ชุมชนแห่งชาวดอยม่อนล้าน อนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมชาวอ่าข่า
ชื่อหมู่บ้านอาบอเน เป็นการเรียกตามชื่อนายอาบอเน ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้านคนแรก
ชุมชนแห่งชาวดอยม่อนล้าน อนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมชาวอ่าข่า
เมื่อ พ.ศ. 2532 นายอาบอเน หมื่นแลกู่ พร้อมญาติพี่น้องจำนวน 5 คน ได้แยกตัวออกจากบ้านอาบอลาชามาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านอาบอเนในปัจจุบัน และได้มีชาวบ้านอาบอลาชาอพยพตามมาอีก 8 ครัวเรือน โดยทำกินโดยการทำไร่ เช่น ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด ฝิ่น และไม้ผลจำพวกบ๊วย ท้อ ส่งผลให้สภาพป่าถูกทำลายสภาพเป็นป่าเขาหัวโล้น จนกระทั่ง 5 ปีหลังจากการก่อตั้งชุมชนอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2540 (เป็นหย่อมบ้านของบ้านสหกรณ์แปลง 5) มีชาวบ้านได้นำเมล็ดพันธุ์กาแฟจากญาติพี่น้องฝั่งแม่น้ำขุ่นจังหวัดเชียงรายมาทดลองปลูก และใน พ.ศ. 2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จทอดพระเนตรยอดดอยม่อนล้าน โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริดอยม่อนล้าน ทำให้ชาวบ้านอาบอเนซึ่งเป็นหนึ่งในราษฎรของโครงการจึงได้รับการส่งเสริมการปลูกพืชผักเมืองหนาวพร้อมทั้งส่งเสริมงานศิลปาชีพให้มีรายได้ตลอดปี
ที่ตั้งอยู่บนภูเขาสูง และเป็นพื้นที่อยู่ภายใต้โครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริดอยม่อนล้าน
ปัจจุบันมีชาวอ่าข่าอาศัยอยู่ โดยมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 80 คน และจำนวนครัวเรือน 14 ครัวเรือน
อ่าข่าประกอบอาชีพเกษตรกรรมและมีกลุ่มเยาวชนและกลุ่มเพาะปลูก (กาแฟ) จำนวน 3 กลุ่ม
- ประเพณีปีใหม่ไข่แดง
- ประเพณีกินข้าวใหม่
1.นายอาบอเน หมื่นแลกู่ ผู้นำชุมชนคนแรกแห่งบ้านอาบอเน
กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). บ้านอาบอเน. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2567. ระบบฐานข้อมูลศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง". https://www.ศศช.com
ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. กระทรวงวัฒนธรรม. (2555). อาข่าในเขตอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2567. http://www.m-culture.in.th/
IMPACT. (2566). ประเพณีกินข้าวใหม่ชาติพันธุ๋ ดอยม่อนล้าน. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2567. https://impect.or.th