Advance search

ชุมชนโบราณทางประวัติศาสตร์เนื่องจากมีคูน้ำคันดินล้อมรอบถึง 2 ชั้น เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจของนักวิชาการทางประวัติศาสตร์

หมู่ที่ 1
บ้านตาดทอง
ตาดทอง
เมืองยโสธร
ยโสธร
วิสาหกิจชุมชน โทร. 08-5495-6389, เทศบาลตำบลตาดทอง โทร. 0-4575-6609
ณัฐพล นาทันตอง
13 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
24 เม.ย. 2023
ณัฐพล นาทันตอง
26 เม.ย. 2023
บ้านตาดทอง

บ้านตาดทองตั้งชื่อจาก "ตาด"เป็นชื่อของลำห้วย และ "ทอง" เป็นชื่อของผู้นำการตั้งหมู่บ้านครั้งแรกจึงรวมกันเป็น บ้านตาดทอง


ชุมชนชนบท

ชุมชนโบราณทางประวัติศาสตร์เนื่องจากมีคูน้ำคันดินล้อมรอบถึง 2 ชั้น เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจของนักวิชาการทางประวัติศาสตร์

บ้านตาดทอง
หมู่ที่ 1
ตาดทอง
เมืองยโสธร
ยโสธร
35000
15.76606132702333
104.19149261287941
เทศบาลตำบลตาดทอง

ชุมชนบ้านตาดทอง หมู่ 1 ตั้งอยู่ใน ตำบลตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศตะวันออกประมาณ 5 กิโลเมตร ทิศเหนือติดกับตำบลสิงห์ ทิศตะวันออกติดกับตำบลหนองคู ทิศตะวันตกติดกับตำบลในเมือง และ ตำบลเขื่องคำ ทิศใต้ติดกับตำบลขุมเงิน เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีบ้านเรือนไม่ต่ำกว่า 400 หลังคาเรือน (หมู่ 1) พื้นที่ในบริเวณทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออกของหมู่บ้านเป็นพื้นที่นา ตัวหมู่บ้านห่างจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำชี ห่างจากหมู่บ้านไปทางตะวันตกประมาณ 6 กิโลเมตร ลำน้ำกว้าง ห่างจากหมูบ้านไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร และ ห้วยถ่มห่างจากหมูบ้านไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร

ชุมชนบ้านตาดทอง ตั้งอยู่บนเนินดินซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณ ปรากฏร่องรอยของคูน้ำคันดิน ล้อมรอบ 2 ชั้นอย่างชัดเจน โดยที่ลักษณะของคูน้ำทั้ง 2 ชั้น มีลักษณะเป็นร่องน้ำอยู่ตรงกลางและมีคันดินขนาบข้าง ชุมชนโบราณบ้านตาดทองถือเป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบหลายชั้นดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ลักษณะของชุมชนประเภทนี้พบได้น้อยมากมักพบว่าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และตั้งอยู่ห่างไกลกัน เป็นชุมชนที่มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ชุมชนโบราณบ้านตาดทองเป็นแหล่งโบราณคดีที่นักวิชาการทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้ความสนใจ

ชุมชนบ้านตาดทอง หมู่ 1 ตั้งอยู่ใน ตำบลตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศตะวันออกประมาณ 5 กิโลเมตร

  • ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลสิงห์
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลหนองคู
  • ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลในเมือง ตำบลเขื่องคำ
  • ทิศใต้ ติดกับ ตำบลขุมเงิน

เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีบ้านเรือนไม่ต่ำกว่า 400 หลังคาเรือน (หมู่ 1) พื้นที่ในบริเวณทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออกของหมู่บ้านเป็นพื้นที่นา ตัวหมู่บ้านห่างจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำชี ห่างจากหมู่บ้านไปทางตะวันตกประมาณ 6 กิโลเมตร ลำน้ำกว้าง ห่างจากหมูบ้านไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร และ ห้วยถ่มห่างจากหมูบ้านไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตรชุมชนบ้านตาดทอง หมู่ 1 ตั้งอยู่ใน ตำบลตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศตะวันออกประมาณ 5 กิโลเมตร ทิศเหนือติดกับตำบลสิงห์ ทิศตะวันออกติดกับตำบลหนองคู ทิศตะวันตกติดกับตำบลในเมือง และ ตำบลเขื่องคำ ทิศใต้ติดกับตำบลขุมเงิน เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีบ้านเรือนไม่ต่ำกว่า 400 หลังคาเรือน (หมู่ 1) พื้นที่ในบริเวณทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออกของหมู่บ้านเป็นพื้นที่นา ตัวหมู่บ้านห่างจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำชี ห่างจากหมู่บ้านไปทางตะวันตกประมาณ 6 กิโลเมตร ลำน้ำกว้าง ห่างจากหมูบ้านไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร และ ห้วยถ่มห่างจากหมูบ้านไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร

ปัจจุบันจำนวนประชากรบ้านตาดทองมีประมาณ 2,278 คน 

  • กลุ่มจักสาน
  • กลุ่มทอเสื่อ
  • ผลิตกลองเพล
  • กลุ่มแม่บ้านปลาส้มทรัพย์ตาดทองตำบลตาดทอง
  • กลุ่มแม่บ้านไข่เค็มสมุนไพรตำบลตาดทอง

ชีวิตประจำวันของชาวบ้านโดยมากทำนาเป็นหลัก 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนชุมชนที่สำคัญคือ แหล่งท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในชุมชนโบราณบ้านตาดทองคือ ธาตุก่องข้าวน้อย บ้านตาดทอง ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร อยู่ห่างจากจังหวัดยโสธร ตามทางหลวงหมายเลข 23 ไปทางอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประมาณ 7 กิโลเมตร เลี้ยวเข้าหมู่บ้านตาดทอง ไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงที่ตั้งธาตุก่องข้าวน้อย หรือธาตุตาดทอง หรือธาตุถาดทอง

ธาตุก่องข้าวน้อยก่อสร้างตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดจากลักษณะที่ปรากฏเป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะล้านช้างที่พบอยู่ทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23-25 สมัยอยุธยาตอนปลาย กรุงธนบุรี ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มชนเชื้อสายลาวที่จะ อพยพมาจากเวียงจันทร์ในสมัยธนบุรีที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดยโสธรในปัจจุบันเป็นผู้ก่อสร้างธาตุเจดีย์ไว้เป็นปูชนียสถาน

จากการศึกษาทางโบราณคดีพบว่าบริเวณบ้านตาดทอง เป็นชุมชนโบราณ มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย จนรับวัฒนธรรมแบบทวารวดี โดยพบใบเสมาปักอยู่ทั่วไปในบริเวณหมู่บ้านและเป็นเมืองโบราณในสมัยขอมโดยพบจารึกที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 กล่าวถึง พระเจ้าอีสานวรมันที่ 2 (พ.ศ.1468 – 1471) ได้ส่งพระราชธิดาพร้อมด้วยทาสชายหญิง และทรัพย์สิ่งของเป็นจำนวนมาก เพื่อให้มาเป็นมเหสีของเจ้าชายเมืองนี้ ซึ่งสันนิษฐานว่าจะตั้งอยู่ในบริเวณบ้านตาดทอง ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีลูกหลานของพระวอ พระตา ได้อพยพมาตั้งที่บ้านสิงห์ท่า ซึ่งภายหลังยกฐานะเป็นเมืองยโสธร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ลักษณะทางศิลปกรรม

ธาตุก่องข้าวน้อย หรือธาตุตาดทอง มีโครงสร้างเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐมีฐาน 2 ชั้น ทำเป็นแอวขันตามแบบสถาปัตยกรรมล้านช้าง มีเรือนธาตุเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมีซุ้มจระนำอยู่ทั้งสี่ทิศ ตัวธาตุสูงประมาณ 10 เมตร โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

  • ส่วนฐาน กว้างด้านละประมาณ 2 เมตร ทำบัวคว่ำบัวหงายลดหลั่นกันเป็นแอวขันปากพานและย่อมุมไม้สิบสองทั้งสี่มุม ส่วนบนของฐานจะผายออกเพื่อรับเรือนธาตุ ส่วนฐานสูงประมาณ ๓ เมตร
  • เรือนธาตุ เป็นทรงสี่เหลี่ยม ทำซุ้มจระนำประดับพระพุทธรูปยืนทั้งสี่ทิศ เหนือซุ้มจระนำทำเป็นลายกระหนกประดับ ที่เสาซุ้มจระนำมีดอกจันทร์เทศขนาดใหญ่ประดับเสาละ 1 ดอก ส่วนที่เป็นเรือนธาตุผายออกไปเพื่อรับกับส่วนยอดพระธาตุ
  • ส่วนยอดธาตุ ทำแปลกกว่าสถาปัตยกรรมล้านช้างทั่วไป คือ มีปลียอดเล็กๆ แซมอยู่ทั้งสี่ด้าน โดยเสริมให้ยอดกลางโดดเด่นขึ้น ตัวยอดแซมไม่ได้เป็นซุ้มแต่ทำเพียงอิงฐานของยอดกลางไว้เท่านั้น ลักษณะยอดทำทรงหีบมีกลีบบัวอยู่ที่โคนหีบสูงชะลูดไปสู่คอขวด แล้วหยักเป็นแอวขันคั่นกับยอดสุดเพื่อให้ยอด สุดดูโดดเด่นยิ่งขึ้นส่วนยอดธาตุสูงประมาณ 4 เมตร บริเวณรอบธาตุทำเป็นกำแพงแก้วเตี้ยๆ โอบรอบอยู่ทั้ง 4 ด้านยาวประมาณด้านละ 5เมตร บริเวณด้านตะวันออกของธาตุติดกับกำแพงแก้วมีวิหารก่ออิฐหลังเล็กๆ ประดิษฐานพระพุทธรูป 1 องค์ ก่อขึ้นใน พ.ศ. 2495 โดยช่างบ้านตาดทองบริเวณโดยรอบธาตุมีใบเสมาปักอยู่เป็นกลุ่มๆ ลักษณะใบเสมาเป็นหินทรายแดงแกนกลางสลักเป็นภาพสถูป แบบศิลปะทวารวดี และยังมีธาตุที่สร้างในสมัยหลัง เพื่อเก็บอัฐิตามคตินิยมของชาวอีสานตั้งอยู่รายรอบตัวธาตุด้วย

ธาตุตาดทองนี้มีเรื่องเล่าเป็นนิทานสืบต่อกันมา อธิบายการสร้างธาตุโดยนำไปเชื่อมโยงกับการสร้างพระธาตุพนม ว่ามีผู้คนกลุ่มหนึ่งทราบข่าวว่าจะมีการบูรณะพระธาตุพนม จึงได้พากันรวบรวมของมีค่าจะนำไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนม ได้เดินทางมาถึงบริเวณบ้านตาดทอง พบกับชาวบ้านที่ไปช่วยกันก่อสร้างธาตุ จึงนำถาดทองที่ใช้ใส่ของมีค่าที่จะไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนมมาใส่ไว้ในธาตุนี้ด้วย จึงเป็นที่มาของชื่อ “ธาตุตาดทอง”

ภายหลังตำนานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ได้ถูกนำเข้ามาเป็นเรื่องของการสร้างธาตุองค์นี้ที่เล่ากันมามีใจความโดยย่อว่าลูกชายได้ฆ่าแม่ด้วยอารมณ์วูบเดียวเนื่องจากโมโหหิวข้าวเมื่อสำนึกผิดจึงสร้างเจดีย์สูงเท่าต้นตาลเพื่อเป็นการไถ่บาปของตน ณ ตรงที่แม่ตาย ธาตุก่องข้าวน้อย ตามการสันนิษฐานคงได้ทำการซ่อมแซมมาหลายครั้งแล้ว แต่ไม่มีประวัติอ้างอิงไว้แน่นอน แต่ตามหลักฐานประมาณเอาไว้คาดว่ามีจำนวน 3 ครั้ง คือ

  • การซ่อมครั้งที่ 1 ระหว่าง พ.ศ. 2468 โดยการนำของพ่อกำนันกา เวชกามา (ขณะนั้นเรียกกำนันว่าตาแสง) เพราะสมัยนั้นมีการปกครองตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7 และพระครูอุปัชฌาย์คำสิงห์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสพร้อมกับชาวบ้าน ได้พากันถากถางต้นไม้เถาวัลย์ที่ปกคลุมธาตุออก ธาตุอยู่ในสภาพทรุดโทรม ยอดหักพังเหลือพอเป็นเค้าโครงไว้เท่านั้น จึงได้พากันปั้นอิฐ เผาอิฐเสร็จก็ถึงฤดูทำนาการทำงานซ่อมแซมจึงงดไว้ พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จก็เริ่มทำการซ่อมแซมต่ออีก โดยมอบหมายให้พ่อทิดน้อย น้องชายของพ่อกำนันกา ซึ่งเป็นช่าง อุปกรณ์การซ่อมก็เอาวัสดุพื้นบ้าน มีหิน ปูน ยางบง น้ำแช่หนังควายผสมน้ำอ้อยทรายเท่านั้น ซ่อมเสร็จในปี 2470 ทำบุญฉลอง 3 วัน 3 คืน
  • การซ่อมครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2506 ได้เกิดพายุดีเปรสชั่นพัดแรงฝนตกหนัก ต้นไม้หักพังบ้านเรือนราษฎร ได้รับความเสียหาย จึงทำให้ยอดธาตุก่องข้าวน้อยหักลง ได้รายงานให้กรมศิลปากรทราบ ทางกรมศิลปากรจึงได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมมาซ่อมแซมยอดธาตุก่องข้าวน้อยใหม่
  • การซ่อมครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2522 โดยเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรมาดำเนินการซ่อมเองมาจนถึงปัจจุบัน

ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ใช้ภาษาอีสานหรือภาษาท้องถิ่นในการสื่อสาร

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เทศบาลตำบลตาดทอง. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น 5 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565). สำนักปลัดเทศบาลตำบลตาดทอง

สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี. (2566). บ้านตาดทอง ชุมชนโบราณมีคูน้ำคันดิน. (อนนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566. เข้าถึงได้จาก: https://www.finearts.go.th/fad9

วิสาหกิจชุมชน โทร. 08-5495-6389, เทศบาลตำบลตาดทอง โทร. 0-4575-6609