ดอยป่าไผ่ ผืนป่าชุมชนหล่อเลี้ยงชาวชาติพันธุ์ สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีกินวอ
บ้านดอยป่าไผ่ ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเรื่องที่มาของชื่อ แต่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของคนในชุมชนจากบ้านโป่งนก ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง และบริเวณต้นลำน้ำ ห้วยไคร้ ติดกับเขตอำเภอแม่สรวย และดอยอ่างข่าง อำเภอฝาง ก่อตั้งเป็น "บ้านดอยป่าไผ่" เมื่อ พ.ศ. 2524
ดอยป่าไผ่ ผืนป่าชุมชนหล่อเลี้ยงชาวชาติพันธุ์ สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีกินวอ
แต่เดิมชาวบ้านเริ่มตั้งถิ่นฐานครั้งแรกเป็นหมู่ที่ 7 บ้านโป่งนก ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายศรีวรรณ ทารัตน์เป็นผู้นำในการก่อตั้งหมู่บ้านดอยป่าไผ่และเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก มาตั้งรกรากครั้งแรกประมาณ 40 ครอบครัว ประกอบด้วย ชาวเขาเผ่าลาหู่จำนวน 38 ครอบครัว และชาวจีนจำนวน 2 ครอบครัว โดยส่วนใหญ่อพยพมาจากต้นลำน้ำ ห้วยไคร้ พื้นที่ติดกับเขตอำเภอแม่สรวย และดอยอ่างข่าง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งเป็น "บ้านดอยป่าไผ่" เมื่อ พ.ศ. 2524 หมู่ที่ 13 ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน
เนื่องจากบ้านดอยป่าไผ่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และถูกอนุรักษ์ให้เป็นป่าชุมชน ประเภทป่าเต๊งรัง โดยมีพืชชนิดสำคัญ เช่น เต็ง รัง ยางเหียง ยางพลวง ประดู่ แดง สะเดา ฯลฯ
มีชาวลาหู่อาศัยอยู่แต่แรกเริ่มในการก่อตั้งหมู่บ้าน โดยในปัจจุบันมีจำนวนประชากรทั้งหมด 545 คน และจำนวนครัวเรือน 132 ครัวเรือน
ไทใหญ่, ลาหู่, จีนยูนนาน(จีนฮ่อ)อาชีพของราษฎรในหมู่บ้านส่วนใหญ่ คือ ทำไร่ ทำสวน ล่าสัตว์
ชาวบ้านดอยป่าไผ่ยังคงสืบสานวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์และประเพณีของชนเผ่าของตน เช่น ประเพณีกินวอ
ผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือ นายศรีวรรณ ทารัตน์ โดยในมัยต่อมาได้แต่งตั้ง นายจ่าหน่อ ประพบ เป็นผู้นำหมู่บ้าน และ นายจะแฮ จะมู เป็นผู้นำชุมชนบ้านดอยป่าไผ่คนปัจจุบัน
ป่าชุมชนบ้านดอยป่าไผ่
กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). บ้านดอยป่าไผ่. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2567. ระบบฐานข้อมูลศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง". https://www.ศศช.com
ข้อมูลสารสนเทศ กรมป่าไม้. (2567). ป่าชุมชนบ้านดอยป่าไผ่. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2567. https://forestinfo.forest.go.th/
ศศช.บ้านดอยป่าไผ่. (2565, 5 กุมภาพันธ์). ภาพกิจกรรมการตั้งเสาวอ. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2567. Facebook. https://www.facebook.com/