ชุมชนริมน้ำ ที่ในอดีตเป็นสถานที่ใช้สำหรับฝังศพถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย และภายหลังได้ดำเนินตามแนวพระราชดำรัสจนได้รางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขอันดับ 1 ของจังหวัดนครปฐม
ชุมชนริมน้ำ ที่ในอดีตเป็นสถานที่ใช้สำหรับฝังศพถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย และภายหลังได้ดำเนินตามแนวพระราชดำรัสจนได้รางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขอันดับ 1 ของจังหวัดนครปฐม
ชุมชนบ้านศาลาดิน ตําบลมหาสวัสดิ์ อําเภอพุทธมณฑล เป็นชุมชนริมน้ำที่มีลักษณะเฉพาะแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ในอดีตใช้เป็นสถานที่ฝังศพ เดิมทีเป็นอําเภอนครชัยศรี แต่เมื่อปี พ.ศ. 2519 ทางราชการเห็นว่าอําเภอนครชัยศรีมีเขตการปกครองกว้างเกินไป จึงแยกมาเป็นกิ่งอําเภอพุทธมณฑล และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นอําเภอพุทธมณฑล เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ปัจจุบันชุมชนได้รับการยกย่องให้เป็นหมู่บ้านการท่องเที่ยววิถีชุมชนของจังหวัดนครปฐม และเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิถีชุมชนริมน้ำ เคยได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข ปี พ.ศ. 2561 อันดับ 1 ของจังหวัดนครปฐม
ชุมชนบ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง ต้องเช่าที่ดินทำนาและทำได้เพียงปีละครั้ง ชาวบ้านที่นี่จึงมีความยากจนมาก เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงทราบจึงได้พระราชทานที่ดินส่วนพระองค์ จำนวน 1,009 ไร่ ให้เกษตรกร เมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินเป็นผู้ดูแลจัดสรรที่ดินแปลงละ 20 ไร่ ให้เกษตรกรเข้าทำกิน ในปี พ.ศ. 2520 พระราชทานแนวพระราชดำริหลักเศรษฐกิจพอเพียงและการเกษตรแบบผสมผสานตามลักษณะภูมิสังคมสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น คือ ปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก ปลูกผลไม้ เช่น มะพร้าว มะม่วง กล้วย ขนุน เพื่อสร้างรายได้ระหว่างรอเก็บเกี่ยวข้าว แบ่งพื้นที่ทำแปลงบัวหรือนาบัว ซึ่งสร้างรายได้ให้มากที่สุด เพราะสามารถตัดดอกขายได้ทุกวัน รอบแปลงบัวยังปลูกพืชผักสวนครัว เช่น พริก กะเพรา โหระพา ส่วนในแปลงบัวและท้องร่อง ใช้เลี้ยง ปลานิล และปลาตะเพียน ชุมชนบ้านศาลาดินจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นมาก
ชุมชนศาลาดิน ประกอบด้วย 924 ครัวเรือน และมีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 1,646 คน แบ่งเป็นเพศชาย 724 คน เพศหญิง 922 คน
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านศาลาดิน ตั้งอยู่บนผืนดินพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างชุมชนให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้ชุมชน "สุขพอดี วิถีพอเพียง" เพื่อส่งต่อวิถีทํากินที่จะรักษาผืนดินให้ปลอดพิษ ผลิตอาหารปลอดภัย ใช้ชีวิตสุขพอดี ตามวิถีพอเพียง ให้กับคนรุ่นลูกหลานสืบไปอีกทั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ได้ (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2562; องค์การบริหารส่วนตําบลมหาสวัสดิ์, 2561) มีการจัดกิจกรรมการทําเกษตรอินทรีย์และการจัดการพื้นที่โดยประยุกต์ใช้หลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ เช่น นาข้าวอินทรีย์ (อาหารเพิ่มพลังชีวิต) สวนผักอินทรีย์เพื่อสุขภาวะ (สวนผักสุขภาวะ) และสวนสมุนไพรอินทรีย์วิถีไทย และกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาสุขภาพไทยและสมุนไพร เพื่อให้ความรู้คําแนะนําสาธิตการใช้สมุนไพรเบื้องต้น และองค์ความรู้การกินอาหารไทยให้เป็นยา มีกิจกรรม เช่น กิจกรรมอบสมุนไพร "ขจัดพิษ ฟื้นฟูพลังชีวิต" ได้แก่ สปาโอ่ง และสปากระด้ง กิจกรรมลดอาการปวดข้อ แขน เข่า เบื้องต้นด้วยตนเอง กิจกรรมย้ำเกลือ และสปาแช่เท้า เพื่อช่วยปรับสมดุลพลังชีวิต และกิจกรรมฐานการเรียนรู้ องค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทย เพื่อการประยุกต์ใช้ในครัวเรือน
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการนําชุมชนตามแนวพระราชดําริบ้านศาลาดิน เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้จากความสําเร็จของการจัดการน้ำชุมชน โดยทางชุมชนได้จัดจุดศึกษา 4 จุด เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและผู้สนใจแนวทางการจัดการน้ำของชาวบ้านศาลาดิน จุดที่ 1 ศาลาท่าน้ำ ซึ่งแสดงข้อมูลปัญหาและการจัดน้ำของชุมชน และสาธิตการทํางานของกังหันน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ใช้ในการบําบัดน้ำเสีย พร้อมแพปลูกสมุนไพรสําหรับรับมือหากเกิดอุทกภัย จุดที่ 2 นาบัวสัตตบงกช และผลิตภัณฑ์จากดอกบัว เช่น สบู่ดอกบัว น้ำชาเกสรดอกบัว จุดที่ 3 แปลงเกษตรที่มีการปลูกสวนผสม บนคันกั้นคลอง อาทิ มะละกอ ลําไย พริก มะม่วง ชุมชนมีบริการนํานักท่องเที่ยวเยี่ยมชมวิถีชีวิต ชาวสวนชาวไร่บนรถอีแต๋น ชมวิวทุ่งนาแบบ 360 องศา จุดที่ 4 สะพานคลองโรงเจ ซึ่งแสดงถึงความร่วมมือ ระหว่างชุมชนบ้านศาลาดินและชาวสะพานคลองโรงเจที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการน้ำให้แก่กัน โดยมีการติดตั้งกังหันน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ถังดักไขมัน ถังน้ำหมักจุลินทรีย์บําบัดน้ำเสีย
สายสุดา ปั้นตระกูล. (2564). การจัดการแหล่งเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านศาลาดิน จังหวัดนครปฐม. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8 (1). 95-107. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2567.
มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (ม.ป.ป). บ้านศาลาดิน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. https://www.utokapat.org/