Advance search

ชุมชนดั้งเดิมที่มีวัดมากที่สุดในเมืองเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยวัด 7 แห่ง ได้แก่ วัดดอกเอื้อง วัดดอกคำ วัดหมื่นล้าน วัดสำเภา วัดอุโมงค์มหาเถรจันท์ วัดดวงดี และวัดป้านปิงเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมระดับชุมชนทั้งด้านศาสนา ประเพณี และประชาสังคม

ถนนราชภาคินัย
ชุมชนป้านปิง
ศรีภูมิ
เมืองเชียงใหม่
เชียงใหม่
ทน.เชียงใหม่ โทร. 0-5325-9000
จรัสศรี สมตน
7 ส.ค. 2024
จรัสศรี สมตน
7 ส.ค. 2024
ป้านปิง

ชุมชนป้านปิง เป็นชุมชนดั้งเดิมมีที่ตั้งในเขตเมืองเก่าชั้นใน โดยมีวัดป้านปิงเป็นศูนย์กลางของชุมชน วัดป้านปิง หมายถึง เป็นแนวขวางแม่น้ำปิง ไม่ได้หมายถึงสร้างมาเพื่อขวางแม่น้ำปิง และ วัดป้านปิง หมายถึง ภยันอันตรายจากอีกฟากฝั่งของแม่น้ำปิงไม่สามารถข้ามมาได้ ซึ่งในอดีตภัยสงครามที่จะมาเชียงใหม่ได้นั้น ในสมัยพญามังราย กองทัพจากพม่า และกองทัพจากอยุธยา เป็นต้น


ชุมชนดั้งเดิมที่มีวัดมากที่สุดในเมืองเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยวัด 7 แห่ง ได้แก่ วัดดอกเอื้อง วัดดอกคำ วัดหมื่นล้าน วัดสำเภา วัดอุโมงค์มหาเถรจันท์ วัดดวงดี และวัดป้านปิงเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมระดับชุมชนทั้งด้านศาสนา ประเพณี และประชาสังคม

ชุมชนป้านปิง
ถนนราชภาคินัย
ศรีภูมิ
เมืองเชียงใหม่
เชียงใหม่
50200
18.78993078
98.99023086
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีภูมิ

สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนที่มีการตั้งถิ่นฐานมายาวนานจากประวัติการสร้างวัดป้านปิงเป็นศูนย์กลางชุมชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 1910 จากทำเลที่ตั้งในพื้นที่เมืองเก่าชั้นใน แต่หากพิจารณาจากศิลปะรูปทรงเจดีย์และองค์พระประธานในวิหาร มีพระพุทธรูปสิงห์หนึ่ง อาจสันนิษฐานได้ว่า วัดนี้สร้างขึ้นในยุคต้นของอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่สมัยพญามังรายถึงสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. 1839-1934) บริเวณโดยรอบวัดป้านปิงมีคุ้มหรือที่อยู่อาศัยของเจ้านายฝ่ายเหนืออยู่ (ครั้นเจ้านายฝ่ายเหนือสายใดสร้างวัดหรือเป็นผู้อุปถัมภ์วัดก็มีคนของเจ้านายฝ่ายเหนือสายนั้นเกี่ยวพันกับวัด) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในพื้นที่ชุมชนป้านปิงเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนชั้นนำ และไม่ปรากฏเป็นชุมชนเชิงช่างหรือหัตถกรรมใด ๆ

เป็นชุมชนเมืองที่มีศาสนสถานปรากฏอยู่ในพื้นที่ ชาวบ้านมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาและอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิม

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2552). คนเมือง : ประวัติศาสตร์ล้านนาสมัยใหม่ (พ.ศ.2317-2552). กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กนกวรรณ คชสีห์ และ เอกรินทร์ อนุกุลยุทธ. (2562). มิติการใช้พื้นที่สาธารณะและบทบาทความเป็นชุมชนดั้งเดิมในเมืองเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 20(1), 5-18.

เชียงใหม่นิวส์. วัดป้านปิง! วัดที่คุ้มครองอันตรายจากอีกฟากของแม่น้ำปิง. สืบค้น 7 สิงหาคม 2567. https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/971367.

ทน.เชียงใหม่ โทร. 0-5325-9000