Advance search

ชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ผสมผสานระหว่างกลุ่มคนหลายกลุ่มโดยมีจุดเด่นคือ เครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภูมิปัญญาที่ถูกสืบทอดมานาน

สวนใหญ่
เมืองนนทบุรี
นนทบุรี
ทน.นนทบุรี โทร. 0-2589-0500
มะลิวัลย์ คำมานิตย์
30 ก.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
ปวินนา เพ็ชรล้วน
31 ก.ค. 2024
ตลาดท่าน้ำนนทบุรี


ชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ผสมผสานระหว่างกลุ่มคนหลายกลุ่มโดยมีจุดเด่นคือ เครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภูมิปัญญาที่ถูกสืบทอดมานาน

สวนใหญ่
เมืองนนทบุรี
นนทบุรี
11000
13.842411366587115
100.49170837758157
เทศบาลนครนนทบุรี

ชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรีซึ่งในอดีตเรียกกันว่า บ้านบางขวางและบ้านบางตะนาวศรี เริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2179 ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ทรงโปรดให้ขุดทางลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่บริเวณปากคลองบางกรวยไปถึงปากคลองอ้อมที่มีลักษณะคดเคี้ยวขึ้นใหม่เพื่อเป็นการลดระยะเวลาในการเดินเรือ เส้นทางสองฟากฝั่งแม่น้ำสายใหม่ภายในเวลาอันสั้นเริ่มมีผู้คนเข้ามาจับจองปลูกบ้านพักอาศัยและทำสวนผลไม้เป็นอาชีพ ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลายเมื่อเกิดสงครามกับพม่าในทศวรรษที่ 2300 ทำให้ผู้คนอพยพหนีภัยสงครามเข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองนนทบุรีรวมทั้งพื้นที่ว่างตามเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่นี้เป็นจำนวนมาก กลุ่มคนที่อพยพเข้ามาสันนิษฐานว่ามาจากสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มชาวเมืองตะนาวศรีซึ่งอพยพเข้ามาในช่วง พ.ศ. 2302 และกลุ่มชาวบ้านหม้อคลองสระบัวจากอยุธยาที่อพยพเข้ามาใน พ.ศ. 2310 เข้ามาประกอบอาชีพปั้นหม้อดินเผาตามความถนัดเดิมของตน ด้วย เหตุนี้จึงเรียกชื่อชุมชนว่า "บ้านบางตะนาวศรี หรือบ้านหม้อบางตะนาวศรี" ตามต้นสายบรรพบุรุษของผู้คนบริเวณนี้

ส่วนชื่อ "บ้านบางขวาง" นั้นสืบเนื่องมาจากการขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งจากการขุดครั้งนั้นทำให้คลองบางศรีทองที่ขวางอยู่ถูกตัดขาดออกจากกัน โดยต้นคลองยังเรียกชื่อคลองบางศรีทองตามเดิม ส่วนปลายคลองที่ตัดขาดออกมาเรียกชื่อใหม่ว่า "คลองขวาง" ต่อมามีการนำชื่อคลองมาตั้งเป็นชื่อชุมชน โดยเติมคำว่า "บาง" เข้าไปตามธรรมเนียมนิยมของลักษณะการตั้งชื่อชุมชนเก่าแก่ ที่ตั้งอยู่ริมน้ำซึ่งมักตั้งชื่อคำแรกว่า "บาง" หรือ "ท่า" อาณาเขตภายในชุมชนยังแบ่งความสัมพันธ์ตามลักษณะทิศที่ตั้งบ้านเรือนในชุมชนโดยบ้านเรือนที่อยู่บริเวณบ้านบางขวางซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของชุมชน เรียกกันว่า "บ้านบน" และฝั่งบ้านตะนาวศรีอยู่ทิศใต้เรียกว่า "บ้านล่าง"

อาณาเขตของชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรี ซึ่งเรียกชุมชนที่อยู่ในบริเวณนี้ว่า บ้านบางขวางและบ้านบางตะนาวศรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ภายในชุมชนยังมีการแบ่งความสัมพันธ์ของขอบเขตตามลักษณะของทิศที่ตั้งบ้านเรือนในชุมชน โดยแบ่งบ้านเรือนที่ตั้งอยู่บริเวณบ้านบางขวางซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือของชุมชนว่า "บ้านบน" และผู้คนที่อยู่ฝั่งบ้านบางตะนาวศรี ซึ่งอยู่ด้านทิศใต้ของชุมชนว่า "บ้านล่าง"

  • ทิศเหนือ ติดกับ ย่านบางแพรก
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ตําบลตลาดขวัญ
  • ทิศตะวันตก ติดกับ แม่น้ำเจ้าพระยา
  • ทิศใต้ ติดกับ คลองบางตะนาวศรี 

ผู้คนที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรีเป็นการผสมผสานระหว่างกลุ่มคนหลายกลุ่มด้วยกันทั้งคนพื้นถิ่นเมืองนนทบุรีดั้งเดิมรวมกับผู้คนที่อพยพเข้ามาในช่วงปลายสมัยอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรีทั้งกลุ่มคนที่มาจากตอนใต้ของมอญ คือ กลุ่มชาวไทยบางตะนาวศรีและกลุ่มที่มาจากบ้านหม้อคลองสระบัวในอยุธยา วิถีชีวิตของผู้คนจากต่างวัฒนธรรมได้หล่อหลอมในการดํารงชีวิตร่วมกันจนมีลักษณะสังคมที่มีเอกภาพไม่เกิดปัญหาในการแบ่งแยกชาติพันธุ์คนจากต่างถิ่นที่เข้ามาได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาทางด้านหัตถกรรมในการประกอบอาชีพ คือ การทําเครื่องปั้นดินเผา เข้ามาเพิ่มเติมจากอาชีพหลักของคนพื้นถิ่นคือ การทําสวน จนทําให้ลักษณะการประกอบอาชีพส่วนใหญ่ของชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรีมีอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนในสองทางหลักด้วยกัน คือ การทําสวนและการทําเครื่องปั้นดินเผา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

การทําเครื่องปั้นดินเผาของชาวบ้านบางตะนาวศรีนั้นเป็นอาชีพดั้งเดิมจากต้นกําเนิดสายตระกูลที่สืบทอดมาจากชุมชนปั้นหม้อที่เคยอาศัยอยู่ที่คลองสระบัวจังหวัดอยุธยา เมื่ออพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้จึงนําภูมิปัญญาท้องถิ่นเดิมจากที่เคยประกอบอาชีพหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตั้งแต่อยู่ที่อยุธยาเข้ามาเผยแพร่และทําเป็นหัตกรรมท้องถิ่นของชุมชนกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งภูมิปัญญาในการปั้นหม้อที่ได้รับการถ่ายทอดมานั้นทําให้อาชีพการปั้นหม้อของชาวบางตะนาวศรีเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงมากถือเป็นสินค้าที่ทํารายได้ให้กับชุมชนได้อย่างมหาศาล

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภควุฒิ ทวียศ. (2551). วิถีชีวิตชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรี พ.ศ. 2471-2526. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทน.นนทบุรี โทร. 0-2589-0500