Advance search

บ้านกอง บ้านกองห้วยขาน

ชุมชนเป็นระเบียบสะอาดตา ล้อมรอบด้วยป่าไม้ และลำน้ำที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อน

หมู่ที่ 3 ถนนกุงไม้สัก-นาป่าแปก
ห้วยขาน
หมอกจำแป่
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
อบต.หมอกจำแป่ โทร. 0-5306-1531
กันตพงศ์ จองนัน
15 ต.ค. 2023
อุ เจริญทอง, เหม่ยะ จันทรา
15 ต.ค. 2023
ปริญญ์ รุจิรัชกุล
11 ก.ค. 2024
บ้านห้วยขาน
บ้านกอง บ้านกองห้วยขาน

"บ้านกอง" ซึ่งมีความหมายว่าบ้านเนิน (กอง แปลว่า เนิน) เป็น ชุมชนชาวปะโอที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของชุมชนไทยใหญ่ (บ้านห้วยขาน) การตั้งชื่อบ้านกอง ผู้นำและสมาชิกรุ่นบุกเบิกตั้งชื่อชุมชนตามลักษณะกายภาพของภูมิประเทศที่เป็นเนินสูง


ชุมชนเป็นระเบียบสะอาดตา ล้อมรอบด้วยป่าไม้ และลำน้ำที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อน

ห้วยขาน
หมู่ที่ 3 ถนนกุงไม้สัก-นาป่าแปก
หมอกจำแป่
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
58000
19.4324107753988
97.9642751812935
องค์การบริหารส่วนตำบลหมอกจำแป่

สมาชิกในชุมชนเป็นผู้อพยพมาจากบ้านแม่ออ ปัจจุบัน คือ บ้านรักไทย และบ้านร่องแห้ง ซึ่งเป็นหมู่ชายแดนติดประเทศพม่า

ประมาณปี พ.ศ. 2527 เมื่อมีเหตุการณ์สู้รบกันตามแนวชายแดนไทย-พม่า ชาวปะโอที่อยู่บ้านแม่ออจึงอพยพมาอยู่ที่บ้านนาป่าแปก (หมู่ 4 ต.หมอกจำแป่ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน) อยู่ที่บ้านนาป่าแปก ระยะเวลาสั้น ๆ ด้วยปัญหาติดขัดเรื่องที่ดินการเพาะปลูกและสำหรับตั้งชุมชนสร้างบ้านเรือน จึงอพยพลงมายังบ้านห้วยขาน หมู่ 3 ต.หมอกจำแป่ อ.เมืองแม่ฮ่องสอนเมื่อปี พ.ศ. 2527

บ้านห้วยขานนั้นมีชาวปะโอที่เป็นญาติพี่น้องกันอาศัยอยู่ก่อนแล้วจำนวนหนึ่ง บ้านห้วยขานนั้นเป็นชุมชนของพี่น้องไทยใหญ่อยู่ก่อนแล้ว จึงถือได้ว่าพี่น้องปะโอได้มาอาศัยร่วมชุมชนกับพี่น้องไทยใหญ่ แต่ได้ตั้งชุมชนออกมาจากไทยใหญ่ทางทิศเหนือของบ้านห้วยขาน และตั้งชื่อชุมชนของตนเองว่า "บ้านกอง" มีความหมายว่า บ้านบนเนิน (กอง แปลว่า เนิน)

ชุมชนชาวปะโอ ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของชุมชนไทยใหญ่แรกเริ่มมีประมาณ 20 ครัวเรือน แล้วทยอยมาทีหลังอีกจำนวนหนึ่ง จากบ้านนาป่าแปก บ้านรักโป่งมะโอ บ้านห้วยผา และที่อื่น ๆ ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 53 ครอบครัว

อาณาเขต

  • ทิศใต้ ติดบ้านยอด ม.9 ต.หมอกจำแป่
  • ทิศเหนือ ติดบ้านทบศอก ม.8 ต.หมอกจำแป่
  • ทิศตะวันตก ติดโครงการตามพระราชดำริปางตอง บ้านห้วยมะเขือส้ม และบ้านปางอุ๋ง
  • ทิศตะวันออก ติดบ้านนาปลาจาด ม.4 ต.ห้วยผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

ขนาดพื้นที่ชุมชนประมาณ 300 ไร่ สภาพพื้นที่ทางกายภาพเป็นที่ราบเชิงเขาขนาดเล็ก บริเวณโดยรอบรอบเป็นภูเขา

พื้นที่สาธารณะประมาณ 20 ไร่ มีวัดประจำหมู่บ้าน มีโรงเรียนประจำหมู่บ้าน จำนวนนักเรียน 98 ราย

สาธารณูปโภค ในชุมชนมีระบบประปาชุมชน (ประปาภูเขาจากลำน้ำห้วยขาน)

สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ที่ราบเชิงเขาและภูเขาที่สลับซับซ้อน ป่าชุมชน ป่าสงวน และพื้นที่ป่าอุทยานโดยรอบชุมชน มีลำน้ำที่ค่อนข้างใหญ่ไหลมาจากทิศเหนือคือน้ำแม่สะงา ทิศตะวันตกมีลำน้ำห้วยขาน ทิศตะวันออกมีลำห้วยหมากขี

วิถีความเชื่อและการปฏิบัติ แนบอิงกับพระพุทธศาสนา

ชาวปะโอบ้านกอง-ห้วยขานยังสามารถสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพชนได้ดี เช่น งานขึ้นปีใหม่ (แด่น ห้า หล่า) หรือประเพณีสงกรานต์ที่ลูกหลานจะต้องกลับมาหาพ่อแม่ญาติพี่น้อง ประเพณีเข้าพรรษา (วา โช หล่า) และประเพณีแห่โคมไฟประทีปในช่วงออกพรรษาเพื่อเป็นบูชาพระพุทธเจ้าที่เสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และงานสำคัญของชาวปะโอคือ งาน ปอย แด่น ซี หล่า โบ่ย เป็นงานเพื่อรำลึกบรรพชนผู้รวบรวมชาวปะโอเป็นปึกแผ่น 

จำนวนครัวเรือน-ครอบครัว 53 ครัวเรือน

จำนวนประชากร 265 แบ่งเป็นชาย 126 คน และหญิง 139 คน

ระบบเครือญาติ

ระบบเครือญาติของชาวปะโอ เป็นลักษณะครอบครัวกึ่งขยาย คือ ปู่ ย่า หรือตา ยาย จะอยู่รวมกับกับลูกหลาน และเมื่อมีลูกที่พร้อมมีครอบครัวจะจัดให้มีการแต่งงานอยู่กับครอบครัวสักระยะแล้วจึงแยกครัวไปสร้างครอบครัวใหม่ ตามฤกษ์ที่ได้เลือกไว้แล้ว

การลำดับญาติ (ภาษาปะโอจะขึ้นต้นการเรียกพ่อแม่ โดยขึ้นด้วย แม่ก่อน พ่อตามที่หลัง เช่นคนไทยเรียกพ่อแม่ แต่ชาวปะโอจะเรียกกลับกัน เป็นแม่พ่อ หรือ แม่ ผ่า ในภาษาปะโอ ย่า และ ยาย (เม่อ พร่า) คือ แม่ ของพ่อหรือแม่ ปู่ และ ตา (ผ่า พร่า) คือ พ่อของแม่ หรือพ่อ ป้า (เม่อ ต่าน) พี่สาวของพ่อหรือพี่สาวของแม่

**เม่อ ต่าน หรือ ผ่า ต่าน ในภาษาปะโอนั้นในอีกความหมายคือการเรียกพี่เขย หรือพี่สะใภ้ ลุง (ผ่า ต่าน) พี่ชายของแม่ หรือพ่อ**

พ่อ แม่ (เม่อ ผ่า) น้า อา (ชาย) เม่อ หน่าง น้องสาวของพ่อ หรือแม่ ผ่า หน่าง) คือ น้องชายของพ่อหรือแม่ ลูก (โป่) หลาน (ลี) ลูกของลูก เหลน (ลัง) ลูกของหลาน

ปะโอ

ไม่มีการรวมตัวทางเศรษฐกิจ/การเมือง มีเพียงการรวมตัวทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อการรักษาไว้ซึ่งแบบแผนประเพณีที่สืบสานกันมา โดยร่วมมือกับองค์กรเครือข่าย เช่น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักงาน พม.จ.แม่ฮ่องสอน ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน

อาชีพหลักของชาวปะโอคือ เกษตรกร ทำไร่ ทำนาและสวน ผู้คนในชุมชนที่อายุไม่มากส่วนใหญ่ไปทำงานในต่างจังหวัด ในเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่ กรุงเทพฯ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

1.นายหลิ่ง

เกิดปี พ.ศ. 2514

ที่อยู่ ม.3 ต.หมอกจำแป่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

เป็นผู้เชี่ยวชาญในการประกอบพิธีกรรมของชาวปะโอ รวมทั้งพิธีกรรมทางศาสนา มีความรอบรู้ในเรื่องวัฒนธรรมประเพณีของชาวปะโอ และการสาธยายธรรมแบบชาวปะโอ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
  • ชาวปะโอในประเทศไทยยังใช้ภาษาปะโอในการสื่อสารได้ ภาษาปะโอเป็นกลุ่มภาษา จีน-ทิเบต กลุ่มภาษาย่อย ทิเบต-พม่า
  • ชาวปะโอรุ่นใหม่ในประเทศไทยจะใช้ภาษาไทยสำหรับการเขียนหรือสื่อสาร คนที่สามารถใช้ภาษาปะโอเพื่อการสื่อสารนั้นมีผู้สามารถเขียน อ่านเหลือจำนวนไม่มาก
  • กลุ่มเด็กรุ่นใหม่มีปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาปะโอ โดยเฉพาะเด็กที่เกิดต่างจังหวัดแล้วกลับมาอยู่ในชุมชนร่วมกับปู่ย่าตายาย และกลุ่มเด็กรุ่นที่ยังสามารถสื่อสารภาษาปะโอได้นั้นมีปัญหาเรื่องการเข้าใจความหมายของภาษาที่ไม่ชัดเจนทั้งหมด เลยใช้ภาษาไทยกลางปะปนในการสื่อสาร
  • ปัจจุบันมีหนังสือตำราเรียนภาษาปะโอ และนิตยสารที่เป็นภาษาปะโอรวมถึงตำรายาสมุนไพร และชาวปะโอจะมีการบันทึกการเกิดลงในใบลาน ภาษาปะโอเรียกว่า ชาตา หรือชาตะ ถ้าเปรียบเทียบยุคสมัยใหม่ก็เปรียบได้กับสูติบัตรนั่นเอง และยังมีตำราโบราณที่บันทึกในกระดาษสา (กระดาษทำมือ) ทาปกหรือขอบหนังสือตำราด้วยยางรักสีดำ เพื่อรักษาสภาพของกระดาษให้คงทนต่อความชื้นได้
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

อบต.หมอกจำแป่ โทร. 0-5306-1531