านเศรษฐกิจอย่างมากเพราะต้อนดิ้นรนทำมาหากินหาเงินเพื่อปากท้องและครอบครัวจนก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ครอบครัวไม่มีเวลาให้ต่อกัน ต่างคนต่างทำหน้าที่ จนระบบครอบครัวอ่อนแอสุขภาพร่างกายย่ำแย่จากการทำงานหนักไม่มีการพักผ่อนที่เหมาะสมและร่างกายได้รับสารพิษจากสารเคมีทางการเกษตรต่าง ๆ แม้ว่าการเข้าถึงระบบสาธารณสุขตามสถานีอนามัยและโรงพยาบาลของชาวบีซูนั้นจะสะดวกก็ตาม อีกทั้งในสังคมบีซูบางส่วนนั้นมีปัญหาทางด้านสุขภาพหลายอย่างเช่น ผู้ป่วยเรื้อรังเบาหวานความดัน ผู้ติดสุราและอื่น ๆ


ปัญหาการติดโทรศัพท์มือถือ และการติดเกมของวัยรุ่น ส่งผลให้การศึกษาที่ได้รับมีประสิทธิภาพที่ไม่ดีพอ


คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจวัฒนธรรมประเพณี


การจัดการระบบสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านได้ไม่ดีพอ เช่น การจัดการขยะในครัวเรือนต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ


ดอยหลวง
พื้นที่ ส.ป.ก.
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์บีซู ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

อบต.สันกลาง โทร. 0-5335-5313