Advance search

วิถีชีวิตที่มีความหลากหลายทางความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม จากชาวไทยใหญ่และชาวลาหู่

หมู่ที่ 11
บ้านหัวเมืองงาม
ท่าตอน
แม่อาย
เชียงใหม่
อบต.ท่าตอน โทร. 0-5337-3138
จรัสศรี สมตน
28 ส.ค. 2024
จรัสศรี สมตน
28 ส.ค. 2024
บ้านแสนสุข

การเรียกชื่อบ้านแสนสุขปรากฏมาพร้อมกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนเมื่อ พ.ศ. 2500


วิถีชีวิตที่มีความหลากหลายทางความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม จากชาวไทยใหญ่และชาวลาหู่

บ้านหัวเมืองงาม
หมู่ที่ 11
ท่าตอน
แม่อาย
เชียงใหม่
50280
20.10065833
99.54822689
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตอน

บ้านแสนสุขก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2500 โดยชาวบ้านได้อพยพมาจากอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยมีน้ำจากลำห้วยในหมู่บ้านใช้ในการดำรงชีวิตและทำการเกษตร และประชากรในหมู่บ้านมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ประกอบด้วย ชาวไทยใหญ่ ลาหู่ และชาวพื้นเมือง

บ้านแสนสุขล้อมรอบด้วยภูเขา 4 ด้าน เป็นทางผ่านจาก ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เข้าสู่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่อายเกือบ 50 กิโลเมตร บริบทของชุมชนตั้งอยู่บ้านพื้นที่สูง มีสภาพอากาศที่เย็นสบาย ล้อมรอบด้วยป่าไม้และพืชพันธุ์ต่าง ๆ มีลำห้วยไหลผ่านตลอดทั้งปี เป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงชีวิตของคนในชุมชน และมีสภาพภูมิอากาศ 3 ฤดู มีภูมิประเทศเป็นภูเขาและป่าไม้ จึงเหมาะแก่การส่งเสริมการทำเกษตรให้กับคนในชุมชน 

ประชากรในหมู่บ้านมีหลายชาติพันธุ์ทั้งชาวไทใหญ่ ลาหู่ และชาวพื้นเมือง มีจำนวนครัวเรือนประมาณจำนวน 80 ครัวเรือน และจำนวนประชากรทั้งสิ้น 400 กว่าคน

ไทใหญ่, ลาหู่

สถานประกอบการร้านค้าจำนวน 5 แห่ง และสถาบันการศึกษาสังกัดอื่นจำนวน 1 แห่ง ประชาการส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ทำไร่ข้าวโพด ปลูกข้าว ทำสวนส้ม สวนลิ้นจี่ และรับจ้างทั่วไป

บ้านแสนสุข มีการนับถือศาสนาที่มีความหลากหลาย โดยประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดหัวเมืองงามในการประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาในหมู่บ้าน และมีบางครอบครัวที่นับถือศาสนาคริสต์ มีโบสถ์อยู่กลางหมู่บ้าน ส่งผลให้ชุมชนบ้านแสนสุขมีประเพณีที่หลากหลายตามไปด้วย เช่น

ประเพณีกินไข่แดงหรืออีสเตอร์ เป็นประเพณีของชนเผ่าลีซู ซึ่งจัดขึ้นในเดือนเมษายน เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในหมู่บ้าน 

ประเพณีโล้ชิงช้า ตามความเชื่อของศาสนาคริสต์ว่าเป็นการส่งพระแม่มารีกลับสู่สวรรค์ ซึ่งจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม

ประกวดบอกไฟไม้ไผ่ (พุ่ไฟ) จะจัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา ชาวบ้านจะตัดกระบอกไม้ไผ่แล้วนำมาทำบอกไฟ หรือ พุ่ไฟ เพื่อจุดในงานออกพรรษาบูชาพระรัตนตรัย โดยประกวดจากความสวยงามและความสูงของพุ่ไฟกระบอกนั้น ๆ มีการฟ้อนเจิงของพี่น้องชาวไทยใหญ่และการละเล่นภายในวัดอย่างสนุกนาน

นอกจากนี้ ชาวบ้านแสนสุขยังคงสืบสานประเพณีตามท้องถิ่นทั่วไป เช่น ประเพณีลอยกระทง ประเพณีเข้าพรรษา ประเพณีขึ้นปีใหม่ ประเพณีวันสงกรานต์

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). บ้านแสนสุข. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2567. ระบบฐานข้อมูลศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง". https://www.ศศช.com

วัดหัวเมืองงาม. (2566). สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2567. Facebook. https://www.facebook.com/people

อบต.ท่าตอน โทร. 0-5337-3138