Advance search

หมู่บ้านนาจอกเป็นที่รู้จักของคนท้องถิ่นเมืองนครพนมว่าเป็น “หมู่บ้านคนเวียดนาม” แต่ปัจจุบันบ้านนาจอกเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวไทย และชาวเวียดนามในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในนาม “หมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนาม”

หมู่ 5
บ้านนาจอก
หนองญาติ
เมืองนครพนม
นครพนม
วิสาหกิจชุมชนโทร. 08-8036-6218, เทศบาลหนองญาติ โทร. 0-4250-3713
ณัฐพล นาทันตอง
13 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
24 เม.ย. 2023
ณัฐพล นาทันตอง
26 เม.ย. 2023
บ้านนาจอก

ชื่อบ้านนาจอก มาจากสภาพพื้นที่ที่ทำนาข้าวของชาวบ้านในสมัยก่อนนั้นมีจอกแหนอยู่เนจำนวนมาก ดังนั้นชาวบ้านจึงเรียกสภาพพื้นที่นาที่มีจอกแหนว่า นาจอก 


ชุมชนชนบท

หมู่บ้านนาจอกเป็นที่รู้จักของคนท้องถิ่นเมืองนครพนมว่าเป็น “หมู่บ้านคนเวียดนาม” แต่ปัจจุบันบ้านนาจอกเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวไทย และชาวเวียดนามในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในนาม “หมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนาม”

บ้านนาจอก
หมู่ 5
หนองญาติ
เมืองนครพนม
นครพนม
48000
17.37682824
104.7620443
เทศบาลตำบลหนองญาติ

หมู่บ้านนาจอกเป็นที่รู้จักของคนท้องถิ่นเมืองนครพนมว่าเป็น “หมู่บ้านคนเวียดนาม” แต่ปัจจุบันบ้านนาจอกเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวไทย และชาวเวียดนามในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในนาม “หมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนาม” ด้วยความเป็นหมู่บ้านของคนเวียดนามในอดีตและความเป็นหมู่บ้านมิตรภาพไทยเวียดนามในปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของประเทศเวียดนามโดยตรง โดยเฉพาะการทำสงคราม อาทิ สงครามต่อต้านฝรั่งเศส และสงครามกับอเมริกา สาเหตุที่คนเวียดนามต้องอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย การก่อตั้งหมู่บ้านนโยบายของรัฐบาลไทยในการควบคุมของเวียดนาม ตลอดทั้งความสัมพันธ์กับกลุ่มคนภายนอก ด้วยเหตุนี้ส่งผลให้หมู่บ้านนาจอกแตกต่างไปจากหมู่บ้านชนบทของภาคอีสานทั่วไป

การก่อตั้งหมู่บ้านนาจอกนั้นตั้งขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่จากการบอกเล่าของผู้อาวุโสในหมู่บ้านพบว่า ในปี พ.ศ.2441 นั้นศาลเจ้า “ด่ายเวือง” ประจำหมู่บ้านได้ถูกสร้างขึ้นแล้ว ผู้อาวุโสเล่าว่า การก่อตั้งหมู่บ้านต้องเกิดขึ้นก่อนการตั้งศาลเจ้าราวไม่เกิน 5 ปี เพราะเดิมทีนั้นคนเวียดนามจะตั้งบ้านเรือนขึ้นก่อน จากนั้นจึงจัดหาพื้นที่สำหรับสร้างศาลเจ้าเพื่อไว้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมและเป็นที่พึ่งพาจิตใจของชาวบ้าน ดังนั้นการตั้งหมู่บ้านจึงต้องเกิดขึ้นก่อน พ.ศ.2441 อย่างแน่นอน และกว่าจะมาเป็นบ้านนาจอก หมู่ที่ 4 ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เดิมนั้นแบ่งออกเป็น 2 หมู่บ้านคือ บ้านต้นผึ้ง ซึ่งมีขุนเดช บำรุง เป็นผู้ใหญ่คนแรก และบ้านใหม่ มีผู้ใหญ่คนแรกคือ หมื่นมนัส ประชา

ชื่อบ้านนาจอก เป็นชื่อทางรายการตั้งให้ใหม่เมื่อรวมสองหมู่บ้านเข้าด้วยกันเพื่อง่ายต่อการปกครอง สำหรับคำว่า “นาจอก” พบว่า ตั้งขึ้นตามลักษณะสภาพภูมิประเทศเหมือนหมู่บ้านอีสานทั่วไปที่มักจะตั้งชื่อบ้านตามสภาพของหมู่บ้าน จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสเล่าว่า เดิมบ้านนาจอกเป็นที่รู้จักในกลุ่มคนไทยเชื่อสายเวียดนามว่า บ้าน “หมี่ ฮวา” ที่มีความหมายว่า หมู่บ้านที่ไม่มีการแบ่งแยกพวก แต่ก็ยังพบว่าชื่อบ้าน หมี่ ฮวา ที่ว่านี้ เป็นที่รู้จักกันเฉพาะกลุ่มผู้อาวุโสเท่านั้น และการตั้งชื่อหมู่บ้านแบบเวียดนามนั้นมักจะตั้งชื่อหมู่บ้านให้มีความหมายไปในทางที่ดี สะท้อนให้เห็นถึงการปรองดองสามัคคี และเน้นความหมายที่จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้อยู่อาศัย เช่น หมู่บ้านกิมเลียนบ้านเกิดของโฮจิมินห์ ถ้าแปลความหมายคำว่า กิมเลียน จะแปลว่า เข็มทอง เพราะคำว่า กิม แปลว่า เข็ม และ เลียน แปลว่า ทอง ซึ่งมีความหมายไปในทางที่ดี

ก่อนที่คนไทยเชื้อสายเวียดนามกลุ่มนี้จะมาตั้งหมู่บ้านขึ้นที่บ้านนาจอกนั้น เดิมได้อาศัยที่บ้านคำเกิ้ม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม ซึ่งพบว่า อยู่ห่างจากบ้านนาจอกไปทางทิศเหนือราว 4 กิโลเมตร บ้านคำเกิ้มเดิมเป็นที่อยู่อาศัยของคนเวียดนาม.2420 เป็นคนเวียดนามที่อพยพเข้ามาเพราะหนีการปราบปรามของฝรั่งเศส และบางส่วนอพยพมาเพราะความอดอยาก และเมื่อเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ กลุ่มชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่จึงอพยพแยกย้ายกันไปอยู่ที่อื่น ซึ่งพบว่ามี บ้านโพนบก บ้านราชควาย บ้านนาจอก บ้านดอนโมง และบ้านหนองแสง ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บริเวณรอบ ๆ เขตเทศบาลเมืองนครพนมปัจจุบัน

สำหรับการอพยพมาอยู่อาศัยที่บ้านนาจอกของชาวเวียดนามพบว่า คนเวียดนามมักจะแสวงหาแหล่งทำมาหากินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยเป็นหลัก ครั้นมาถึงพื้นที่ใกล้เคียงบึงหนองญาติจึงได้คิดตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย ชื่อของหมู่บ้านนาจอก เป็นเพราะที่นาส่วนใหญ่มีสุนัขจิ้งจอกจำนวนมาก จึงเรียกว่าบ้านนาจอก ต่อมาเพื่อความเป็นระเบียบและง่ายต่อการปกครองจึงได้มีการรวมบ้านนาจอกและบ้านห้วยผึ้งเข้าเป็นหมู่บ้านเดียวกัน และมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “บ้านนาจอก” ตามพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ พ.ศ2475

กลุ่มที่ร่วมกันตั้งหมู่บ้านพบว่า เป็นคนเวียดนามมาจากจังหวัดฮาติงและจังหวัดกวางบิงห์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ติดกัน ตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศเวียดนาม ผู้นำของกลุ่มคนดังกล่าวคือหมื่นมนัส ประชา นายเทียด วรหาญ นางรำ วรหาญ ซึ่งเดิมต่างอาศัยอยู่บ้านคำเกิ้ม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนมด้วยกันทั้งสิ้น ในช่วงแรกนั้นมีจำนวนครัวเรือนไม่เพียงพอสำหรับการตั้งหมู่บ้าน กลุ่มผู้นำจึงได้ปรึกษาการือกันเพื่อหาวิธรตั้งหมู่บ้านให้ถูกต้องตามระเบียบราชการ ดังนั้นจึงมีการสร้างบ้านเรือนขึ้นให้ครบตามจำนวนที่ทางราชการกำหนด โดยทำทีว่า ในช่วงเช้าชาวบ้านมีการหุงหาอาหาร และให้คนไปแจ้งให้ทางราชการมาตรวจสอบก็พบว่าเป็นไปตามที่แจ้งจริง โดยชาวบ้านบอกกับทางราชการไปว่าเจ้าของบ้านหลายหลังไปหาฟืน ทำไร่ เก็บของป่าที่บ้านอื่น และในระยะต่อมาจึงสามารถตั้งหมู่บ้านนาจอกขึ้นอย่างเป็นทางการได้

ปัจจุบันบ้านนาจอกมีผู้ใหญ่บ้านมาแล้วจำนวน 13 คนมีครัวเรือนทั้งสิ้น 140 ครัวเรือน กลุ่มชาติพันธ์ส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายเวียดนาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทยเชื้อสายเวียดนามรุ่นลูก รุ่นหลาน และยังพบว่า มีกลุ่มคนเวียดนามรุ่นแรกที่ยังมีสถานะต่างด้าวและคนไทยเชื้อสายเวียดนามรุ่นใหม่ที่อพยพเข้ามาอาศัยช่วงสงครามอินโดจีนอาศัยรวมอยู่ด้วย นอกจากั้นยังพบว่ามีกลุ่มชาติพันธ์ผู้ไทที่อาศัยรวมอยู่ในหมู่บ้าน และด้วยความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีโฮจิมินห์เข้ามาเคลื่อนไหวกู้ชาติ และในปัจจุบันบ้านนาจอกได้พัฒนาขึ้นเป็นหมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนาม เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเวียดนาม

หมู่บ้านนาจอก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดนครพนม ห่างจากตัวอำเภอเมืองและตัวจังหวัดนครพนม 4 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ  ติดกับ ตำบลนาราชควาย
  • ทิศใต้  ติดกับ ตำบลคำเตย
  • ทิศตะวันออก  ติดกับ ตำบลท่าค้อ     
  • ทิศตะวันตก  ติดกับ ตำบลทราย

ปัจจุบันจำนวนประชากรบ้านบัวมีทั้งหมด 1,254 คน หลังคาเรือนทั้งหมด 129 หลังคาเรือน โดยกลุ่มคนส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายเวียดนามและมีกลุ่มคนผู้ไทอาศัยรวมอยู่ในหมู่บ้านนี้ด้วย 

ชาวบ้านนากจอกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ด้านลักษณะทางวัฒนธรรมจะมีเอกลักษณ์ของประเทศเวียดนาม เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีเชื้อสายเวียดนาม จึงยังคงต้องรักษาวัฒนธรรมเวียดนามเอาไว้เป็นอย่างดีเช่น ภาษาพูด การแต่งกาย อาหารเวียดนาม เป็นต้นและมีกลุ่มวิสาหกิจ ดังนี้

  • วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยววิถีเกษตรและวัฒนธรรมบ้านนาจอก

ชาวบ้านส่วนมากทำการเกษตรเมื่อว่างเว้นจากการทำการเกษตรก็จะทำงานรับจ้างทั่วไป

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
  • หมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนาม บ้านนาจอก เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่ครั้งหนึ่งอดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ท่านโฮจิมินห์ได้เคยเข้ามาอาศัยพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แห่งราชอาณาจักรไทย อาศัยอยู่ยาวนานถึง 7 ปี เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานวางแผนกอบกู้เอกราชของเวียดนามจากฝรั่งเศสในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2467-2474 ปัจจุบัน “บ้านลุงโฮ” (บ้านท่านโฮจิมินห์) ได้สืบทอดสู่รุ่นลูกหลานดูแลจัดเป็นพิพิธภัณฑ์บอกเล่าเรื่องราว ชีวประวัติ ของวีรบุรุษแห่งเวียดนาม บริเวณบ้านภายนอก จะมีบรรยากาศอันร่มรื่นด้วยต้นไม้นานาชนิดที่ท่านโฮจิมินห์ได้ปลูกไว้ ได้แก่ มะพร้าว มะเฟือง หมาก พลู กล้วย ส่วนภายในตัวบ้านได้จัดแสดง เครื่องมือเครื่องใช้ ในสมัยที่ท่านพำนักอยู่ ภายในหมู่บ้านนาจอกแห่งนี้ยังมี พิพิธภัณฑ์หมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนาม โดยได้มีการจัดนิทรรศการแสดงประวัติของท่านโฮจิมินห์ และยังมี “อนุสรณ์สถานของอดีตประธานาธิบดีโฮจิมินห์”

ภาษาพูดของชาวบ้านนาจอกส่วนใหญ่ จะใช้ภาษาเวียดนามในการสื่อสารกันในหมู่บ้าน ซึ่งภาษาเวียดนามเป็นภาษาแบบพยางค์เดียวมี 6 เสียง ตั้งแต่เสียงสูงไปจนเสียงต่ำ ซึ่งทำให้พูดเหมือนเสียงดนตรี ภาษาเวียดนามไม่ได้เกิดจากภาษาจีน แต่ทว่าได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมจีนโบราณอย่างมาก คำภาษาจีนหลายพันคำเข้ามาปะปนกับภาษาเวียดนามที่ใช้พูดในปัจจุบัน


ประเพณี เทศกาลปีใหม่ถือว่าเป็นวันสำคัญอย่างมากของชาวบ้านนาจอก เนื่องจากว่า เทศกาลปีใหม่ตามจันทรคติ หรือเท็ทเหงียนแดน เป็นเวลาที่สมาชิกครอบครัวรวมกันและถวายเครื่องเซ่นบูชาเพื่อสักการะบรรพบุรุษ เป็นเวลาสำหรับการเยี่ยมเยือน งานนี้ยังถือว่าเป็นโอกาสในการร่วมกินอาหารตามประเพณีเช่น บานทีชัง(ขนมเค้กรูปสี่เหลี่ยมจากข้าวเหนียว) มันมีความหอมที่ทำให้รำลึกงานนี้ได้

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

จตุพร ดอนโสม. (2551). การสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนไทยเชื้อสายเวียดนามบ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาการพัฒนา.มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จรัสพิมพ์ จงสถิตเสถียร. (2552). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา หมู่บ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม.มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อนุสรณ์สถานโฮจิมินห์. (2562). บ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. (ออนไลน์). ค้นคืนเมื่อ 27 เมษายน 2566, จาก https://www.touronthai.com/article/20149

ซุ้มทางเข้าหมู่บ้านนาจอก. (2555).บ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. (ออนไลน์). ค้นคืนเมื่อ 27 เมษายน 2566, จาก https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?

วิสาหกิจชุมชนโทร. 08-8036-6218, เทศบาลหนองญาติ โทร. 0-4250-3713