ชุมชนสามชาติพันธุ์ วัฒนธรรมแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ ธรรมชาติรอบล้อมอุดมสมบูรณ์ เดินทางไปมาสะดวกสบาย
"ห้วยโก๋" เป็นชื่อเดิมที่ใช้เรียกครั้งที่มาตั้งรกร้างถิ่นฐานใหม่ ๆ "ห้วย" เป็นภาษาคำเมือง แปลว่า ลำธาร "โก๋" เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่บริเวณต้นน้ำของชุมชน เป็นภาษาปกาเกอะญอ
ชุมชนสามชาติพันธุ์ วัฒนธรรมแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ ธรรมชาติรอบล้อมอุดมสมบูรณ์ เดินทางไปมาสะดวกสบาย
การบอกเล่า จากลุงแก้ว ตุ๊กกา (ปกาเกอะญอ) เป็นคนรุ่นแรก ๆ ที่มาอยู่อาศัยที่ยังมีชีวิตอยู่ ที่ชื่อ "ห้วยโก๋" นั้นเป็นชื่อเดิมที่ใช้เรียกครั้งที่มาตั้งรกร้างถิ่นฐานใหม่ ๆ
"ห้วย" เป็นภาษาคำเมือง แปลว่า ลำธาร "โก๋" เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่บริเวณต้นน้ำของชุมชน เป็นภาษาปกาเกอะญอ
ในขณะเดียวกัน เขตพื้นที่บริเวณแถบนี้จะมีน้ำห้วยหรือลำธารอีกหลายสาย เช่น ห้วยแม่พริก, ห้วยยาว และห้วยต้นยาง ห้วยโก๋เป็นหย่อมบ้านหนึ่งจากบ้านทุ่งหลุก ตั้งอยู่ที่หมู่ 16 ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีระยะทางห่างจากตัวอำเภอเชียงดาว 15 กิโลเมตร
พ.ศ. 2450 พี่น้องชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ เป็นพี่น้องชาติพันธุ์แรกที่ได้มาตั้งรกร้างถิ่นฐานอยู่ ณ บริเวณนี้ ที่มีชื่อว่า "ห้วยโก๋" ซึ่งได้อพยพมาจากบ้านแม่นะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว
พ.ศ. 2518 พี่น้องชาติพันธุ์ลีซู เป็นพี่น้องชาติพันธุ์ที่สองได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานเพิ่ม
พ.ศ. 2525 พี่น้องชาติพันธุ์อ่าข่า เป็นพี่น้องชาติพันธุ์ที่สามที่ได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานเพิ่ม ซึ่งอพยพมาจากอำเภอแม่จัน อำเภอแม่สรวย อำเภอเมืองเชียงราย
พ.ศ. 2542 หย่อมบ้านห้วยโก๋ ขอแยกเป็นอีกหมู่บ้าน เนื่องจากมีจำนวนสมาชิกครัวเรือน และประชากรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงขอแยกออกจากหมู่ที่ 9 เป็นหมู่ที่ 16 และขอตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ เป็น "บ้านผาลาย" เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่เป็นภูเขาหินปูนเป็นหน้าผาสูงชันสลับซับซ้อนและมีลักษณะหลากหลายสีสวยงาม โดยมีนายสุพัตร ต๊ะน่า เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
ปัจจุบันบ้านผาลาย ตั้งอยู่ที่หมู่ 16 ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 825 เมตร เป็นชุมชนที่อยู่อาศัยรวมกัน 3 ชาติพันธุ์ ได้แก่ ปกาเกอะญอ ลีซู และอ่าข่า โดยมีนายสราวุธ แยเปียกู่ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
สาเหตุที่ชาวอ่าข่าย้ายมา เนื่องจากที่เดิมไม่มีพื้นที่เพียงพอในการทำมาหากินและสภาพภูมิประเทศไม่เหมาะกับการจัดตั้งชุมชน รวมทั้งผู้คนในชุมชนเดิมไม่มีความสามัคคี มีความคิดที่แตกต่างกัน มีผลประโยชน์ไม่ลงรอย และมีการปล้นทรัพย์ทำร้ายร่างกายถึงขั้นเอาชีวิตจึงทำให้ได้ย้ายมาอยู่ในที่ปัจจุบัน และเหตุผลที่เลือกที่ตั้งหมู่บ้านที่อยู่ปัจจุบัน เพราะมีสภาพมิภูประเทศและมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งมีพื้นที่เพียงพอและเหมาะแก่การทำมาหากิน
ชุมชนห้วยโก๋ ได้เคยประสบกับการติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมู่บ้าน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ซึ่งในเหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้ห้วยโก๋ได้รับคำชมเชยในการจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบ และเชื้อโควิด-19 ไม่แพร่กระจายไปที่อื่น
พื้นที่หมู่บ้านทั้งหมด 15,238 ไร่ แบ่งออกเป็นส่วน ดังนี้
- ที่ดินทำกิน 2,595 ไร่
- พื้นที่ป่าชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับกรมป่าไม้ 10 ไร่
- พื้นที่ป่าที่ดูแลจัดการไฟ 12,643 ไร่
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดกับ บ้านปางมะเยา ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านแม่จอน ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
- ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านปางตอง ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านปางแดง ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
พื้นที่สาธารณะ
- สนามฟุตบอลกลางแจ้ง
- สนามวอลเลย์บอล
- สำนักสงฆ์บ้านผาลาย
- โบสถ์คริสตจักร 3 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเล็กบ้านผาลาย
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" บ้านผาลาย (ศศช.)
สาธารณูปโภคในชุมชน
- แท็งก์น้ำระบบประปาชุมชน 5 แห่ง
- อินเทอร์เน็ตประชารัฐ
- มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือนโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเชียงดาว
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
- ถ้ำมี 3 ถ้ำ ได้แก่ ถ้ำต้นม่วง ถ้ำห้วยโก๋ ถ้ำเสือ
- ผาลาย ผาแดง จุดปิ่นผา จุดชุมวิว
ทรัพยากรทางธรรมชาติ
- เขตป่าสงวน เขตป่าอุทยานแห่งชาติศรีลานนา แหล่งน้ำห้วยโก๋ ห้วยแม่พริก ห้วยยาว และห้วยต้นยาง ต้นจันทร์ผา ดอกเทียงนกแก้ว เลียงผา หมูป่า ไก่ฟ้า นกยุง เก้ง กวาง ฟาน
พื้นที่ที่มีกิจกรรมทางสังคม
- สนามฟุตบอลชุมชน
- อาคารอเนกประสงค์บ้านผาลาย
- ลานกลางแจ้งโบสถ์คริสตจักร
ตารางแสดงข้อมูลประชากรบ้านผาลาย หมู่ที่ 16 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
ลำดับที่ | ชื่อหย่อมบ้าน | จำนวนประชากรชาย | จำนวนประชากรหญิง | รวมทั้งหมด | จำนวนครัวเรือนทั้งหมด |
1 | หย่อมบ้านอ่าข่า | 192 | 158 | 350 | 52 |
2 | หย่อมบ้านลีซู | 258 | 263 | 521 | 73 |
3 | หย่อมบ้านปกาเกอะญอ | 54 | 48 | 102 | 27 |
ระบบเครือญาติ
1. Yelmq guq | เยหลุ่มกู่ | 9 หลังคาเรือน |
2. Cemeeq guq | เชอหมื่อกู่ | 15 หลังคาเรือน |
3.Mepoev guq | หมม่อโป๊ะกู่ | 10 หลังคาเรือน |
4.Ghoeqzeeq guq | หวุ่ยยื่อกู่ | 9 หลังคาเรือน |
5.Arsanr guq | อาซึงกู่ | 3 หลังคาเรือน |
6.Zesawq guq | เยส่อกู่ | 1 หลังคาเรือน |
7.Yaerbyan guq | แยเบียงกู่ | 1 หลังคาเรือน |
8.Baejae guq | แบแจกู่ | 1 หลังคาเรือน |
9.Arnyi guq | อายีกู่ | 1 หลังคาเรือน |
10.Meeqlaeq guq | หมื่นแลกู่ | 1 หลังคาเรือน |
11.แซ่ย่าง | 1 หลังคาเรือน |
ปกาเกอะญอ, ลีซู, อ่าข่า
ประชาชนในชุมชนบ้านผาลายมีการรวมกลุ่มกันแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย
กลุ่มอย่างเป็นทางการ เช่น กลุ่ม อสม. และกลุ่ม ชรบ.
อาชีพหลักด้านเกษตร เช่น ปลูกมะม่วง ลำไย ข้าวโพด ถั่วดิน ถั่วดำ
อาชีพเสริม กลุ่มจัดทำโฮมสเตย์ และกลุ่มหัตถกรรม (ผ้าชนเผ่า)
เครือข่ายการค้าขาย/แลกเปลี่ยนภายใน-ภายนอกชุมชน
- หัตถกรรมบ้านปางแดงใน
- พิพิธภัณฑ์เรียนรู้ราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่
- สถาบันวิจัยพัฒนาพื้นที่สูง
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" บ้านผาลาย (ศศช.)
- โครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อการท่องเที่ยววิถีชาติพันธุ์ (องค์การแพลนอินเตอร์เนชั่นแนล)
การออกไปทำงานนอกชุมชน ผู้คนในชุมชนที่ออกไปทำงานนอกชุมชน มีทั้งไปทำงานในต่างจังหวัด และต่างประเทศ ร้อยละ 70% ของประชากรในชุมชน
การเข้ามาทำงานในชุมชนของคนต่างถิ่น ผู้คนต่างถิ่นที่เข้ามาทำงานในชุมชน จะเป็นลักษณะการเข้ามารับจ้างเป็นรายวันไปกลับทำงานด้านการเกษตร เช่น พี่น้องไต (ไทยใหญ่) พี่น้องดาราอาง รับจ้างเก็บข้าวโพด เก็บถั่วดิน ถั่วดำ เป็นต้น
องค์กรภายนอกที่เข้ามาทำงานในชุมชน
- กำนันผู้ใหญ่บ้านเขตอำเภอเชียงดาว
- โรงพยาบาลเชียงดาว
- ที่ว่าการอำเภอเชียงดาว
- สถาบันวิจัยพื้นที่สูงบ้านปางแดงใน
- องค์การแพลนอินเตอร์เนชั่นแนล
- เกษตรอำเภอ
- IMPECT
ผังโครงสร้างองค์กรชุมชน
ปฏิทินกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน ดังนี้
เดือน | กิจกรรมเพาะปลูกและเทศกาล |
1 | เก็บเมล็ดพันธุ์, เก็บตกข้าวโพด/ข้าวสาลีดอย, ปีใหม่อ่าข่า |
2 | ตากถั่วลิสง, เดินป่า, ปักผ้า |
3 | เดินป่า, ปักผ้า |
4 | ดับไฟป่า ทำแนวกันไฟ, ฝากั้นน้ำ (ฝายชะลอน้ำ), เตรียมพื้นที่เพาะปลูก, ปีใหม่อ่าข่าพุทธ |
5 | ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวโพดหวาน |
6 | เก็บมะม่วงน้ำดอกไม้, ปลูกข้าวไร่,เก็บข้าวโพดหวาน |
7 | เก็บมะม่วงน้ำดอกไม้, ปลูกข้าวไร่,เก็บข้าวโพดหวาน |
8 | เก็บลำไย, ตีถั่ว, เก็บน้อยหน่า, ปลูกถั่ว |
9 | เก็บลำไย, ตีถั่ว, เก็บน้อยหน่า, ปลูกถั่ว |
10 | เก็บข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ |
11 | เก็บถั่วลิสง, กินข้าวใหม่ |
12 | เก็บถั่วลิสง, คริสต์มาส |
ปราชญ์ชาวบ้านด้านสมุนไพร
- นายอาแยะ แปแจ อายุ 78 ปี
- นายบูกุ อาหยิ อายุ 49 ปี
- นางหมีต๊ะ หม่อโป๊ะกู่ อายุ 57 ปี
ปราชญ์ชาวบ้านด้านงานจักสาน
- นายอาแยะ กู่แก้ว อายุ 68 ปี
- นายอาเซ อาซอง อายุ 65 ปี
- นางหมี่โฉ่ เยหลุง อายุ 69 ปี
ทุนมนุษย์
เป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรม มีสามพี่น้องชนเผ่าที่อาศัยอยู่ร่วมกัน และมีปราชญ์ชาวบ้านด้านสมุนไพร และด้านงานจักสานหลายคน เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ และสามารถส่งต่อ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับคนรุ่นต่อไปเพื่อดำรงรักษาไว้ไม่ให้เลือนหายไป
ทุนกายภาพ
ชุมชนมีพื้นที่กว้างใหญ่ ธรรมชาติล้อมรอบที่มีความอุดมสมบูรณ์ ร่วมกับการจัดการพื้นที่ธรรมชาติที่เป็นระบบระเบียบ อย่างพื้นที่ดูแลจัดการไฟป่า
ทุนเศรษฐกิจ
ชุมชนมีแหล่งกู้ยืมเงิน กองทุนต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาธุรกิจชุมชน และเพื่อเป้าหมายอื่น ๆ หลายแห่ง เช่น กองทุนเงินล้าน กองทุน SME บ้านผาลาย กองทุนฌาปณกิจสงเคราะห์ กองทุนสตรีและเยาวชน เป็นต้น
ภาษาที่ใช้พูด ใช้ภาษาไทยเป็นภาษากลางในการสื่อสารกับคนภายนอก หากสื่อสารกับภายในกลุ่มตนเองใช้ภาษาแต่ละชาติพันธุ์ในการสื่อสาร
ตัวอักษรที่ใช้เขียน อักษรละติน (อังกฤษ)
สถานการณ์การใช้ภาษาของผู้คนในชุมชน ปัจจุบันกำลังจะสูญหาย เนื่องจากเด็กพูดและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารมากกว่าในชีวิตประจำวัน ขณะเดียวกันผู้เฒ่าก็ต้องสื่อสารกับลูกหลาน จึงจำเป็นต้องใช้ภาษาไทยในการพูดคุย
ชาวบ้านผาลายประกอบอาชีพเกษรตกรรมเป็นหลัก เช่น การปลูกมะม่วง ลำไย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ถั่วดิน ถั่วดำ เป็นต้น เป็นเศรษฐกิจเพื่อการค้า โดยนำผลผลิตขายให้กับพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะมารับซื้อถึงพื้นที่ในชุมชนและออกไปขายนอกพื้นที่บ้างบางส่วน
ชุมชนบ้านผาลาย (อ่าข่า) เดิมทีนับถือศาสนาบรรพบุรุษ หลังจากเมื่อ พ.ศ. 2535 ได้ทยอยเปลี่ยนศาสนาโดยนับถือศาสนาคริสต์ เนื่องจากผู้นำที่สามารถทำพิธีกรรมทางศาสนาบรรพบุรุษ เริ่มล้มหายตายจากไปทีละคน และไม่มีลูกหลานที่สามารถสืบทอดต่อได้ และเมื่อ พ.ศ. 2558 บางส่วนก็ไปนับถือศาสนาพุทธ
ด้านสาธารณสุขบ้านผาลายมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่คอยให้การดูแลชาวบ้านและติดต่อประสานงานเบื้องต้นกับโรงพยาบาลเชียงดาว
อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
เชียงดาว
- เป็นชุมชนที่มีประสบการณ์การขับเคลื่อนในการผลักดันให้เกิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชน โดยคนในชุมชนได้ร่วมกันสร้างโรงเรียนขึ้นมา และผลักดันให้เข้าไปอยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. เชียงดาว ได้สำเร็จ
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.