บ้านป่าสักขวาง หมู่บ้านแรกที่ชาวไตหย่าได้เข้ามาบุกเบิกและอยู่รวมกันเป็นชุมชนก่อนที่จะมีการขยายย้ายออกไปตั้งหมู่บ้านใหม่ และมีคนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เข้ามาอาศัยอยู่
ป่าสักขวาง มีที่มาคือ แนวป่าสักที่ขวางหน้าดูรกทึบ ซึ่งเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ไม่มีคนมาอยู่อาศัยแต่มีทางที่ใช้สัญจรไปมาเท่านั้น ชาวบ้านที่อยู่รายรอบได้เรียกที่นั่นว่า "สันป่าสักขวาง" เพราะเป็นป่าไม้สักที่ขึ้นขวางทางเดินของผู้คนนั่นเอง
บ้านป่าสักขวาง หมู่บ้านแรกที่ชาวไตหย่าได้เข้ามาบุกเบิกและอยู่รวมกันเป็นชุมชนก่อนที่จะมีการขยายย้ายออกไปตั้งหมู่บ้านใหม่ และมีคนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เข้ามาอาศัยอยู่
บ้านป่าสักขวาง ณ ที่ตั้งหมู่บ้านป่าสักขวางเดิมนั้นเป็นที่รกร้างว่างเปล่า เป็นป่าไม้สักและไม้เบญจพรรณที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นตามสันดอน ซึ่งมีความกว้างขวางและยาวสุดลูกตา มีทุ่งหญ้าแฝกปกคลุมเนื้อที่หลายร้อยไร่ มีแม่น้ำไหลผ่าน ผู้ปกครองจาย ศักดิ์แสน เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ร่วมในการอพยพตอนนั้นกล่าวว่า แนวป่าสักที่ขวางหน้าดูรกทึบ เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ไม่มีคนมาอยู่อาศัยแต่มีทางที่ใช้สัญจรไปมาเท่านั้น ชาวบ้านที่อยู่รายรอบได้เรียกที่นั่นว่า "สันป่าสักขวาง" เพราะเป็นป่าไม้สักที่ขึ้นขวางทางเดินของผู้คนนั่นเองเมื่อมีพี่น้องไตหย่าที่อพยพครั้งใหญ่ทั้งสองครั้งมาอยู่ที่บ้านป่าสักขวางแล้ว
ต่อมามีครอบครัวพ่ออุ้ยหล้า ชัยสุข เป็นบุตรของพ่ออุ้ยเสาร์ เดิมอยู่บ้านกู่เสือ อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านหนองกลม จากนั้นก็ได้ย้ายตามมาอยู่ร่วมกับพี่น้องไตหย่าที่ป่าสักขวาง พ่ออุ้ยหล้า ชัยสุข มีลูก 6 คนคือ 1.แม่อุ้ยเอ้ย 2.พ่ออุ้ยสุข 3.พ่ออุ้ยพุธ 4.พ่ออุ้ยพรม 5.แม่อุ้ยฟอง 6.พ่ออุ้ยเจริญ ต่อมาภายหลังมีน้อยจันทร์ตา วุฒิปัญญา ซึ่งย้ายมาจากอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มาอยู่ที่บ้านหนองกลม และได้ย้ายมาอยู่ที่ป่าสักขวางพร้อมลูกหลาน ผู้ปกครองแก้ว ใจมา ซึ่งเป็นชาวอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และเคยเป็นผู้ร่วมประกาศกับมิชชันนารีอเมริกันไปถึงเมืองหย่า ได้เข้ามาอยู่ที่บ้านหนองกลม และได้ย้ายมาอยู่ที่ป่าสักขวางพร้อมด้วยลูกหลาน
อาณาเขต
ขนาดพื้นที่ชุมชน ประมาณ 800 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 309 ครัวเรือน
สภาพพื้นที่ทางกายภาพ
เป็นสันดอน มีแม่น้ำสาขาของแม่น้ำคำ ไหลผ่าน
พื้นที่สาธารณะและสาธารณูปโภคในชุมชน
มีโรงน้ำดื่ม 1 แห่ง ประปาหมู่บ้าน
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
ลำน้ำสาขาของน้ำแม่คำ ไหลผ่านกลางหมู่บ้าน
สถานที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
มีโบสถ์คริสต์ 3 แห่ง มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง โรงเรียนฝึกวิชาชีพ 1 แห่ง
พื้นที่ที่มีกิจกรรมทางสังคม ประเพณี และเทศกาลต่าง ๆ
เทศกาลขอบคุณพระเจ้า ในช่วงต้นปี, เทศกาลคริสต์มาส ในเดือนธันวาคม
บ้านป่าสักขวาง เป็นหมู่บ้านแรกที่ชาวไตหย่าได้มาบุกเบิกและอยู่รวมกันเป็นชุมชนก่อนที่จะมีการขยายย้ายออกไปตั้งหมู่บ้านใหม่ และมีคนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เข้ามาอาศัยอยู่ จากเดิมที่เป็นชนกลุ่มใหญ่ในชุมชน ปัจจุบัน กลายเป็นชนกลุ่มน้อยในชุมชน เนื่องจากลูกหลานได้ออกไปทำงาน มีครอบครัวอยู่ต่างจังหวัดต่างประเทศ จำนวนชาวไตหย่า มีเพียง 9 ครัวเรือน แต่เป็นครัวเรือนที่มีลูกหลานขยายออกไป นับจำนวนประชากรได้ 130 คน
ไตหย่า, ไทยวน, ยอง, ไทใหญ่, ลาหู่, อ่าข่ามีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกด้านการเงิน คือ มีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอยู่ในชุมชน เพื่อให้บริการในการออมเงิน และให้สินเชื่อแก่สมาชิก
ด้านอาชีพในอดีตมีการทำยาสูบ จึงมีโรงบ่มใบยาสูบอยู่ในชุมชน ปัจจุบันการทำยาสูบลดลง มีการรวมกลุ่มประกอบอาชีพในชุมชน (อาชีพหลักและอาชีพเสริม) อาชีพหลัก ทำนาข้าว อาชีพรอง ปลูกเสื่อกก ทำสวนผัก มีการแลกเปลี่ยนสินค้าทางการเกษตร ผักสวนครัว แก่ชุมชนทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งการเข้ามาทำงานในชุมชนของคนต่างถิ่นที่มารับจ้างในการทำนาปลูกข้าว และคนในชุมชนเองได้มีการออกไปทำงาน รับจ้างทั่วไป ปลูกข้าว ไถนา ช่างสร้างบ้านนอกชุมชน รวมถึงมีองค์กรภายนอกทั้งหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานทางศาสนาคริสต์เข้ามาทำงานในชุมชน
กิจกรรมในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปี เช่น ปฏิทินการเพาะปลูก มีการปลูกข้าว 2 ครั้งต่อปี คือ
- การทำนาปรังในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เก็บเกี่ยวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
- การทำนาปี เริ่มเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม เก็บเกี่ยวเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
กิจกรรมทางสังคม วัฒนธรรมจะจัดทำตามกิจกรรมศาสนาคริสต์ที่เกิดขึ้นในรอบปี เช่น ช่วงต้นปีจะจัดวันถวายขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับพืชผลไร่นาที่ได้ในแต่ละปี
ชุมชนประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและภัยพิบัติในรอบปี เช่น ภัยแล้ง เป็นบางปี เนื่องจากน้ำฝนไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ที่จะเกิดในช่วงฤดูทำนาปรังเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม
ทุนเศรษฐกิจ มีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านป่าสักขวางสามัคคี จำกัด ที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2523 ตั้งอยู่ใจกลางหมู่บ้าน เป็นที่พึ่งของชุมชน เป็นแหล่งเงินทุนให้ประชากรในชุมชน ได้กินดีอยู่ดี จากการออมเงิน และกู้ไปใช้ในยามที่เกิดปัญหา หรือต้องการปัจจัยที่ส่งเสริมการผลิด สถานภาพปัจจุบัน มีทุนดำเนินงานทั้งสิ้น 20 ล้านบาท สมาชิก 300 คน สามารถดำเนินงานได้โดยการที่ชาวบ้านช่วยกันออม และดำเนินธุรกิจด้วยคนในชุมชน มีหน่วยงานรัฐให้การดูแลส่งเสริมและแนะนำ
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ไตหย่า ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.