ชุมชนที่เกิดขึ้นจากการอพยพเข้ามาของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่จากประเทศพม่าเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้
แอโก๋ เป็นผู้นําอาวุโสที่ชื่อของเขาถูกใช้เป็นชื่อเรียกชุมชน
ชุมชนที่เกิดขึ้นจากการอพยพเข้ามาของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่จากประเทศพม่าเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้
ประมาณปี พ.ศ. 2487 ชาวบ้านแอโก๋อาศัยอยู่ในเขตประเทศพม่าต่อมาได้ถูกกลุ่มจีนฮ่อรบกวนปล้นจี้ ประกอบกับมีโรคภัยเบียดเบียนจึงย้ายมาสู่บริเวณที่เรียกกันว่า ป่าโป๊ะ ประมาณ 2 ปี จึงย้ายต่อมาอยู่ที่บริเวณที่เรียกกันว่าห้วยมะหลอด ในขณะนั้นมีชาวบ้านประมาณ 30 หลังคาเรือน ซึ่งอยู่ได้อีกประมาณ 2-3 ปี ก็ย้ายต่อไปอยู่ที่ดอยมะกาด ติดชายแดนไทย-พม่า ก่อนย้ายมาสู่โหลางที่บ้านแอโก๋ในปัจจุบัน ในขณะนั้นบ้านแอโก๋ถือเป็นบริวารของบ้านแสนคําลือ ระหว่างนั้นจะมีชาวมูเซอแดงจากเขตอําเภอปาย และจากเขตพม่าอพยพเข้ามาอยู่ร่วมกับแอโก๋เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พอถึงปี พ.ศ. 2516 ได้มีไฟป่าไหม้หมู่บ้านแอโก๋ในเวลากลางวันเสียบ้านเรือนไปประมาณ 40 หลังคาเรือน ซึ่งชาวบ้านที่ถูกไฟป่าไหม้เผาบ้านส่วนหนึ่งได้อพยพไปอยู่ที่แห่งใหม่ คือ ที่หมู่บ้านมูเซอแดงยาป่าแหน หมู่บ้านมูเซอแดงผามอน ที่บ้านแอโก๋ได้มีผู้นําชาวบ้านอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีความคิดเห็นไม่ตรงกับแอโก๋หลายประการ เขามีชื่อว่า จ่าแส ต่อมาจ่าแส จึงชักชวนชาวบ้านแยกตัวออกไปอยู่ที่แห่งใหม่ และกลายเป็นหมู่บ้านมูเซอแดงห้วยแห้งจนปัจจุบันนี้
ชุมชนบ้านแอโก๋ตั้งอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 700-720 เมตร บ้านแอโก อยู่ชายเนินเขาที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านแสนคําลือ มีลําน้ำลางไหลผ่าน ลําน้ำลางนี้มีขนาดใหญ่และมีปริมาณน้ำมากพอใช้ได้อย่างสบายในฤดูแล้ง เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนเนินดินเตี้ยภายในหุบเขา เปรียบเทียบกับหมู่บ้านมูเซอแดงยาป่าแหน ผาเจริญ แสนคําลือ แล้ว นับว่าบ้านแอโก๋ มีน้ำอุดมสมบูรณ์กว่ามาก ภายในชุมชนบ้านแอโก๋จะมีโรงเรียน สถานีอนามัยไว้บริการประชากรจากหมู่บ้านแสนคําลือด้วย
ชาวบ้านแอโก๋มีแหล่งอาศัยเดิมอยู่ในเขตประเทศพม่า ก่อนที่ในเวลาต่อมาได้ถูกกลุ่มจีนฮ่อรบกวนปล้นจี้ ประกอบกับมีโรคภัยเบียดเบียนจึงย้ายมาสู่บริเวณที่เรียกกันว่า ป่าโป๊ะ ประมาณ 2 ปี จึงย้ายต่อมาอยู่ที่บริเวณที่เรียกกันว่า ห้วยมะหลอด ซึ่งอยู่ได้อีกประมาณ 2-3 ปี ก็ย้ายต่อไปอยู่ที่ดอยมะกาด ติดชายแดนไทย-พม่า ก่อนย้ายมาสู่โหลางที่บ้านแอโก๋ในปัจจุบัน
1.แอโก๋ เป็นผู้นำอาวุโสที่ชื่อของเขาถูกใช้เป็นชื่อเรียกชุมชน โรงเรียน และสถานีอนามัย แข็งแรง ขยันทํามาหากินเป็นคนรูปร่างท้วมใหญ่แข็งแรง พ่อและแม่แอโก๋เป็นชาวบ้านธรรมดาที่อยู่ในเขตพม่า แอโก๋ได้แต่งงานกับลูกสาวของหมื่นคําลือ ซึ่งเป็นผู้นำหมู่บ้านปางคามหลัว (อยู่ในเขตพม่า) แอโก๋ชอบช่วยเหลือชาวบ้านที่ทุกข์ยากเมื่อเกิดกรณีทะเลาะพิพาทกันภายในชุมชน แอโก๋จะเป็นผู้เข้าไปดำเนินการไกล่เกลี่ยประนีประนอมด้วยวาทศิลป์ที่ดีเยี่ยม ชาวบ้านทั่วไปจึงรักและเคารพเขา
2.จ่านู ผู้นำศาสนาดั้งเดิม ในอดีตบ้านแอโก๋มีผู้นำศาสนาดั้งเดิมชื่อว่าจ่าบี๋ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ทางศาสนาความเชื่อให้กับจ่าอื่อและจ่านู ภายหลังจ่าบี๋ตายจ่าอื่อจึงรับตําแหน่งแทน ต่อมาจ่าอื่อย้ายไปอยู่ที่หมู่บ้านอื่น จ่านูจึงเป็นผู้นำศาสนาต่อเรื่อยมา ท่านเป็นน้องชายของหมื่นคําลือซึ่งเป็นพ่อตาของแอโก๋
3.จ่าจ่อย ผู้นำศาสนาคริสต์มาเผยแพร่ ณ หมู่บ้านแสนคําลือ (ชุมชนแอโก๋รวมกับชุมชนแสนคําลือ) จ่าจ่อยเป็นชาวมูเซอเหลือง (ลาหูชี) เกิดจากพม่าก่อนอพยพเข้ามาสู่เขตประเทศไทยด้านรอยต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับเชียงราย ชาวบ้านเรียกว่าจ่อยว่า "ล่าหล่า" (ผู้รอบรู้) เขาได้รับความรู้ทางคริสต์ศาสนาจากมิชชั่นนารีชาวต่างชาติก่อนเดินทางมาอยู่ที่เขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยหมู่บ้านแรกที่เขาอพยพครอบครัวจากจังหวัดเชียงรายเข้ามาอยู่อาศัย คือ ที่หมู่บ้านดงมะไฟ ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวมูเซอแดงและชาวลีซออาศัยปะปนกัน ในปี พ.ศ. 2534 ต่อมาทางองค์กรคริสต์ที่เขาสังกัดได้แนะนำให้เขาย้ายมาสู่ชุมชนบ้านแอโก๋ เนื่องจากยังไม่มีผู้ประกาศเผยแพร่คริสต์ศาสนา ในปี พ.ศ. 2535 เขาจึงย้ายครอบครัวเขาจำนวน 6 คน เป็นชาย 4 คน และ หญิง 2 คน จากหมู่บ้านดงมะไฟ มาอยู่ที่หมู่บ้านแอโก๋ ในปี พ.ศ. 2535 เพื่อดำเนินการเผยแพร่คริสต์ศาสนา
โรงเรียน ตชด. สร้างเมื่อ พ.ศ. 2510 ปัจจุบันก่อสร้างเป็นอาคารที่ถาวรมาตรฐาน เปิดทําการสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครูที่สอนเป็น ตชด.
โบสถ์คริสต์ สร้างเป็นหลังถาวรใช้ไม้เนื้อแข็งทั้งหลังพื้นเทปูนซีเมนต์ มีไม้กางเขนอันใหญ่ติดด้านหน้าเขียนอักษรไทยว่า "ทาทาคูมิ" อันเป็นชื่อคริสต์ของกลุ่มชาวเกาหลี โบสถ์นี้อยู่ใกล้กับศาลาประเพณีของบ้านแอโก๋
พิมุข ชาญธนะวัฒน์. (2538). คริสตศาสนากับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวมูเซอแดง : การศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะกรณีระหว่างหมู่บ้านยาป่าแหน กับหมู่บ้านแสนคำลือ ในกิ่งอำเอภปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร.