Advance search

แลจืออ่าข่าภู

แม่จันใต้ อยู่สูงเด่น เห็นสง่า เผ่าอ่าข่า น่าอยู่ ดูหลากหลาย ห้วย น้ำ ป่า อุดมดิน ถิ่นชา กาแฟไทย ปวงรวมใจ ให้ยิ่งใหญ่ ไพรพนา ร่วมสืบสาน วัฒนธรรม ดินน้ำป่าอันทรงค่า จารึกไว้ ในแดนดง

หมู่ที่ 25
แม่จันใต้
ท่าก๊อ
แม่สรวย
เชียงราย
อบต.ท่าก๊อ โทร. 0-5372-4217-8
สันติกุล จือปา
10 ต.ค. 2023
สันติกุล จือปา
20 ต.ค. 2023
ปริญญ์ รุจิรัชกุล
16 ก.ค. 2024
แม่จันใต้
แลจืออ่าข่าภู

แลจืออ่าข่าภู คือ ชื่อของคนที่บุกเบิกก่อตั้งหมู่บ้าน ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อทางการเป็น บ้านแม่จันใต้ ที่มาของชื่อแม่จันใต้ สมัยก่อนคนในชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่อำเภอแม่จันต่อมาได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งหมู่บ้านที่นี่


แม่จันใต้ อยู่สูงเด่น เห็นสง่า เผ่าอ่าข่า น่าอยู่ ดูหลากหลาย ห้วย น้ำ ป่า อุดมดิน ถิ่นชา กาแฟไทย ปวงรวมใจ ให้ยิ่งใหญ่ ไพรพนา ร่วมสืบสาน วัฒนธรรม ดินน้ำป่าอันทรงค่า จารึกไว้ ในแดนดง

แม่จันใต้
หมู่ที่ 25
ท่าก๊อ
แม่สรวย
เชียงราย
57180
19.479832790770505
99.32339196696711
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ

บ้านแม่จันใต้ หมู่ที่ 15 ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 มีประชากร 234 คน 39 ครัวเรือน โดยการนำของนายแลจือ จือปา เดิมทีอาศัยอยู่บ้านดอยงามหมู่ที่ 15 ต่อมาได้จัดตั้งหมู่บ้านแห่งใหม่จำนวน 8 หลังคาเรือน เนื่องจากมีปัญหาที่ดินทำกินไม่เพียงพอและเกิดการเปลี่ยนแปลงทางศาสนา โดยได้ชื่อว่าแลจืออ่าข่าภู ต่อมาทางการได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านแม่จันใต้

ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกไม้ผลเมืองหนาว ชา และกาแฟ ปัจจุบันกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและสามารถพัฒนาสู่ตลาดระดับโลกรวมถึงกระบวนการขั้นตอนการผลิตกาแฟคุณภาพ สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรผสมผสาน เป็นชุมชนต้นแบบการศึกษาดูงาน กระบวนการผลิตชา กาแฟ ตั้งแต่การปลูกในพื้นที่ป่าจนเป็นผลิตภัณฑ์

ปัจจุบันชุมชนบ้านแม่จันใต้ยังมีทุนเดิมทางวัฒนธรรมประเพณี พิธีกรรม ตามความเชื่อดั้งเดิมของบรรพบุรุษและยังมีการประกอบพิธีกรรม ประเพณีตามฤดูกาลปฏิทินอ่าข่ารอบ 1 ปี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นมรดกที่บรรพบุรุษสร้างมาไว้ให้กับคนอ่าข่า ชุมชนบ้านแม่จันใต้ได้ตระหนักให้ความสำคัญ จึงอยู่คู่กับชุมชนจนมาถึงทุกวันนี้

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่ 28 บ้านใหม่จะคะ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเวียงป่าเป้า
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเวียงป่าเป้า
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพร้าว เชียงใหม่

ลักษณะภูมิประเทศ

  • หมู่บ้านตั้งอยู่บนไหล่เขาสูงชัน ในระดับสูงกว่านํ้าทะเล 1,300-1,500 เมตร ฤดูหนาว จะมีอากาศหนาวเย็นมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืนจนถึงสว่าง

การเดินทาง

  • เส้นทางที่ 1 ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 150 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 118 เชียงใหม่-เชียงราย ผ่านอำเภอเวียงป่าเป้า ถึง กม. 110 บ้านแม่ต๋ำ เลี้ยวซ้าย อีก 26 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 45 นาที ถึงบ้านห้วยน้ำขุ่น เลี้ยวซ้าย อีก 2 กิโลเมตร ถึงบ้านแม่จันใต้ สภาพถนนทางขึ้นหมู่บ้านเป็นดินแดง ฤดูฝนการเดินทางลำบาก
  • เส้นทางที่ 2 ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 104 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 118 เชียงราย-เชียงใหม่ ผ่านอำเภอแม่สรวย ถึง กม. 78 บ้านแม่ต๋ำ เลี้ยวขาว อีก 26 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 45 นาที ถึงบ้านห้วยน้ำขุ่น เลี้ยวซ้าย อีก 2 กิโลเมตร ถึงบ้านแม่จันใต้ สภาพถนนทางขึ้นหมู่บ้านเป็นดินแดง ฤดูฝนการเดินทางลำบาก

บ้านแม่จันใต้ ประกอบด้วย 42 ครัวเรือน ประชากร 229 คน ชาย 118 คน และหญิง 111 รวม 229 คน ที่ผ่านมาได้มีการสำรวจข้อมูลตระกูลคนในชุมชนมีประมาณ 10 ตระกูลเรียงตามลำดับ (1) จือปา (2) เชอมือ (3) มาเยอะ (4) เบก่า (5) กาวอ (6) เบเช (7) อาหงี่ (8) แยเบียง (9) เบียงแล และ (10) เบียงโห และชุมชนได้มีการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นจากอดีตถึงปัจจุบันที่ได้มาอยู่อาศัยชุมชนบ้านแม่จันใต้ เป็นรุ่นที่ 5

อ่าข่า

คนในชุมชนบ้านแม่จันใต้ มีการรวมกลุ่มดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

1.วิสาหกิจชุมชนบ้านแม่จันใต้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิตเมล็ดกาแฟ โดยทุกครัวเรือนในชุมชนเข้ามาร่วมเป็นสมาชิก ทั้งหมด 42 ครัวเรือน ได้ดำเนินงานกิจกรรมผลิตเมล็ดกาแฟคุณภาพ ทำการตลาดในเมืองไทยและต่างประเทศ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก องค์กร GIAPSA ประเทศญี่ปุ่น และหน่วยงานองค์กรภาคีเครือข่ายต่าง ๆ

2.กลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวโดยชุมชน (โฮมสเตย์) ได้ดำเนินงานกิจกรรมตั้งแต่ปี 2562 โดยมีสมาชิกในชุมชนมาบริหารจัดการร่วมกัน กิจกรรมที่นำเอาต้นทุนชุมชนมาบริหารจัดการ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน เช่น

  • วิสาหกิจชุมชนผลิตกาแฟคุณภาพ
  • วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ชนเผ่าอ่าข่า
  • การทำเกษตรผสมผสาน

ชุมชนบ้านแม่จันใต้ มีทุนเดิมทางวัฒนธรรมประเพณีพิธีกรรมทางความเชื่อดั้งเดิม และยังมีการประกอบพิธีกรรม ประเพณีตามฤดูกาลปฏิทินของอ่าข่ารอบ 1 ปีครบสมบูรณ์แบบ สิ่งเหล่านี้เป็นมรดกที่บรรพบุรุษสร้างไว้ให้กับชนเผ่าอ่าข่า ดังนี้

  • ประเพณี ไข่แดง โล้ชิงช้า ตีลูกข่าง
  • พิธีกรรม ทำประตูหมู่บ้าน เซ่นไหว้บูชาเจ้าที่ ไล่สิ่งชั่วร้าย

วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ

ประชาชนคนในชุมชนส่วนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกไม้ผลเมืองหนาว ชา กาแฟ ปัจจุบันกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและสามารถพัฒนาสู่ตลาดโลกรวมถึงกระบวนการขั้นตอนการผลิตกาแฟคุณภาพ เป็นแหล่งปลูกกาแฟที่ขึ้นชื่ออันดับต้น ๆ ของประเทศ

 

1.นายหล่อยุ่ม มาเยอะ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2506 ที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง ได้อายุ 20 ได้อพยพมาอาศัยอยู่ที่บ้าน แม่จันใต้ หมู่ 25 ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีบุตรทั้งหมด 6 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 2 คน ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ของชนเผ่า

ทุนกายภาพ

ชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ป่า ภูเขา ที่ล้อมรอบหมู่บ้าน ทัศนียภาพที่สวยงาม รวมไปถึงลำน้ำที่ไหลผ่าน มีความชุ่มชื้น อากาศดีตลอดปี สามารถปลูกพืชผลต่าง ๆ ได้อย่างดี

ทุนวัฒนธรรม

มีการปฏิบัติประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี ที่แสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของอ่าข่า ทำให้วัฒนธรรมของชาวอ่าข่ายังดำรงอยู่

ทุนเศรษฐกิจ

ปัจจุบัน พืชผลที่ขึ้นชื่อที่สุดของบ้านแม่จันใต้ คือ เมล็ดกาแฟที่ปลูกในพื้นที่ ซึ่งมีคุณภาพดี ทำให้ได้รับความสนใจจากวงการธุรกิจกาแฟเป็นอย่างมาก เป็นแหล่งเพาะปลูกกาแฟชั้นดีของประเทศ เมื่อนึกถึงเมล็ดกาแฟของประเทศไทย ผู้คนก็นึกถึงแม่จันใต้เป็นอันดับแรก ๆ ธุรกิจเมล็ดกาแฟจึงเป็นหนึ่งในทุนเศรษฐกิจที่เป็นจุดแข็งของชุมชนนอกเหนือจากวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในธุรกิจการท่องเที่ยว

  • พี่น้องชาวบ้านแม่จันใต้ ใช้ภาษาชนเผ่า (อ่าข่า) เป็นภาษาพูดในการติดต่อสื่อสารสำหรับกลุ่มเผ่าอ่าข่า เป็นหลักส่วนการสื่อสารกับพี่น้องเผ่าอื่น ๆ จะใช้เป็นภาษาไทย
  • ภาษาเขียนใช้อักษรละติน (ภาษาอังกฤษ)

คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ปลูกผลไม้เมืองหนาว ชา กาแฟ ปัจจุบันกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและสามารถพัฒนาสู่ตลาดโลก รวมไปถึงกระบวนการขั้นตอนการผลิตกาแฟคุณภาพ แหล่งปลูกกาแฟอีกพื้นที่หนึ่งที่ขึ้นลำดับต้น ๆ ของประเทศ


ชุมชนบ้านแม่จันใต้มีต้นทุนทางวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อดั้งเดิมของบรรพบุรุษ รวมไปถึงภาษา การแต่งกาย มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และสิ่งสำคัญผู้นำทางจิตวิญญาณเสียชีวิตจากชุมชนไปทีละคนจึงส่งผลการสืบทอดต่อยอดให้กับคนรุ่นใหม่ในชุมชนได้ยากขึ้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 

หล่อยุ่ม มาเยอะ. ผู้นำทางจิตวิญญาณชุมชนบ้านแม่จันใต้. สัมภาษณ์, 10 ตุลาคม 2566

อบต.ท่าก๊อ โทร. 0-5372-4217-8