Advance search

บ้านแม่จร

แหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีของพี่น้องชาติพันธุ์ดาราอาง การแต่งกายผ้าทอที่โดดเด่น ธรรมชาติสวยงาม

หมู่ที่ 11
แม่จอนใน
เชียงดาว
เชียงดาว
เชียงใหม่
อบต.เชียงดาว โทร. 0-5345-5552
ณัฐฎยา มองเมิง
26 ต.ค. 2023
จันทร์ ชมพู
27 ต.ค. 2023
ปริญญ์ รุจิรัชกุล
17 ก.ค. 2024
บ้านแม่จอน
บ้านแม่จร

ตั้งตามชื่อของน้ำตกที่อยู่ใกล้ชุมชน คือ น้ำตกแม่จอน


แหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีของพี่น้องชาติพันธุ์ดาราอาง การแต่งกายผ้าทอที่โดดเด่น ธรรมชาติสวยงาม

แม่จอนใน
หมู่ที่ 11
เชียงดาว
เชียงดาว
เชียงใหม่
50170
19.333247053932837
99.03676853812762
องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว

บ้านแม่จอนใน ตั้งอยู่ที่ หมู่ 11 ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 50170 เป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ดาราอาง

ชุมชนบ้านแม่จอนใน ถือว่าเป็นชุมชนแรกที่เข้ามาอาศัยในเขตอำเภอเชียงดาว เมื่อปี พ.ศ. 2519-2521 มีชนเผ่าเดิม คือ ชนเผ่าพื้นเมืองที่อยู่ก่อนหลังจากนั้นก็มีชาวจีนฮ่อมาทำอาชีพปลูกเมี่ยง ต่อมานายหมั่นแสงซึ่งเป็นชาวดาราอางมารับจ้าง และชักชวนญาติพี่น้องมาจ้างให้กับพ่อเลี้ยงชาวจีนรายนี้เป็นระยะหนึ่ง

หลังจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2522 มีเจ้าหน้าที่ข้าราชการหลายฝ่ายไม่ทราบหน่วยงานมาขับไล่และจับชนกลุ่มนี้ โดยอ้างว่าเป็นพื้นที่ต้นน้ำส่งผลกระทบให้ทรัพยากรป่าไม้ถูกทำลายจึงขับไล่ชาวบ้านออกไป

แต่บางส่วนได้หนีไปและกระจัดกระจายไปอยู่แต่ละที่แต่ละแห่ง บางส่วนได้หนีไปอาศัยไปย้ายอยู่อำเภอแม่อายและอำเภอฝาง ออกจากพื้นที่อำเภอเชียงดาวเป็นบางส่วนเท่านั้นและบางส่วนได้ไปรับจ้างที่อื่นและบางส่วนได้ไปก่อตั้งให้เป็นหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านปางแดงใน บ้านห้วยปง บ้านปางแดงนอกและท่าขี้เหล็ก เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงและบ้านดาราอางที่มีเป็นหลายหมู่บ้านจนถึงปัจจุบันนี้

ส่วนชุมชนบ้านแม่จอนนั้นได้มาก่อตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่อีกครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2532 ที่เรียกกันว่าปางฮ่อ หรือที่รู้จักคือบ้านแม่จอน ปัจจุบันที่ขึ้นกับหมู่บ้านหลักคือ บ้านแม่เตาะหมู่11 ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหย่อมบ้านแม่จอนปัจจุบัน ตั้งอยู่ทิศตะวันออกมีชื่อว่า

แม่จอนในมีผู้นำคนแรกคือ นายบุญ จองคำ ต่อมา นายเสาร์ จองโมง นายจ่าย จองเอ นายลี จองคำ นายอิน จองอู นายน้ำหน่อ ลายเฮือง นายจันทร์ ชมพู

ปัจจุบัน ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ร่วมกันจนถึงปัจจุบันมีชนเผ่าพื้นเมือง อาข่า กะเหรี่ยง ลาหู่ และดาราอางเป็นส่วนมาก มีการนับถือศาสนาพุทธส่วนมาก และศาสนาคริสต์เป็นส่วนน้อย มีจารีตประเพณีและวัฒนธรรมตามความเชื่อแต่ละชนเผ่าแต่ละศาสนาตนเอาที่นับถือ

ชุมชนบ้านแม่จอนตั้งอยู่ในพื้นที่ชันตามร่องเขาและติดกับแม่น้ำลำคลองที่ผ่านกลางชุมชน ในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

สาธารณูปโภค

ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง และการเดินทางค่อนข้างลำบาก สัญญาณโทรศัพท์ยังเข้าไม่ถึงชุมชนบ้านแม่จอน

พัฒนาการของการทำมาหากิน

ดาราอางบ้านแม่จอนทำมาหากินโดยการมีการทำแปลงผักเพื่อมาปลูกผักไว้ทำอาหารแต่ละครอบครัวก็จะทำแปลงผักไว้ใกล้ ๆ บ้านเพื่อสะดวกในการเก็บ ส่วนแรงงานก็จะเป็นการการไปรับจ้าง เช่น เก็บข้าวโพด ถั่ว ลำไย พวกนี้เพื่อแลกกับเงิน 300 บาทต่อวัน อาชีพหลักของดาราอางบ้านแม่จอนก็จะเป็นการทำไร่ทำสวน ส่วนอาชีพรองก็จะเป็นรับจ้างทั่วไป

การถือครองที่ดิน 

ในพื้นที่บ้านแม่จอนยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในการครองครอบที่ดิน เนื่องจากเป็นเขตรับผิดชอบของกรมป่าไม้อำเภอเชียงดาว

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 50 ครัวเรือน จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง ทั้งหมด 279 คน แบ่งเป็น เพศชาย 115 คน เพศหญิง 149 คน พี่น้องลาหู่ 15 คน

  • ผู้ใหญ่วัยทำงาน 105 คน
  • ผู้สูงอายุ 61 คน
  • เยาวชน 58 คน
  • เด็ก 55 คน

ประชากรในชุมชนเป็นดาราอาง 42 ครัวเรือน พี่น้องลาหู่ 8 ครัวเรือน

ดาราอาง, ลาหู่

องค์กรทางเศรฐกิจในชุมชน

แบ่งกันเป็นกลุ่ม ดังนี้ 1.กลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2.ร้านค้า 3.รับจ้าง

กิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ชาวบ้านนอแลส่วนมากทำงานรับจ้างทั่วไปตลอดทั้งปี

กิจกรรมทางวัฒนธรรม

  • เมษายน รดน้ำดำหัว
  • ตุลาคม สลากภัตร
  • ธันวาคม บลอย ซานัม กามาย

1.ดาบูเมิง นายนัน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2502 เดิมมาจากดอยอ่างขางก่อนจะลงมาอาศัยที่เชียงดาวที่ หมู่ 11 ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีลูกทั้งหมด 4 คน

โดยมีบทบาทเป็น หมอเมือง เป็นผู้เปิด-ปิดประตูหอของหมู่บ้าน มีคนไม่สบายจะเป็นคนทำพิธีที่สมาของดาราอาง เมื่อมีข่าวสารจากภายนอก จะทำหน้าที่เป็นคนประกาศข่าวสารให้คนในชุมชนได้รับรู้และทำพิธีงานแต่งให้หนุ่มสาว

ทุนเศรษฐกิจ

ชาวบ้านนอแลรวมตัวกัน ปักผ้า-ทอผ้า ของดาราอางเอามาไว้เป็นกองกลางของหมู่บ้าน และจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งบ้านแม่จอนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และธรรมชาติ ทำให้เป็นทุนในการสร้างอาชีพให้กับชุมชนบ้านแม่จอนนอกจากการรับจ้างทั่วไป

ภาษาที่ชุมชนบ้านแม่จอนใช้ เป็นภาษาเผ่าดาราอาง ในการติดต่อสื่อสารกัน และใช้ภาษาไทยกลางในการสื่อสารกับชาติพันธุ์อื่น และใช้ภาษาเหนือ (กำเมือง) สื่อสารกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ


กรมป่าไม้อำเภอเชียงดาว
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ดาราอาง ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

อบต.เชียงดาว โทร. 0-5345-5552