Advance search

บ้านปะอาวเป็นชุมชนที่ความเป็นมายาวนาน มีการทำอาชีพที่โดดเด่นคือทำหัตถกรรมเกี่ยวกับทองเหลือง ซึ่งงานทองเหลืองเป็นงานที่ทำด้วยมืองานแต่ละชิ้นก็จะไม่ซ้ำกันเลย

หมู่ 3,4,5,6
บ้านปะอาว
ปะอาว
เมืองอุบลราชธานี
อุบลราชธานี
อบต.ปะอาว โทร. 0-4584-0492
ณัฐพล นาทันตอง
13 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
24 เม.ย. 2023
ณัฐพล นาทันตอง
26 เม.ย. 2023
บ้านปะอาว

ชื่อว่า ปะอาว มีเรื่องเล่าสืบต่อมาว่า ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงยกบ้านห้วยแจะระแมขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานีแล้ว พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ เจ้าเมืองอุบลราชธานี ได้อนุญาตให้ไพร่พลแยกไปตั้งบ้านเรือนทางทิศตะวันตกของเมืองอุบลราชธานี อา และหลานคู่หนึ่งเดินทางมาถึงบริเวณบ้านปะอาวปัจจุบัน อาเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีความเหมาะสมสำหรับการตั้งหมู่บ้าน เพราะว่ามีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ทั้ง 4 ทิศ ได้แก่หนองบัวใหญ่อยู่ทางทิศเหนือ หนองบัวน้อยอยู่ทางทิศตะวันตก หนองหอยอยู่ทางทิศใต้ และหนองบึงอยู่ทางทิศตะวันออก ปัจจุบันแหล่งน้ำทั้ง 4 แห่งดังกล่าวยังคงอยู่ และเป็นแหล่งอาหารของบ้านปะอาว ละหมู่บ้านใกล้เคียง ดังนั้นอาจึงชักชวนหลานให้ตั้งบ้านเรือน ณ บริเวณบ้านปะอาวปัจจุบัน ฝ่ายหลานกลับไม่ชอบบริเวณดังกล่าว หลานจึงขอแยกกับอาหรือภาษาอีสานว่า “หลานจึงป๋ากับอาว” เดินทางไปตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศเหนือของบ้านปะอาว คือบ้านโพนเมืองบักทันในปัจจุบัน ภายหลังคำว่าป๋าอาวกร่อนเป็น ปะอาวตามอิทธิพลของภาคกลาง และคนทั่วไปจึงเรียกหมู่บ้านว่า บ้านปะอาว สืบต่อมาถึงปัจจุบัน


ชุมชนชนบท

บ้านปะอาวเป็นชุมชนที่ความเป็นมายาวนาน มีการทำอาชีพที่โดดเด่นคือทำหัตถกรรมเกี่ยวกับทองเหลือง ซึ่งงานทองเหลืองเป็นงานที่ทำด้วยมืองานแต่ละชิ้นก็จะไม่ซ้ำกันเลย

บ้านปะอาว
หมู่ 3,4,5,6
ปะอาว
เมืองอุบลราชธานี
อุบลราชธานี
34000
15.35618875
104.7235841
องค์การบริหารส่วนตำบลปะอาว

บ้านปะอาว เป็นหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่และเก่าแก่แห่งหนึ่ง ของจังหวัดอุบลราชธานีร่วมสมัยกับจังหวัดอุบลราชธานี คือมีอายุประมาณ 200 ปี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมืองอุบลราชธานี และเป็นหมู่บ้านในเขตปกครองของอำเภอเมืองอุบลราชธานี อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 23 กิโลเมตร ประกอบด้วย 4 หมู่บ้านหมู่ 3,4,5 และ 6 บ้านปะอาวเป็นหมู่บ้านเปิด และมีความพร้อมในการรับความเจริญภายนอกมีบุคคลภายนอกเข้ามาเยี่ยมเยือนหมู่บ้านทุกวัน บางกลุ่มเข้าไปติดต่อซื้อหัตถกรรมพื้นบ้านเพื่อนำไปจำหน่ายในท้องถิ่นอื่น บางกลุ่มนำพาองค์กรต่างๆเข้ามาท่องเที่ยว โดยเฉพ่ะช่วงเทศกาลบุญบั้งไฟ เนื่องจากเป็นงานที่จัดอย่างยิ่งใหญ่และสนุกสนาน ทำให้ผู้คนสนใจเข้ามาท่องเที่ยวช่วงบุญบั้งไฟ

บ้านปะอาวมีบรรพบุรุษที่อพยพมาจากเมืองหนองบัวลุ่มภูหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน” โดยเดินทางมาพร้อมกับพระวอ ซึ่งแตกทัพจากการสู้รบกับกองทัพของเวียงจันทร์ และได้มาอาศัยอยู่ที่ดอนมดแดงกับเจ้าองค์หลวงหรือ เจ้าไชยกุมาร เจ้านครจำปาศักดิ์ซึ่งหนีมาอยู่ที่ดอนมดแดงก่อนแล้ว

พ.ศ. 2334 เกิดกบฏอ้ายเชียงแก้ว โดยอ้ายเชียงแก้วได้ยกกำลังมาล้อมนครจำปาศักดิ์ท้าวคำผงหรือพระปทุมสุรราชภักดี และเจ้าฝ่ายหน้าได้ยกกำลังล้อมจับอ้ายเชียงแก้ว อ้ายเชียงแก้วถูกจับและถูกประหารชีวิต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพอพระทัยจึงโปรดเกล้าฯ ยกฐานะบ้านห้วยแจระแมขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานีและตั้งพระประทุมสุรราชภักดีเป็น พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ ครองเมืองอุบลราชธานีเมื่อ พ.ศ. 2335

เมื่อพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ ได้ครองเมืองอุบลราชธานีแล้วจึงให้ไพร่พลที่อพยพมาพร้อมครั้งแตกทัพในการสู้รบกับกองทัพเวียงจันทร์ แยกไปตั้งบ้านเรือนทางทิศตะวันตกของเมืองอุบลราชธานี ดังนั้นกองนายกองที่ควบคุมไพร่พลคือ ท่านขุนน้อย และท่านขุนใหญ่ จึงได้รวบรวมไพร่พลไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ทุ่งขุนน้อยในปัจจุบัน ส่วนลูกของนายกองทั้ง 4 คนได้แยกย้ายไปตั้งบ้านเรือนตามที่ต่างๆ ได้แก่ลูกคนที่ 1 คือท้าวแสนโท ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหนองขอน ลูกคนที่ 2 คือท้าวแสนโคตร ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหนองไหล ลูกคนที่ 3 คือท้าวแสนเพีย ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านก่อ ลูกคนที่ 4 คือท้าวแสนนาม ไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านปะอาว

จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงยืนยันได้ว่า บรรพบุรุษของบ้านปะอาว ได้อพยพมาจากเมืงหนองบัวลุ่มภูพร้อมกับกองทัพของพระตาและเจ้าพระวอในช่วงระหว่างสมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น คำว่า “ปะอาวฎ เป็นภาษาถิ่นอีสาน มี 2 คำผสมกันคือ ปะ ผสมกับ อาว คำว่า “ปะ” เพี้ยนมาจากคำว่า “ป๋า” ซึ่งเป็นคำกริยามีความหมายว่า “แยกจากกัน ทิ้งไว้ จากไป” ส่วนคำว่า “อาว” เป็นคำที่ใช้เรียกเครือญาติมีความหมายว่า “อา” คือผู้เป็นน้องชายของพ่อ ชาวอีสานเรียกน้องชายของพ่อว่า “อาว” และเรียกน้องสาวของพ่อว่า “อา” เมื่อพิจารณาความหมายทั้งสองคำรวมกัน คำว่า ปะอาว จึงมีความหมายว่า หลานทิ้งอาไว้แล้วตัวเองจากไปที่อื่น

การที่หมู่บ้านปะอาว มีชื่อว่า ปะอาว มีเรื่องเล่าสืบต่อมาว่า ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงยกบ้านห้วยแจะระแมขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานีแล้ว พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ เจ้าเมืองอุบลราชธานี ได้อนุญาตให้ไพร่พลแยกไปตั้งบ้านเรือนทางทิศตะวันตกของเมืองอุบลราชธานี อา และหลานคู่หนึ่งเดินทางมาถึงบริเวณบ้านปะอาวปัจจุบัน อาเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีความเหมาะสมสำหรับการตั้งหมู่บ้าน เพราะว่ามีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ทั้ง 4 ทิศ ได้แก่หนองบัวใหญ่อยู่ทางทิศเหนือ หนองบัวน้อยอยู่ทางทิศตะวันตก หนองหอยอยู่ทางทิศใต้ และหนองบึงอยู่ทางทิศตะวันออก ปัจจุบันแหล่งน้ำทั้ง 4 แห่งดังกล่าวยังคงอยู่ และเป็นแหล่งอาหารของบ้านปะอาว ละหมู่บ้านใกล้เคียง ดังนั้นอาจึงชักชวนหลานให้ตั้งบ้านเรือน ณ บริเวณบ้านปะอาวปัจจุบัน ฝ่ายหลานกลับไม่ชอบบริเวณดังกล่าว หลานจึงขอแยกกับอาหรือภาษาอีสานว่า “หลานจึงป๋ากับอาว” เดินทางไปตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศเหนือของบ้านปะอาว คือบ้านโพนเมืองบักทันในปัจจุบัน ภายหลังคำว่าป๋าอาวกร่อนเป็น ปะอาวตามอิทธิพลของภาคกลาง และคนทั่วไปจึงเรียกหมู่บ้านว่า บ้านปะอาว สืบต่อมาถึงปัจจุบัน

บ้านปะอาวตั้งอยู่บนเนินดินเตี้ยๆขนาดใหญ่พื้นดินลาดลง 3 ด้านคือ ทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศตะวันออก ส่วนทิศเหนือของหมู่บ้านพื้นดินสูงกว่าที่อื่นเล็กน้อย ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนทราย รอบหมู่บ้านเป็นทุ่งนาของชาวบ้าน ด้านตะวันออกมีหนองน้ำขนาดใหญ่คือ หนองบึง มีพื้นที่ 18 ไร่ อยู่ติดกับหมู่บ้าน ส่วนขอบของหมู่บ้านด้านทิศเหนือเป็นป่าสงวน ป่าดังกล่าวยังเป็นดอนปู่ตาอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านอีก 1 แห่ง โดยตั้งอยู่ปากทางเข้าถนนสายหลักของหมู่บ้าน บริเวณดอนปู่ตามีต้นยางใหญ่หลายต้น โดยเฉพาะต้นที่สูงใหญ่ที่สุดซึ่งอยู่ข้างหน้าศาลปู่ตาอาจมีอายุถึง 100 ปี บ้านปะอาวมีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนอื่น ดังนี้

  • ทิศเหนือ          มีอาณาเขตติดกับ         บ้านสร้างบักแข้ง

  • ทิศตะวันออก      มีอาณาเขตติดกับ         บ้านหนองไหล

  • ทิศใต้              มีอาณาเขตติดกับ         บ้านหหนองขอน

  • ทิศตะวันตก        มีอาณาเขตติดกับ         บ้านข่าโคม

จำนวนประกรชุมชนปะอาวประมาณ 2,451 คน ชุมชนบ้านปะอาวเป็นกลุ่มคนลาวที่อพยพมาจากประเทศลาวเห็นได้จาก ปัจจุบันสำเนียงพูดของชาวบ้านปะอาว ยังคงคล้ายกับสำเนียงภาษาลาว ที่ประชาชนลาวพูดในประเทศลาว สำเนียงพูดของชาวบ้านปะอาวเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง คือ พูดสำเนียงลาวผสมสำเนียงอุบล ส่วนประชาชนในหมู่บ้านอื่นใกล้เคียงพูดแต่เพียงสำเนียงอุบลอย่างเดียว ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ชาวบ้านพูดสำเนียงคล้ายคลึงชาวบ้านปะอาวคือ ชาวบ้านโพนเมืองเมืองบักทัน อำเภอม่วงสามสิบ

ชาวบ้านปะอาวประกอบอาชีพหลัก คือ การทำนา และมีอาชีพสำคัญคือ การทอผ้าพื้นบ้าน และการทำเครื่องทองเหลืองตามประเพณีแบบโบราณ การประกอบอาชีพรองดังกล่าวทำให้บ้านปะอาวมีชื่อเสียงมากด้านการเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมพื้นบ้าน จนเป็นที่รู้จักแก่คนทั้งหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น วันที่ 3 ธันวาคม 2531 เจ้าชายอาชิคิโนแห่งประเทศญี่ปุ่น เสด็จทอดพระเนตรการทำหัตถกรรมบ้านปะอาว

ชาวบ้านปะอาวเป็นสังคมเกษตรกรรมชนบท ชาวบ้านไม่เอารัดเอาเปรียบกัน มีความห่วงหาอาทรซึ่งกันและกัน มีการนับถือกันระหว่างเครือญาติ ยึดมั่นในฮีตสิบสองคองสิบสี่ มีผู้สูงอายุเป็นแบบอย่างที่ดี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนบ้านปะอาวเป็นชุมชนที่มีจุดเด่นด้านงานศิปหัตถกรรมเครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว จึงเป็นภูมิปัญญาอันล้ำค่าของชาวบ้านปะอาวที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นยังคงให้กรรมวิธีแบบโบราณ ทั้งการปั้น กลึง การเผา การหลอม อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเรียกว่า การหล่อแบบสูญขี้ผึ้ง คงไว้ซึ่งลวดลายโบราณ ได้แก่ ลายอิงหมากหวาย และลายดอกบัว ใช้วิธีปั้นด้วยมือปั้นงานทีละชิ้นใส่ใจรายละเอียดทุกขั้นตอนหล่อหลอมจนเป็นงานหัตถกรรมอุตสาหกรรมทำมือแต่ละชิ้นจะไม่ซ้ำกัน ไม่เหมือนกัน หรือกล่าวได้ว่าเป็นงานที่มีเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ทองเหลืองของบ้านปะอาวแบ่งเป็นสองประเภทคือ

  • แบบดั้งเดิม ได้แก่ชุดเชี่ยนหมาก ขันน้ำพร้อมพานรอง ลูกกระพรวนหรือบักหิ่ง ระฆัง กาน้ำ เป็นต้น       
  • แบบที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ ได้แก่ แจกัน เชิงเทียน กาน้ำ เป็นต้น

ปัจจุบันสำเนียงพูดของชาวบ้านปะอาว ยังคงคล้ายกับสำเนียงภาษาลาว ที่ประชาชนลาวพูดในประเทศลาว สำเนียงพูดของชาวบ้านปะอาวเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง คือ พูดสำเนียงลาวผสมสำเนียงอุบล ส่วนประชาชนในหมู่บ้านอื่นใกล้เคียงพูดแต่เพียงสำเนียงอุบลอย่างเดียว ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ชาวบ้านพูดสำเนียงคล้ายคลึงชาวบ้านปะอาวคือ ชาวบ้านโพนเมืองเมืองบักทัน อำเภอม่วงสามสิบ


การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านปะอาวเกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว ในอดีตมีรูปแบบการท่องเที่ยวแบบเลือกชมสินค้าและเที่ยวชมงานประเพณีบุญบั้งไฟ มีการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทองเหลือง ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม จนมีการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยหน่วยงานราชการเริ่มเข้ามาสนับสนุนเพื่อไม่ให้ความเป็นวัฒนธรรมของบ้านปะอาวหายไปจากชุมชน นอกจากนั้นยังมีการสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวในรูปแบบที่ยั่งยืนเช่นการทำโฮมสเตย์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวแบบค้างคืน ทำให้เกิดมูลค่าด้านการท่องเที่ยว จนกระทั่งเกิดเป็นพลวัตการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขึ้น และทำให้บ้านปะอาวเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว


พิพิธภัณฑ์บ้านปะอาว พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านปะอาว โดยดัดแปลงชั้นล่างของกุฏิพระสงฆ์เป็นที่จัดแสดงวัตถุต่าง ๆ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2540 หัวเรือใหญ่ที่ริเริ่มคือหลวงพ่อพระครูธรรมสุทรนิวิฐ เจ้าอาวาส พระอาจารย์มหาพยนต์ สนตจิตโต รองเจ้าอาวาส และนายอภิชาติ พานเงิน กำนัน โดยขอรับบริจาคสิ่งของตาง ๆ จากชาวบ้าน และของส่วนหนึ่งที่ทางวัดเก็บรักษาไว้ วัตถุที่จัดแสดงมีหลากหลายชนิด วางบนชั้นไม้ และในตู้กระจก อาทิ พระเครื่อง ตู้พระคัมภีร์ อาสนะ เครื่องมือทอผ้า ที่ฟักไข่และออกใยไหมของตัวหม่อน โฮงกระบอง โปม(ถาดใส่ข้าวเหนียว) กระติบข้าว กระดึง เงินฮาง ผ้าหอคัมภีร์ ผ้าไหม-บังสุกุล เครื่องปั้นดินเผา เครื่องทองเหลือง พานหมาก ตะเกียง วิทยุเก่า เป็นต้น

วีระ คณารักษ์. (2537). เครื่องทองเหลืองที่บ้านปะอาว ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา(เน้นมนุษย์ศาสตร์).มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ชาตรี เวียงแก้ว. (2539). กระบวนทัศน์และพลวัตการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศาสตร์.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ. (2566). งานศิลปหัตถกรรมประเภทเครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว.(ออนไลน์)สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2566, https://www.sacit.or.th/uploads/items/attachments/

อบต.ปะอาว โทร. 0-4584-0492