Advance search

ชุมชนที่ยังคงพูดภาษาถิ่น ภาษาลื้อ พึ่งพิงวิถีเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าว ผัก เพื่อการยังชีพและขาย

หมู่ที่ 2
ป่าเปา
บ้านธิ
บ้านธิ
ลำพูน
ทต.บ้านธิ โทร. 0-5203-9561-3
อรุณี สมพงษ์
15 ม.ค. 2024
อนุชิต ไชยถา
15 ก.พ. 2024
ปริญญ์ รุจิรัชกุล
15 ก.ค. 2024
บ้านป่าเปา

สมัยก่อน บ้านป่าเปา จะเป็นพื้นที่ป่าและพื้นที่บริเวณดังกล่าวก็มีต้นไม้เปาขึ้นเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านตามสิ่งที่เด่นว่า "บ้านป่าเปา"


ชุมชนที่ยังคงพูดภาษาถิ่น ภาษาลื้อ พึ่งพิงวิถีเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าว ผัก เพื่อการยังชีพและขาย

ป่าเปา
หมู่ที่ 2
บ้านธิ
บ้านธิ
ลำพูน
51180
18.6425651242704
99.1381788253784
เทศบาลตำบลบ้านธิ

ชาวไตลื้อบ้านธิ เดิมทีอยู่ดินแดนสิบสองปันนา แต่ด้วยเหตุหลายปัจจัยทำให้ต้องย้ายถิ่นฐานมาที่จังหวัดลำพูน ชาวไตลื้อชอบอาศัยบริเวณริมน้ำเพื่อสะดวกในการทำมาหากิน และนับถือผี

ประเพณีของชาวไตลื้อมีมากมาย เช่น กินหวานต๋านม่วน เลื้ยงผีขุนน้ำ เป็นต้น ชาวไตลื้อจะรักพวกพ้อง และแต่งงานกันเองในเครือญาติ ผู้ที่มาสร้างถิ่นฐานในบ้านธิคนแรกคือพ่อหนา ปัญโญ กับ แม่อุ๊ยขา บ้านแพะเป็นบ้านแรกที่ไตลื้อบ้านธิ มาอาศัยและขยายไปเรื่อย ๆ จนมีลูกหลานมากมายและได้ขยายเป็น 10 หมู่บ้าน

ในท้องถิ่นแต่ละแห่งย่อมมีการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น ๆ เรื่องที่เล่าอาจเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นจริง แล้วเล่าต่อ ๆ กันมา และอาจแพร่ไปยังท้องถิ่นอื่นด้วย ตำนาน คือ เรื่องราวที่เล่าเกี่ยวกับประเพณีเก่าแก่

ตำนานบ้านธิ เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นมาของอำเภอบ้านธิ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเริ่มต้นขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี เพราะมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ส่วนชาวไตลื้อนั้น ถือเป็นกลุ่มชนที่โดดเด่นในอำเภอบ้านธิ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความเป็นมาที่น่าสนใจ

บ้านธิมีความเป็นมาที่เก่าแก่ ถือว่าเป็นแหล่งอารยธรรมหนึ่งของอาณาจักรหริภุญไชย เพราะมีหลักฐานทางโบราณวัตถุโบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงวิถีชีวิตที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันหลักฐานที่ปรากฏวัดดอยเวียง สร้างในสมัยพระนางเจ้าจามเทวี เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1220 ในยุคของหริภุญไชย มีการค้นพบจารึกอักขระภาษาพื้นเมือง ภาษาล้านนา ภาษาไตลื้อ ของพระสงฆ์ที่เป็นหลักฐานยืนยันในเรื่องนี้

บ้านป่าเปา เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอบ้านธิ ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก และชาวบ้านส่วนหนึ่งเป็นชาวลื้อที่ทำการอพยพลงมาจากสิบสองปันนาของประเทศจีน อีกส่วนหนึ่งเป็นชาวไทยองและอีกส่วนหนึ่งเป็นชาวไทญวน

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน เป็นที่ราบลาดเอียงจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก ด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านจะเป็นพื้นที่ทำการเกษตร/สวนลำไย/เทือกเขา มีคลองชลประทานแม่กวงสายใหญ่ไหลผ่านจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ ด้านทิศตะวันตกจะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้าน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอบ้านธิ เทศบาลตำบลบ้านธิ พื้นที่ประมาณ 3.0 ตารางกิโลเมตร มีวัด 1 แห่ง ชื่อ "วัดปากกอง"

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ 9 บ้านดอยเวียง ตำบลบ้านธิ, ตำบลห้วยยาบ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ 20 บ้านใหม่กาดเหนือ ตำบลบ้านธิ
  • ตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอแม่ทา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ 1 บ้านเตาปูน ตำบลบ้านธิ

การคมนาคม/สาธารณูปโภค มีถนนลาดยาง ระยะทาง 6 กิโลเมตร ถนนลูกรัง ระยะทาง 8 กิโลเมตร ถนน คสม. ระยะทาง 0.6 กิโลเมตร

ประชากรมีจำนวนทั้งหมด 339 คน (ข้อมูล จปฐ. ปี 2566) แยกเป็น ประชากรชาย 153 คน ประชากรหญิง 186 คน ครัวเรือนในหมู่บ้านมีจำนวน 120 ครัวเรือน

ไทลื้อ
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมของหมู่บ้านได้จากสินค้าเกษตรกรรม เช่น ข้าว ลำไย ผักกาด ผักบุ้ง แตงกวา ถั่วฝักยาว บวบเหลี่ยม มะเขือยาว มะเขือเทศ มะเขือเจ้าพระยา มะเขือเปราะ
  • อาชีพเสริมและกลุ่มต่าง ๆ เช่น งานจักสานภายในครัวเรือน เย็บผ้า ถักผ้า คว้านลำไย
  • ประเพณีทำบุญตานข้าวใหม่ คือ ทำบุญทานข้าวใหม่ ในเดือนมกราคม
  • ประเพณีทำบุญปอยหลวง คือ ทำบุญสิ่งปลุกสร้างใหม่ของวัด เช่น ศาลาวิหาร อาคารเปรียญในวัดกุฏิ
  • ประเพณีทำบุญวันมาฆบูชา
  • ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ในเทศกาลสงกรานต์
  • ประเพณีแห่ไม้คํ้าสะหลี (ไม้คํ้าโพธิ์) ในเทศกาลสงกรานต์
  • ประเพณีขนทรายเข้าวัด ในเทศกาลสงกรานต์
  • ประเพณีทำบุญสืบชะตาหมู่บ้าน (การสะเดาะเคราะห์)
  • ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ
  • ประเพณีทำบุญในวันเข้าพรรษา
  • ประเพณีทำบุญวันออกพรรษา
  • ประเพณียี่เป็ง ทำบุญตักบาตรและฟ้งธรรมมหาชาติ และการแห่พระพุทธรูปรอบหมู่บ้าน (ในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี)
  • ประเพณีทำบุญสลากภัตร คือ การทำบุญไปหาผู้ล่วงลับ ทำบุญไปภายหน้า และการจัดหาเงินทุนสำหรับพระเณรไว้เป็นปัจจัยใช้สอย
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

บ้านป่าเปายังมีการสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีแบบดั้งเดิมในรูปแบบการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในรอบปีอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของชุมชน เช่น การสานน้ำถุ้ง

ชุมชนบ้านป่าเปา ม.2 ยังคงสื่อสารกันด้วยภาษาท้องถิ่น (ลื้อ) กันอยู่ แต่เด็กที่เกิดจากพ่อหรือแม่ที่เป็นคนนอกพื้นที่ ส่วนใหญ่จะพูดตามพ่อหรือแม่ ด้วยภาษาท้องถิ่นเชียงใหม่/ลำพูน หรือภาษาไทกลาง แต่สามารถเข้าใจภาษาลื้อได้อยู่ แต่การใช้ภาษาสื่อสารในชุมชนยังเป็นภาษาลื้อเป็นส่วนใหญ่อยู่ ณ ปัจจุบัน


ชุมชนบ้านป่าเปา ทำมาหากินด้วยการทำเกษตร ค้าขาย รับจ้างทั่วไป ยังทำเพื่อการดำรงชีพเป็นส่วนใหญ่ การทำนา ซึ่งเกษตรกรจะทำเพื่อขายเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากมีต้นทุนที่สูง และจะมีเกษตรกรบางคนยังทำนาปรังเพื่อขาย การทำสวนลำไย เป็นอีกอาชีพที่มีรายได้เข้าสู่ประชาชนในชุมชน


ภาษา

การเขียนภาษาลื้อ (ตัวเมือง) ตัวหนังสือไตลื้อ ไม่นิยมในหมู่บ้าน เพราะเด็กไม่ได้เรียนมาตั้งแต่เด็กเหมือนในสมัยก่อน ในสมัยก่อนเด็กจะนิยมไปเป็นเด็กวัด (ขะโยม) พร้อมกับไปโรงเรียนด้วย ก่อนที่เด็กจะบวชเป็นเณร แต่ขณะนี้ยังมีเด็กบางคนในหมู่บ้านที่ยังอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่น ด้านภาษา โดยการพูดภาษาถิ่น

การแต่งกาย

การแต่งกายในงานทั่วไปส่วนใหญ่แต่งตามสมัยนิยม แต่ยังมีการแต่งกายแบบคนลื้ออยู่บางส่วน ยกเว้นมีงานที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยตรง เช่น งานสืบสานวัฒนธรรมไตลื้อ

อาหาร

อาหารส่วนใหญ่ก็คงเหมือนกับชุมชนอื่น ๆ แต่ถ้ามีงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางชุมชนจะทำอาหารถิ่น นั่นคือ หลามบ๋อน

การแสดงพื้นบ้าน

ชุมชนมีการแสดงพื้นบ้านประจำถิ่น คือ การฟ้อนลื้อ เป็นการสื่อสารระหว่างอดีตกับปัจจุบันด้วยท่าทางการฟ้อน ซึ่งมาจากท่าทางการเก็บฝ้าย ตากฝ้าย จนกระทั่งทอผ้า และฟ้อนม่าน เครื่องดนตรีที่ใช้มีเพียงชนิดเดียวคือ ระนาด (การะสับ) ปัจจุบันก็ยังมีผู้ที่สามารถฟ้อนได้อยู่

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2567). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ไตลื้อ ปีงบประมาณ 2567. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ทต.บ้านธิ โทร. 0-5203-9561-3