ชุมชนที่เต็มไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง และสืบสานประเพณีชาวลาหู่แดง
ที่มาของชื่อยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัด แต่เป็นชื่อที่ปรากฏมาพร้อมกับการตั้งชุมชนใน พ.ศ. 2519
ชุมชนที่เต็มไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง และสืบสานประเพณีชาวลาหู่แดง
ชุมชนบ้านป่าโหล เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 เป็นบ้านบริวารของบ้านโป่งไฮ ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากดอยจะนะ เนื่องจากมีการสู้รบกันระหว่างกองกำลังว้าและกองกำลังไทยใหญ่บริเวณชายแดนประเทศไทยและประเทศเมียนมา ทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัว และการเดินทางสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้านมีความลำบาก เนื่องจากพื้นที่ดอยจะนะมีความชันมาก ถนนเป็นทางลูกรังเมื่อถึงฤดูฝนก็จะทำให้ถนนรื่น ไม่สะดวกต่อการเดินทาง จึงทำให้ชาวบ้านย้ายถิ่นฐานมาอยู่บริเวณต้นน้ำแม่สาว ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านป่าโหลในปัจจุบัน
พื้นที่บ้านป่าโหลตั้งอยู่ในเขตอุทยานแม่ฝางหรืออุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก มีความสูงประมาณ 675 เมตร จากระดับน้ำทะเล
บ้านป่าโหลมีประชากรชาวลาหู่จำนวน 259 คน และครัวเรือนจำนวน 51 ครัวเรือน
ลาหู่ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ ในด้านสถานประกอบการ ประกอบด้วยร้านค้าจำนวน 2 แห่ง
เนื่องจากชาวบ้านในชุมชนเป็นชาวเขาเผ่าลาหู่แดง นับถือคือศาสนาพุทธแบบดั้งเดิม และมีการนับถือผี ทำให้หมู่บ้านมีประเพณีที่มีความหลากหลายตามความเชื่อของคนในหมู่บ้าน เช่น
ประเพณีกินวอ หรือเทศกาลฉลองปีใหม่ จะจัดขึ้นในเดือนมกราคมของทุกปี โดยการเฉลิมฉลองปีใหม่ ในภาษาลาหู่ (มูเซอ) เรียกว่า ประเพณี เขาะเจ๊าเว ซึ่งแปลว่า "ปีใหม่การกินวอ" ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่บรรดาญาติมิตร ได้กลับมาร่วมงานกันที่บ้านอย่างพร้อมเพรียงเรียงหน้าไม่ว่าจะอยู่ใกล้ไกลเมื่อทราบว่าทางหมู่บ้านตัวเองจะจัดงานดังกล่าวก็จะกลับมาร่วมกันเทศกาลของลาหู่ค่อนข้างจะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แตกต่างจากชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งปีใหม่หรือการกินวอนี้มีความสำคัญต่อชาวลาหู่อย่างยิ่ง เพราะเป็นประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของลาหู่เสียเป็นส่วนมาก สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวคราวเรื่องดังกล่าวได้จากสื่อต่าง ๆ ส่วนมากแล้วลาหู่จะอาศัยอยู่จังหวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือ เช่น เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ เป็นต้น
ประเพณีก่อทราย จะจัดขึ้นในเดือนเมษายน
ประเพณีสร้างศาลา จะจัดในเดือนพฤษภาคม เพื่อสร้างขวัญกำลังใจขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในการทำการเกษตรให้เกิดผลดี
พิธีกรรมอ๊อเว่ จะจัดขึ้นในเดือนกันยายน เป็นการถวายผลแรกของพืชผักทางเกษตรที่ทำในเดือนกันยายน
ประเพณีกินข้าวใหม่ จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม เพื่อฉลองรวงข้าวที่ออกใหม่
1.นางปริยนัดดา พันแสนกอ เป็นผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบัน
แม่ฝาง
กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). บ้านป่าโหล. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2567. ระบบฐานข้อมูลศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง". https://www.ศศช.com
ที่นี่แม่อาย. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2567. Facebook. https://www.facebook.com/photo/