Advance search

ชุมชนเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าว ผัก เพื่อยังชีพและการค้า เป็นชุมชนที่เด่นด้านการทำข้าวแคบ ผ้าทอไตลื้อลายขะแจ๋หลงตู้ สานน้ำถุ้ง ทำตุ๊กตาไตลื้อ

หมู่ที่ 17
บ้านป่าปี้
บ้านธิ
บ้านธิ
ลำพูน
ทต.บ้านธิ โทร. 0-5203-9561-3
กฤติพงษ์ สายปา
14 ม.ค. 2024
อนุชิต ไชยถา
14 ก.พ. 2024
ปริญญ์ รุจิรัชกุล
15 ก.ค. 2024
บ้านป่าปี้


ชุมชนเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าว ผัก เพื่อยังชีพและการค้า เป็นชุมชนที่เด่นด้านการทำข้าวแคบ ผ้าทอไตลื้อลายขะแจ๋หลงตู้ สานน้ำถุ้ง ทำตุ๊กตาไตลื้อ

บ้านป่าปี้
หมู่ที่ 17
บ้านธิ
บ้านธิ
ลำพูน
51180
18.6440671303628
99.1359512507916
เทศบาลตำบลบ้านธิ

ชาวไตลื้อบ้านธิ เดิมทีอยู่ดินแดนสิบสองปันนา แต่ด้วยเหตุหลายปัจจัยทำให้ต้องย้ายถิ่นฐานมาที่จังหวัดลำพูน ชาวไตลื้อชอบอาศัยบริเวณริมน้ำเพื่อสะดวกในการทำมาหากิน และนับถือผี

ประเพณีของชาวไตลื้อมีมากมาย เช่น กินหวานต๋านม่วน เลื้ยงผีขุนน้ำ เป็นต้น ชาวไตลื้อจะรักพวกพ้อง และแต่งงานกันเองในเครือญาติ ผู้ที่มาสร้างถิ่นฐานในบ้านธิคนแรกคือพ่อหนา ปัญโญ กับ แม่อุ๊ยขา บ้านแพะเป็นบ้านแรกที่ไตลื้อบ้านธิ มาอาศัยและขยายไปเรื่อย ๆ จนมีลูกหลานมากมายและได้ขยายเป็น 10 หมู่บ้าน

ในท้องถิ่นแต่ละแห่งย่อมมีการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น ๆ เรื่องที่เล่าอาจเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นจริง แล้วเล่าต่อ ๆ กันมา และอาจแพร่ไปยังท้องถิ่นอื่นด้วย ตำนาน คือ เรื่องราวที่เล่าเกี่ยวกับประเพณีเก่าแก่

ตำนานบ้านธิ เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นมาของอำเภอบ้านธิ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเริ่มต้นขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี เพราะมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ส่วนชาวไตลื้อนั้น ถือเป็นกลุ่มชนที่โดดเด่นในอำเภอบ้านธิ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความเป็นมาที่น่าสนใจ

บ้านธิมีความเป็นมาที่เก่าแก่ ถือว่าเป็นแหล่งอารยธรรมหนึ่งของอาณาจักรหริภุญไชย เพราะมีหลักฐานทางโบราณวัตถุโบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงวิถีชีวิตที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันหลักฐานที่ปรากฏวัดดอยเวียง สร้างในสมัยพระนางเจ้าจามเทวี เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1220 ในยุคของหริภุญไชย มีการค้นพบจารึกอักขระภาษาพื้นเมือง ภาษาล้านนา ภาษาไตลื้อ ของพระสงฆ์ที่เป็นหลักฐานยืนยันในเรื่องนี้

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดกับ บ้านแพะ หมู่ที่ 11 ต.บ้านธิ
  • ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านเตาปูน หมู่ที่ 1 ต.บ้านธิ
  • ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านใหม่กาดเหนือ หมู่ที่ 20 ต.บ้านธิ
  • ทิศใต้ ติดกับ บ้านป่าเปา หมู่ที่ 2 ต.บ้านธิ

ข้อมูลประชากรจากที่ทำการอำเภอบ้านธิ เทศบาลตำบลบ้านธิ พ.ศ. 2567 พบว่า ประชากรของหมู่ที่ 17 บ้านป่าปี้ มีจำนวนทั้งหมด 383 คน แบ่งเป็นชาย 179 คน หญิง 204 คน

ไทลื้อ

ชุมชนบ้านป่าปี้ หมู่ที่ 17 มีการรวมกลุ่มแบบเป็นทางการเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน ประกอบด้วย กลุ่มข้าวแคบ กลุ่มผ้าทอไตลื้อ กลุ่มช่างฟ้อนลื้อ

วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ ชุมชนไตลื้อบ้านธิ ปัจจุบันยังคงวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจดั้งเดิมอยู่ เช่น ทำการเกษตรเพื่อยังชีพและค้าขาย บางส่วนก็รับราชการ รับจ้างทั่วไป

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

ที่ งานวัฒนธรรม เดือน วัน/เวลา สถานที่
1 งานประเพณีตานข้าวใหม่ มกราคม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 วัดบ้านธิหลวง
2 ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ (วันมาฆบูชา) มีนาคม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 วัดบ้านธิหลวง
3 ทำบุญในงานประเพณีสงกรานต์และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ เมษายน วันที่ 13 เดือนเมษายน ณ สถานที่ริมน้ำ บ้านศรีมูล หน้าวัดบ้านธิหลวง
4 งานสืบสานตำนานไตลื้อวัฒนธรรม 3 ไต เมษายน-มิถุนายน - แล้วแต่ ๆ ละที่จัด
5 วันวิสาขบูชา พฤษภาคม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 วัดบ้านธิหลวง
6 ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ มิถุนายน - อ่างเก็บน้ำแม่ธิ
7 วันเข้าพรรษา กรกฎาคม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วัดบ้านธิหลวง
8 หล่อเทียนพรรษา กรกฎาคม ก่อนวันเข้าพรรษา บ้านธิหลวง
9 วันออกพรรษา ตุลาคม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 วัดบ้านธิหลวง
10 งานประเพณีลอยกระทง พฤศจิกายน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ริมน้ำแม่ธิ

1.นายกฤติพงษ์ สายปา แพทย์ประจำตำบล

2.นายอุดม สิทธิใหญ่ เกษตรกรรม

3.นางสาววิไล สุยะใหญ่ ช่างฟ้อน

4.นางนภา สุยะใหญ่ ผ้าทอไตลื้อ

ทุนวัฒนธรรม

บ้านป่าปี้ยังมีการสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีแบบดั้งเดิมในรูปแบบการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในรอบปีอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของชุมชน

ทุนมนุษย์

ชุมชนมีปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ ทั้งเกษตรกรรม ศิลปะการแสดง หัตถกรรมผ้าทอ แพทย์ประจำตำบล

ยังคงสื่อสารกันด้วยภาษาท้องถิ่น (ลื้อ) กันอยู่ แต่เด็กที่เกิดจากพ่อหรือแม่ที่เป็นคนนอกพื้นที่ ส่วนใหญ่จะพูดตามพ่อหรือแม่ ด้วยภาษาท้องถิ่นลำพูน เชียงใหม่หรือภาษาไทยกลาง แต่สามารถเข้าใจภาษาลื้อได้ และส่วนมากยังคงพูดภาษาลื้อกัน


ทำมาหากินด้วยการทำเกษตร ค้าขาย รับจ้างทั่วไป ยังทำเพื่อการดำรงชีพเป็นส่วนใหญ่ไม่ได้ทำเชิงค้าขายเต็มรูปแบบ ยกเว้น การทำนาและสวนลำไย ซึ่งเกษตรกรจะทำเพื่อขายเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากมีต้นทุนที่สูง


การแต่งกาย 

การแต่งกายในงานทั่วไปส่วนใหญ่แต่งตามสมัยนิยม แต่ก็ยังมีการแต่งกายแบบคนลื้ออยู่บางส่วน ยกเว้นมีงานที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยตรง เช่น งานไตลื้อ งานสามไต งานทำบุญต่าง ๆ

อาหาร

อาหารส่วนใหญ่ก็คงเหมือนกับชุมชนอื่น ๆ แต่ถ้ามีงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางชุมชนจะทำอาหารถิ่น นั่นคือ แกงหยวก น้ำพริกน้ำผัก หลามบ๋อน ผักกาดซุ่ม น้ำหนัง แกงแค

การแสดงพื้นบ้าน

ทางชุมชนมีการแสดงพื้นบ้านประจำถิ่น คือ การฟ้อนลื้อ เป็นการสื่อสารระหว่างอตีดกับปัจจุบันด้วยท่าทางการฟ้อน ซึ่งมาจากท่าทางการเก็บฝ้าย ตากฝ้าย จนกระทั่งทอผ้า ฟ้อนทอผ้า ฟ้อนเซ้ย เป็นการฟ้อนต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมเยือน ปัจจุบันก็ยังมีผู้ที่สามารถฟ้อนได้อยู่

ภาษา

การเขียนภาษาลื้อ (ตัวเมือง) ตัวหนังสือไตลื้อไม่นิยมในหมู่บ้าน เพราะเด็กไม่ได้เรียนมาตั้งแต่เด็กเหมือนในสมัยก่อน ในสมัยก่อนเด็กจะนิยมไปเป็นเด็กวัด (ขะโยม) พร้อมกับไปโรงเรียนด้วย ก่อนที่เด็กจะบวชเป็นเณร แต่ขณะนี้ยังมีเด็กบางคนในหมู่บ้านที่ยังอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่น ด้านภาษา โดยการพูดภาษาถิ่น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2567). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ไตลื้อ ปีงบประมาณ 2567. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

นางนภา สุยะใหญ่, ปราชญ์ชาวบ้านด้านผ้าทอ, สัมภาษณ์

นางสาววิไล สุยะใหญ่, ปราชญ์ชาวบ้านด้าน, สัมภาษณ์

ทต.บ้านธิ โทร. 0-5203-9561-3