Advance search

ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ “กะเลิง”หรือ “ข่าเลิง” เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุกลุ่ม 1 ใน 6 ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร

หมู่ 5 และหมู่10
บ้านบัว
กุดบาก
กุดบาก
สกลนคร
เทศบาลดกุดบาก โทร. 0-4278-4015
ณัฐพล นาทันตอง
13 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
24 เม.ย. 2023
ณัฐพล นาทันตอง
26 เม.ย. 2023
บ้านบัว

ตาศรีวงศ์แก้ว มาตั้งบ้านเรือน เห็นหนองน้ำมีบัวจำนวนมากจึงเรียก “บ้านบัว”


ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ “กะเลิง”หรือ “ข่าเลิง” เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุกลุ่ม 1 ใน 6 ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร

บ้านบัว
หมู่ 5 และหมู่10
กุดบาก
กุดบาก
สกลนคร
47180
17.07242576
103.7851314
เทศบาลตำบลกุดบาก

ชุมชนบ้านบัวและชุมชนที่อยู่ใกล้เตียงท้องที่ตำบลกุดบาด จังหวัดสกลนคร เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุที่เรียกตนเองว่า “กะเลิง” หรือ “ข่าเลิง” เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุกลุ่ม 1 ใน 6 ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร ได้แก่ ผู้ไท หรือภูไท ไทโส้ ย้อ โย้ย ลาวและกะเลิง หมู่บ้านชาวกะเลิงเป็นชนกลุ่มใหญ่ในเขตอำเภอกุดบาก ได้แก่ บ้านกุดแฮด บ้านบัว บ้านทรายแก้ว บ้านหนองสะไน บ้านโพนงาม บ้านหนองค้า บ้านขาม และบ้านกุดบาก ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ “กะเลิง”ปะปนกลุ่มชาติพันธุ์ “ย้อ”

กลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง มาจากการบอกเล่าต่อๆกันมาของผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน ผสมผสานกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง ทำให้สันนิษฐานถึงถิ่นดั้งเดิมและการอพยพ ดังนี้

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล่าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเวียงจันทร์ซึ่งเป็นเมืองประเทศราชของไทยได้ยกทัพเข้ามาในประเทศไทย โดยใช้อุบายหลอกลวงเจ้าเมืองรายทางว่า อังกฤษยกทัพเรือมาตีไทย และทางไทยขอเจ้าอนุวงศ์ให้ยกทัพมาช่วยจึงไม่มีผู้ใดขัดขวาง จนทัพเจ้าอนุวงศ์ลุเข้ามาถึงนครราชสีมา เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นการกระทำที่อุกอาจมาก รัชกาลที่ 3 จึงมีพระบรมราชโองกรให้พระยาราชสุภาวดี(สิง) ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์กองทัพไทยได้ตีเมืองเวียงจันทร์ล้านช้าง รวมทั้งเมืองมหาชัยกองแก้วซึ่งเป็นเมืองบริวาร และได้กวาดต้อนผู้คนเข้ามายังประเทศไทย ในการกวาดต้อนครั้งนี้มีกลึ่มชาติพันธุ์กะเลิงรวมอยู่ด้วย และยังมีการอพยพของชาวกะเลิงครั้งหนึ่งในช่วงสมัยสงครามปราบฮ่อ(พ.ศ.2426-2430) ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4

เมื่อมีการอพยพเข้ามาสู่เขตจังหวัดสกลนคร ได้แยกย้ายกันไปทำมาหากินโดยมีผู้นำคือ ศรีมุกดา จำวงศ์ลา และโททุมพล ซึ่งบุคคลเหล่านี้ต่อมาได้กลายเป็นนามสกุลของชาวกลุ่มชาติพันธุ์ “กะเลิง” บ้านกุดแฮดโดยมีการอพยพเข้ามาอยู่เพิ่มใหม่ในช่วงสงครามปราบฮ่อ ต่อมามีการอพยพมาพักอาศัยอยู่ใกล่หนองน้ำแห่งหนึ่งที่มีจระเข้ ทำให้ชาวบ้านเยกหนองแห่งนี้ว่า “หนองหางเข้” พอมีการกล่าวถึงมากไปจึงเกิดความกลัวจึงมีการอพยพเพื่อหาที่อยู่ใหม่ทำให้ได้ข้อสรุปว่า ต่โถจับจองจับจองที่ข้างหนองน้ำปัจจุบันคือ หนองสะไน และบ้านโพนงาม โดยปัจจุบันนามสกุลคนแถบนี้จึงขึ้นต้นด้วยโถ เช่น โถชารี โถแพงจันทร์ เป็นต้น ถัดมาเป็นบ้านนาขาม มีนายโทจุมพลเป็นผู้ตั้งหมู่บ้าน ตาศรีมุกดาและตาจำวงศ์ลา มาตั้งบ้านที่บ้านกุดแฮดอยู่รวมกันทั้งสองตระกูล เป็นตระกูลใหญ่ภายในชุมชนจนถึงปัจจุบัน ถัดไปทางทิศตะวันตกมีตาศรีวงศ์แก้ว มาตั้งบ้านเรือน เห็นหนองน้ำมีบัวจำนวนมากจึงเรียก “บ้านบัว”

บ้านบัว มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ      ติดต่อกับ  บ้านกุดไห ตำบลกุดไห อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

  • ทิศใต้         ติดต่อกับ   เทือกเขาภูพานเขตตำบลล้านจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

  • ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ  บ้านค้อน้อย ตำยลกุดไห อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ  บ้านค้อน้อย ตำบลนาม่ง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

ชุมชนตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มเทือกเขาภูพานซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดสกลนครเป็นบริเวณที่ต้นน้ำใสใกล้กับภูพาน มีเทือกเขาล้อมรอบและมีความอุดมสมบูรณ์ ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้เป็นแหล่งอาหารและวัตถุดิบในการดำรงชีพของผู้คนในในชุมชน

ปัจจุบันจำนวนประชากรบ้านบัวมีทั้งหมด 5,726 คน มีจำนวนบ้านเรือนทั้งหมด 199 หลังคาเรือน

กะเลิง
  • กลุ่มแม่บ้านทอผ้าไหม

  •  กลุ่มแม่บ้านทอผ้า
  • กลุ่มเลี้ยงสัตว์
  • กลุ่มเพาะพันธ์ไม้

ชีวิตประจำวันของชาวบ้านโดยมากทำนาเป็นหลัก บางท่านมีที่สวนก็จะทำสวนเป็นหลัก

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภาษา “กะเลิง”หรือ “ข่าเลิง” เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุกลุ่ม 1 ใน 6 ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร าษากะเลิงจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic) สาขาภาษามอญ-เขมร (Schliesinger, 2000:61; สุวิทย์ ธีรศาสวัต และณรงค์ อุปัญญ์, 2540) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน นักภาษาศาสตร์มีแนวโน้มที่จะจัดจำแนกภาษากะเลิงอยู่ในสาขาตะวันตกเฉียงใต้ของกลุ่มภาษาไต-กะได (southwestern branch of the Tai-Kadai language group) ในหมวดภาษาออสโตรเอเชียติก (Schliesinger, 2000:61) ในเรื่องนี้ ชลิซิงเกอร์ (Schliesinger, 2000:62) มีความเห็นว่า ในประเทศไทย เขาพบคนเฒ่าคนแก่ชาวกะเลิงส่วนหนึ่งที่ยังสามารถพูดภาษาเดิม (ภาษากะเลิง) ได้ โดยที่ลักษณะภาษานั้นมีต้นกำเนิดใกล้กับภาษามอญเขมรไม่ใช่ภาษาไทย แต่ความเปลี่ยนแปลงของการจำแนก (classification) เช่นนี้ อาจจะเป็นผลมาจากการที่ชาวกะเลิงอาศัยอยู่รวมกับคนไทยเป็นเวลานานจนลืมภาษาเดิมของตัวเอง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศุภดิษฐ์. (2542). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรชีวภาพชุมชน กรณีศึกษา : บ้านบัว ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิทย์ ธีรศาสวัต และณรงค์ อุปัญญ์. (2540). การเปลี่ยนแปลงวิถีครอบครัวและชุมชนอีสาน : กรณีกะเลิง จังหวัดมุกดาหาร. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

ชาวกะเลิง. (2562).ชาวกะเลิง (ข่าเลิง ข่ากะเลิง). (ออนไลน์).ค้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566. จาก https://www.isangate.com/new/11-paothai/146-paothai-khalearng.html  

         

เทศบาลดกุดบาก โทร. 0-4278-4015