Advance search

ชุมชนท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร ชุมชนเป็นกลุ่มชาติพันธ์ผู้ไทดำ เดิมมีพื้นที่เดิมอยู่ เมืองแถน หรือ เมืองแถง เมืองนี้ในปัจจุบันคือ เมืองเดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนาม
หมู่ 1
บ้านคำชะอี
คำชะอี
คำชะอี
มุกดาหาร
วิสาหกิจชุมชน โทร. 09-9972-2687, เทศบาลตำบลคำชะอี้ โทร. 0-4263-1077
ณัฐพล นาทันตอง
13 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
24 เม.ย. 2023
ณัฐพล นาทันตอง
26 เม.ย. 2023
บ้านคำชะอี

คำว่าคำชะอี มีที่มาพอเชื่อถือได้ 2 กรณีคือ

  • กล่าวกันว่าทางทิศเหนือของหมู่บ้านคำชะอี ซึ่งเป็นบริเวณป่าช้าของหมู่บ้านหรือบริเวณที่เรียกว่า ดานตึง (ดานภาษาท้องถิ่นหมายถึง ลานหิน ตึงหมายถึง เสียงก้อง แปลรวมกันน่าจะหมายถึง ลานหินก้อง เมื่อเดินผ่านแล้วจะมีเสียงก้อง เพราะบริเวณใต้ลานหินลงไปเป็นถ้ำ) นั้นเดิมเป็นป่าทึบและมีหนองน้ำอยู่ด้วย หนองน้ำนี้เกิดจากน้ำคำ ซึ่งหมายถึง น้ำซับไหลรินอยู่ตลอดทั้งปีจนเกิดเป็นหนองน้ำไหลลงสู่ที่ลุ่มทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านและในป่าทึบดังกล่าว มีแมลงชนิดหนึ่งคล้ายจักจั่นแต่ตัวเล็กมีชื่อว่า แมงอี อยู่มากมาย แมลงเหล่านี้ก็จะตายรวมกันบริเวณหนองน้ำเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณดังกล่าวว่า คำแมงอี(มาจากน้ำคำ+แมงอี) และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า บ้านคำแมงอี ต่อมาจึงกลายเป็น คำชะอีจนถึงปัจจุบัน

  • กล่าวกันว่า หมู่บ้านคำชะอี มีต้นไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า “ต้นคำชะอี” เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม เปลือกและแก่นลำต้นก็มีกลิ่นหอมเหมือนดอกเช่นเดียวกัน ชาวบ้านจึงนิยมนำไปใช้อบเสื้อผ้าให้มีกลิ้นหอม ต้นไม้ชนิดนี้เป็นต้นไม้ที่หายากและปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว


ชุมชนท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร ชุมชนเป็นกลุ่มชาติพันธ์ผู้ไทดำ เดิมมีพื้นที่เดิมอยู่ เมืองแถน หรือ เมืองแถง เมืองนี้ในปัจจุบันคือ เมืองเดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนาม
บ้านคำชะอี
หมู่ 1
คำชะอี
คำชะอี
มุกดาหาร
49110
16.52713651
104.3651457
องค์การบริหารส่วนตำบลคำชะอี

ชาวผู้ไทคำชะอี เป็นเทือกเขาเหล่ากอเดียวกันกับผู้ไทเมืองหนองสูงซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลกัน ฉะนั้นประวัติเมืองหนองสูงและประวัติชาวผู้ไทคำชะอีจึงเป็นประวัติชาวผู้ไทกลุ่มเดียวกันซึ่งมีความเปนมาดังนี้ หนองสูง เป็นชื่อเดิมของอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ส่วนตำบลหนองสูงนั้นขึ้นกับอำเภอคำชะอี หนองสูงเคยเป็นที่ว่าการอำเภอหนองสูงใน พ.ศ.2447 ต่อมาย้ายอำเภอไปตั้งที่นาแกแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอนาแก เมื่อพ.ศ.2450 บรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองหนองสูง มีบรรดาศักดิ์เป็นคุณพระ ชื่อพระไกรสรราช ชาวผู้ไทเมืองหนองสูง คำชะอี และชาวเรณูนั้น กองทัพหลวงกรุงเทพฯ ได้กวาดต้อนมาจากเมืองแสนภายหลังการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เมื่อพ.ศ.2387 รัชกาลที่3 โปรดเกล้าให้ตั้งเมืองหนองสูงขึ้นให้ท้าวสิงห์เป็น พระไกรสรราช เจ้าเมืองคนแรกขึ้นกับเมืองมุกดาหารจน พ.ศ.2409 จึงโปรดยกบ้านบางทรายขึ้นเป็นเมือง พาลุกากรภูมิ ให้ท้าวทัดบุตรท้าวทังราชวงศ์เป็น พระอมรฤทธิธาดา เป็นเจ้าเมือง ทำให้เมืองมุกดาหารมีเมืองขึ้นสองเมืองคือ

1. เมืองหนองสูง พระไกรสรราช(สิงห์) เป็นเจ้าเมือง

2. เมืองพาลุกากรภูมิ พระอมฤทธิธาดา(ทัด) เป็นเจ้าเมือง

บ้านคำชะอี ตำบลคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร เป็นตำบลหนึ่งที่มีชาวผู้ไทอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นถึง 8 หมู่บ้าน คือ บ้านคำชะอี บ้านกกไฮ บ้านนาปุง บ้านแก้งช้างเนียม บ้านหนองกะปาด บ้านห้วยทราย บ้านโนนสว่าง และบ้านศรีมงคล โดยบ้านคำชะอี เป็นที่ตั้งของตำบลคำชะอี มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ    ติดกับ   ตำบลบ้านเหล่า อำเภอคำชะอี

  • ทิศใต้     ติดกับ   อำเภอหนองสูง

  • ทิศตะวันออก    ติดกับ   ตำบลน้ำเที่ยง และตำบลคำบก อำเภอคำชะอี
  • ทิศตะวันตก     ติดกับ   เขตอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร และเขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

สถานที่ตั้งของตำบลคำชะอีในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอำเภอคำชะอีมาก่อน เหตุที่ต้องย้ายอำเภอคำชะอีออกมาตั้งที่ตำบลน้ำเที่ยงแทนนั้น เพราะเหตุว่า พ.ศ.2484 อำเภอคำชะอีมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอ อยุ่ในการปกครองของอำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม สถานที่ตั้งกิ่งมีสภาพเป็นป่า มีภูเขาล้อมรอบถึง 3 ด้าน การคมนาคมไม่สะดวก และเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีไข้ป่าชุกชุม สภาพอากาศบริเวณนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กลางวันอากาศร้อนจัด กลางคืนอากาศเย็นจัด ทำให้ข้าราชการและประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณนั้นมักจะเจ็บป่วยกันเป็นประจำและถึงแก่ความตายอยู่เสมอ ต่อมา พ.ศ.2492 ทางราชการจึงได้ย้ายกิ่งอำเภอคำชะอีไปอยู่ที่อำเภอคำชะอีปัจจุบัน มีระยะห่างจากตำบลคำชะอีประมาณ 10 กิโลเมตร คำว่าคำชะอี มีที่มาพอเชื่อถือได้ 2 กรณีคือ

1. กล่าวกันว่าทางทิศเหนือของหมู่บ้านคำชะอี ซึ่งเป็นบริเวณป่าช้าของหมู่บ้านหรือบริเวณที่เรียกว่า ดานตึง (ดานภาษาท้องถิ่นหมายถึง ลานหิน ตึงหมายถึง เสียงก้อง แปลรวมกันน่าจะหมายถึง ลานหินก้อง เมื่อเดินผ่านแล้วจะมีเสียงก้อง เพราะบริเวณใต้ลานหินลงไปเป็นถ้ำ) นั้นเดิมเป็นป่าทึบและมีหนองน้ำอยู่ด้วย หนองน้ำนี้เกิดจากน้ำคำ ซึ่งหมายถึง น้ำซับไหลรินอยู่ตลอดทั้งปีจนเกิดเป็นหนองน้ำไหลลงสู่ที่ลุ่มทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านและในป่าทึบดังกล่าว มีแมลงชนิดหนึ่งคล้ายจักจั่นแต่ตัวเล็กมีชื่อว่า แมงอี อยู่มากมาย แมลงเหล่านี้ก็จะตายรวมกันบริเวณหนองน้ำเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณดังกล่าวว่า คำแมงอี(มาจากน้ำคำ+แมงอี) และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า บ้านคำแมงอี ต่อมาจึงกลายเป็น คำชะอีจนถึงปัจจุบัน

2. กล่าวกันว่า หมู่บ้านคำชะอี มีต้นไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า “ต้นคำชะอี” เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม เปลือกและแก่นลำต้นก็มีกลิ่นหอมเหมือนดอกเช่นเดียวกัน ชาวบ้านจึงนิยมนำไปใช้อบเสื้อผ้าให้มีกลิ้นหอม ต้นไม้ชนิดนี้เป็นต้นไม้ที่หายากและปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว

บ้านคำชะอี ตำบลคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร เป็นตำบลหนึ่งที่มีชาวผู้ไทอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นถึง 8 หมู่บ้าน คือ บ้านคำชะอี บ้านกกไฮ บ้านนาปุง บ้านแก้งช้างเนียม บ้านหนองกะปาด บ้านห้วยทราย บ้านโนนสว่าง และบ้านศรีมงคล โดยบ้านคำชะอี เป็นที่ตั้งของตำบลคำชะอี มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ      ติดกับ   ตำบลบ้านเหล่า อำเภอคำชะอี

  • ทิศใต้     ติดกับ   อำเภอหนองสูง

  • ทิศตะวันออก      ติดกับ   ตำบลน้ำเที่ยง และตำบลคำบก อำเภอคำชะอี

  • ทิศตะวันตก       ติดกับ   เขตอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร และเขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

ปัจจุบันจำนวนประชากรบ้านหนองสูงมีทั้งหมด 5,714 คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น 1,662 ครัวเรือน ชุมชนคำชะอีส่วนมากเป็นกลุ่มชาติพันธ์ผู้ไท

  • กลุ่มเกษตรกรทำนา

  • กลุ่มแม่บ้านในชุมชน

ชาวบ้านคำชะอีประกอบอาชีพทำนาเป็นหลักทุกครัวเรือน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนชุมชนบ้านคำชะอีที่สำคัญ คือ ภาษาและวัฒนธรรมภูไท  ที่มีการรักษาต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น มีสถานที่สำคัญ ดังนี้

  • สิมวัดโพธิ์ศรีแก้ว บ้านคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหารจารึกที่โคนเสาของมุขหน้าปรากฎปีที่สร้างเมื่อ พ.ศ.2487  ข้อมูลขัดกับที่แจ้งไปยังกรมการศาสนาระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2495 สิมหลังนี้เป็นงานฝีมือช่างญวน มีมุขหน้า ประดับคิ้วล้อซุ้มวงโค้ง และสิ่งที่สำคัญที่น่าสนใจคือรูปแบบเฉพาะร่วมของกลุ่มนี้มักจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของขนาดและเรื่องของการประดับตกแต่งลวดลายปูนปั้น โดยการรับส่งผ่านรูปแบบเฉพาะภายในจังหวัดมุกดาหาร มีความชัดเจนมากกว่าจังหวัดอื่นๆ ในแถบจังหวัดมุกดาหาร นครพนม สกลนคร มักปรากฏสิมในรูปแบบดังกล่าวนี้ให้เห็นอยู่มาก         

  • หินแก้วขัด มหัศจรรย์หินแก้วผัด วัดป่าสุภัททาราม (วัดถ้ำเกีย) บ้านคำชะอีเป็นความเชื่อของชาวบ้านที่มีปรากฎการณ์ ดวงไฟในคืนเพ็ญลอยมาจากท้องฟ้า แล้วมาหมุน (ผัด) ทำให้เกิดร่องรอยตามภาพ มีมาเกือบร้อยปีแล้ว

  • หอไตรกลางน้ำ บ้านคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร หอไตรหรือหอพระไตรปิฎก เป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ พระธรรมวินัย และตำราต่างๆ ด้านพระพุทธศาสนา ปรากฏอยู่ 2 ลักษณะ คือ หอไตรบกที่ตั้งบนดินและหอไตรกลางน้ำสร้างอยู่กลางสระน้ำเพื่อป้องกันหนู ปลวก มด และแมลงต่างๆ ที่จะมาทำลายหนังสือสมุดไทยหรือใบลานผูก นอกจากนี้ภูมิปัญญาของคนโบราณที่เชื่อว่าไอชื้นจากสระน้ำที่อยู่ใต้อาคารจะช่วยให้เกิดความชุ่มเย็นสามารถรักษาเอกสารโบราณให้ยืนยาวกว่าปกติ
ชาวบ้านเล่าว่าหอไตรกลางน้ำของบ้านคำชะอีแห่งนี้ ไม่ปรากฏปีที่ถูกสร้างชัด แต่มีเอกสารระบุว่า “พ.ศ. 2448-2460 พระกุน กนฺตญโน ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส..ได้สร้างเสริมเพิ่มเติมอีกคือ ได้ขุดสระด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นสร้างหอไตรไว้กลางสระน้ำ  ส่วนหนังสือที่เก็บในหอไตรล้วนเป็นหนังสือที่เป็นอักษรธรรมซึ่งจานไว้ในใบลาน ส่วนมากจะเป็นพระสูตรมีชาดกต่างๆ เช่น พระเวสสันดร มโหสถ สุวรรณสาม ท้าวก่ำกาดำ จำปาสี่ต้นและพระคาถาอยู่ยงคงกระพัน ปรากฎอยู่จนทุกวันนี้”  หอไตรหลังนี้ไม่มีผู้ใดเข้าไปมาหลายสิบปีแล้ว แต่เมื่อล่าสุดมีชาวบ้านขึ้นไปดูจึงได้พบกับผ้าผะเหวดที่มีอายุเก่ากว่า 40 ปีที่คนรุ่นก่อนนำมาเก็บไว้หลังจากที่บ้านคำชะอีเลิกทำบุญผะเหวด

ภาษาที่ใช้ในชุมชนสำหรับคนในชุมชนสื่อสารกันจะใช้ภาษาผู้ไท

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วิญญู ผลสัวัสดิ์. (2564). พิธีกรรมการเลี้ยงผีบรรพบุรุษของชาวผู้ไทยตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดี.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สิมโบราณ,. (2562).สิมวัดโพธิ์ศรีแก้ว บ้านคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร. (ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2566.จาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=792773741108647&set=pcb.792774577775230 

หอไตรกลางน้ำ. (2563).หอไตรกลางน้ำ บ้านคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร. (ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2566,จาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=794030430982978&set=pcb.794024727650215 

 โรงเรียนชุมชนบ้านคำชะอี. (2566).โรงเรียนชุมชนบ้านคำชะอี.(ออนไลน์).สืบค้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566,จาก https://www.facebook.com/chumchonbankhamchaischool/photos/a.119798323196825/644518094058176         

วิสาหกิจชุมชน โทร. 09-9972-2687, เทศบาลตำบลคำชะอี้ โทร. 0-4263-1077