วิถีชีวิตที่เรียบง่ายท่ามกลางภูเขาที่โอบล้อมหมู่บ้าน สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีชาวลาหู่
เป็นชื่อของ นายจะโต๊ะ ผู้บุกเบิกพื้นที่ในการตั้งชุมชน
วิถีชีวิตที่เรียบง่ายท่ามกลางภูเขาที่โอบล้อมหมู่บ้าน สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีชาวลาหู่
บ้านจะโต๊ะ เป็นบริวาณของบ้านป่าแดงอภิวัฒน์ หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยชุมชนดังกล่าวได้อพยพ เคลื่อนย้ายมาจากอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โดยการนำของนายจะโต๊ะ ได้มาจับจองพื้นที่ทำกิน ณ บริเวณที่ราบหุบเขาลำห้วยโป่งผา และได้อพยพญาติพี่น้องเผ่ามูเซอเข้ามาตั้งบ้านเรือนอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2503
มีสภาพทางภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับที่ราบ โดยที่ตั้งหมู่บ้านอยู่บนพื้นที่สูง ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์และใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
ประชากรชาวบ้านจะโต๊ะเป็นชาวชาติพันธุ์ล่าหู่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 190 คน และครัวเรือนจำนวน 57 ครัวเรือน
ลาหู่สถานประกอบการภายในชุมชม ประกอบด้วย ร้านค้าจำนวน 3 แห่ง และสถานศึกษาสังกัดอื่นจำนวน 1 แห่ง
บ้านจะโต๊ะได้รักษาและปฏิบัติประเพณี วัฒนธรรม แต่ดั้งเดิมมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ประเพณีตานศาลา (ศาลาเตเว) ประเพณีกินวอ ประเพณีกินข้าวใหม่
นายจะโต๊ะ ผู้นำในการอพยพชุมชนมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านจะโต๊ะ โดยในปัจจุบันมี นายปะโหล จะบู เป็นผู้นำหมู่บ้าน
กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). บ้านจะโต๊ะ. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2567. ระบบฐานข้อมูลศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง". https://www.ศศช.com
ศศช. บ้านจะโต๊ะ กศน.อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2567. Facebook. https://www.facebook.com/p
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง. ข้อมูลพื้นฐานสภาพทั่วไป. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2567. https://www.banluanglocal.go.th/