ชุมชนชาติพันธ์ุลาหู่ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์จากการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของนายจ่าลาที่ได้เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาจนเกิดเป็นชุมชนนี้ขึ้น
เจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐและเอกชนเดินทางมาดําเนินงานที่ชุมชนแห่งนี้เห็นว่าคําว่า "ผักเลิน" ชื่อเดิมนั้นนั้นฟังไม่ไพเราะจึงเปลี่ยนมาเป็นคําว่า "ผาเจริญ" ทั้งนี้เพราะสังเกตเห็นว่าข้างชุมชนทางด้านทิศตะวันออกเป็นภูเขาลูกใหญ่มีหน้าผาสูงชันตั้งอยู่จึงให้เรียกว่า "ผาเจริญ"
ชุมชนชาติพันธ์ุลาหู่ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์จากการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของนายจ่าลาที่ได้เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาจนเกิดเป็นชุมชนนี้ขึ้น
ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทยยังไม่ถือว่าชุมชนบ้านผาเจริญมีสภาพเป็นหมู่บ้าน แต่ถือเป็นหย่อมบ้านบริวารของหมู่บ้านยาป่าแหน คําว่า "ผาเจริญ" นั้น ป็นคําที่เปลี่ยนเสียงมาจากคําในภาษาไทใหญ่ ซึ่งชาวไทใหญ่นิยมเรียกบริเวณที่ตั้งชุมชนแห่งนี้ว่า "ผักเลิน" เนื่องจากบริเวณนี้เคยมีพืชชนิดหนึ่งที่สามารถนํามาปรุงเป็นอาหารได้ชื่อว่า ผักเลิน ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2530 บริเวณที่ตั้งชุมชนบ้านผาเจริญนี้ชาวมูเซอแดงหมู่บ้านยาป่าแหนใช้พื้นที่เพาะปลูกทําไร่ฝิ่น ไร่ข้าว ไร่ข้าวโพด นายยาอึคาเป็นสมาชิกหมู่บ้านยาป่าแหนคนหนึ่งได้มาปลูกสร้างกระท่อมพักอยู่อาศัยทําไร่ที่นี่กับเพื่อนบ้านอีกสองหลัง คือนายจ่าเต๊าะ นายมนูญ ต่อมาได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ทั้งสิ้น ชุมชนบ้านผาเจริญเกิดขึ้นเมื่อนายจ่าลาอพยพครอบครัวจากจังหวัดเชียงใหม่มาทําการแพร่ศาสนาคริสต์ที่หมู่บ้านยาป่าแหน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 จนกระทั่งมีผู้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์จำนวน 12 ครอบครัว
ในปี พ.ศ. 2530 เกิดความขัดแย้งกันขึ้นภายในหมู่บ้านยาป่าแหน กลุ่มชาวบ้านยาป่าแหนครอบครัวที่เปลี่ยนมานับถือคริสต์ศาสนาจึงพากันแยกตัวย้ายไปอยู่บริเวณพื้นที่ทําไร่ที่เรียกันว่า ผักเลิน ร่วมกับนายยาอึคาโดยการย้ายไปนั้นมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปคือ ในช่วงแรกชาวบ้านแต่ละหลังเริ่มทะยอยย้ายออกไปและไปช่วยกันปลูกสร้างบ้านที่ชุมชนแห่งใหม่ เมื่อถึงวันอาทิตย์ก็จะเดินทางกลับไปเข้าโบสถ์คริสต์ร่วมกันทําพิธีทางศาสนาที่หมู่บ้านยาป่าแหนเนื่องจากโบสถ์ยังไม่ได้ย้ายมาที่ชุมชน ต่อมาเมื่อชาวบ้านนับถือศาสนาคริสต์ 11 ครอบครัว ย้ายมาแล้วอีก 1 ครอบครัวไม่สามารถย้ายมาได้ เนื่องจากบ้านเขาเป็นบ้านไม้ที่ปลูกตามแบบทรงไทยสร้างด้วยไม้จริงถาวรยากแก่การรื้อแก่การรื้อถอน อีกทั้งนายจ่าลา ผู้นําศาสนาคริสต์ก็ย้ายบ้านของตนมาแล้วพวกเขาจึงช่วยกันกลับไปรื้อโบสถ์ที่หมู่บ้านยาป่าแหน มาสร้างที่ชุมชนแห่งใหม่นี้เพื่อความสะดวกในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาจึงกลายเป็นชุมชนชาวมูเซอแดงที่นับถือศาสนาคริสต์ขึ้นมา ต่อมาเมื่อเจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐและเอกชนเดินทางมาดําเนินงานที่ชุมที่ชุมชนแห่งนี้เห็นว่าคําว่า ผักเลิน นั้นฟังไม่ไพเราะจึงเปลี่ยนมาเป็นคําว่า ผาเจริญ ทั้งนี้เพราะสังเกตเห็นว่าข้างชุมชนทางด้านทิศตะวันออกเป็นภูเขาลูกใหญ่มีหน้าผาสูงชันตั้งอยู่จึงให้เรียกว่า ผาเจริญ ซึ่งชาวบ้านก็ยอมรับ เพราะคํานี้ออกเสียงใกล้เคียงกับคําเรียกชื่อเดิมของสถานที่นั้น
หย่อมบ้านตั้งอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 840-900 เมตร บ้านผาเจริญเป็นหย่อมบ้านบริวารของหมู่บ้านยาป่าแหน ทางการถือว่าขึ้นกับการปกครองดูแลของผู้ใหญ่บ้านยาป่าแหน แต่ชาวมูเซอแดงที่นี้ถือว่าชุมชนตนเป็นหมู่บ้านอิสระจากหมู่บ้านยาป่าแหนในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่สําคัญ เช่น พิธีฉลองปีใหม่ เป็นต้น ชุมชนบ้านผาเจริญเกิดจากการที่ชาวบ้านยาป่าแหนที่นับถือศาสนาคริสต์พากันย้ายบ้านแยกตัวออกมา เมื่อปี พ.ศ. 2530 จากหมู่บ้านยาป่าแหนมาทางหมู่บ้านแม่ละนา 2 กิโลเมตร อยู่ห่างชุมชนบ้านผาเจริญ ตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศที่เป็นเนินไหล่เขาลาดเอียง ตัวชุมชนถูกบีบให้คับแคบยากแก่การขยายขึ้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ด้วยด้านหนึ่งเป็นหน้าผาที่สูงชัน ส่วนอีกด้านเป็นพื้นที่ทําการของหน่วยงานกรมป่าไม้ มีบ่อน้ำ 1 แห่ง ซึ่งอยู่ห่างบ้านไม่ต่ำกว่า 100 เมตร ปัจจุบันชาวบ้านใช้น้ำจากบ่อน้ำนั้นเพื่ออาบและชําระล้างสิ่งสกปรก ส่วนน้ำเพื่อการบริโภคจะใช้จากถังบ่อพักน้ำที่สร้างด้วยถังปูนซีเมนตร์ไว้ภายในหมู่บ้านมี 3 ถัง ซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2536 แล้วใช้ท่อต่อน้ำมาจากดอยที่อยู่สูงกว่าชุมชน ชาวบ้านเชื่อว่าน้ำที่ไหลมาจากพื้นที่ซึ่งอยู่สูงกว่าชุมชนจะเป็นน้ำที่สะอาด
1.นายมนต์ชัย (จ่าลา)
ผู้นําศาสนาคริสต์ชาวบ้านทั่วไปเรียกเขาว่า "ส่าหล่า" ซึ่งเป็นคําไทยภาคเหนือ อันหมายถึงผู้มีความรอบรู้ ทั้งนี้เนื่องมาจากเขาทําหน้าที่อบรมสั่งสอนชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวโยงกับคําสอนทางศาสนาคริสต์ จ่าลามีพ่อชื่อจ่านะ มีแม่ชื่อนาโป๊ะ เดิมพ่อ-แม่ และตัวจ่าลามีครอบครัวอยู่ในเขตพม่าก่อนย้ายมาอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ จ่าลาสามารถอ่านคัมภีร์คริสต์ศาสนาที่แปลเป็นภาษามูเซอ โดยใช้ตัวอักษรโรมันแทนเสียงพูดเขาได้ใช้คัมภีร์นี้เป็นสื่อในการสอนชาวบ้านพร้อมกับการให้ความช่วยเหลือทางด้านยารักษาโรคด้วยลักษณะที่เขาเป็นคนมีทักษะในการพูดโน้มน้าวด้วยการอ้างเหตุและผลชอบช่วยเหลือผู้อื่นทําให้ชาวบ้านยอมรับเขาเป็นผู้นํา ซึ่งความรู้ของเขานั้นได้รับการถ่ายทอดมาจากมิชชั่นนารีที่เดินทางเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาแก่ชาวเขา จ่าลามีดวงตาข้างขวาบกพร่อง 1 ข้าง แต่เขายังสามารถได้ดีเป็นผู้นําในการดําเนินการประกอบพิธีทางศาสนาคริสต์ทุกวันอาทิตย์และวันสําคัญอื่น ๆ เขาอพยพครอบครัวมาสู่หมู่บ้านยาป่าแหนตั้งแต่ พ.ศ. 2524 โดยพาพ่อของเขามาอยู่ด้วย
โบสถ์คริสต์
สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยนายมนต์ชัย (จ่าลา) ผู้นําศาสนาคริสต์มาเผยแพร่ที่หมู่บ้านยาป่าแหนเขาอพยพครอบครัวมาจากจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนการเงินจากองค์กรคริสต์เตียนแบบติส (Baptist) เป็นรายเดือนซึ่งมีสํานักงานตั้งอยู่ที่ตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ จ่าลาเคยได้พบกับพอลและมิชชันนารี International Ministries of TheAmerican Baptist Churches และได้รับความรู้เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาจากบุคคลทั้งสอง ซึ่งชาวมูเซอคริสต์ทั้งหลายจะรู้จักและให้ความเคารพ พอล และอีเวน ลูวิส เป็นอย่างดีในฐานะมิชชั่นนารีที่สามารถพูดภาษามูเซออย่างแตกฉาน จ่าลาเป็นผู้นําชาวบ้านช่วยกันก่อสร้างด้วยไม้ไผ่และใบหญ้าคามีการเข้าร่วมประกอบพิธีในโบสถ์นี้ทุกวันอาทิตย์ และวันสําคัญอื่น ๆ
การเกษตร
พืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะผลไม้เมืองหนาว เช่น อะโวคาโด ท้อ สาลี่ กาแฟ พลับ ที่มีวิธีการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์
พิมุข ชาญธนะวัฒน์. (2538). คริสตศาสนากับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวมูเซอแดง : การศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะกรณีระหว่างหมู่บ้านยาป่าแหน กับหมู่บ้านแสนคำลือ ในกิ่งอำเอภปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร.