หมู่บ้านที่สูงดอยม่อนล้าน เชิญชิมผลิตภัณฑ์จากกาแฟของชาวอ่าข่า
เป็นชื่อที่มาจากผู้นำ จากเดิม "อาบอเลาซอง" เป็น "อาบอลาชา"
หมู่บ้านที่สูงดอยม่อนล้าน เชิญชิมผลิตภัณฑ์จากกาแฟของชาวอ่าข่า
บ้านอาบอลาชารวมตัวเมื่อ พ.ศ. 2524 แต่เดิมอาศัยอยู่ที่บ้านหินแตก (เทอดไทย) อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย แต่เนื่องจากเกิดเหตุการณ์กรณีบ้านหินแตก ชาวบ้านจึงอพยพมาอาศัยอยู่ที่บ้านอาโย๊ะ ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 ชาวบ้านจึงทำการอพยพอีกครั้ง โดยตั้งถิ่นฐาน ณ หมู่บ้านอาบอเนในปัจจุบัน (หย่อมบ้านอาบอลาชา)
เป็นหมู่บ้านตั้งอยู่บนที่สูง ล้อมรอบไปด้วยภูเขา และอยู่ในเขตสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ดอยม่อนล้าน มีสภาพภูมิอากาศเหมาะแก่การปลูกกาแฟ
ราษฎรเป็นชาวอ่าข่า มีจำนวนประชากรทั้งหมด 230 คน และครอบครัวจำนวน 48 หลังคาเรือน
อ่าข่ามีการรวมกลุ่มกันทางเกษตรกรที่เพาะปลูกเมล็ดกาแฟ 1 กลุ่ม และสถานประกอบการที่พัก 1 แห่ง สถานประกอบการร้านค้าจำนวน 2 แห่ง
ประเพณีกินวอ
ประเพณีกินข้าวใหม่
ผู้นำทางธรรมชาติ ได้แก่
- นายอะแส หมื่นแลกู่
ผู้นำบ้านอาบอลาชาที่เป็นผู้นำที่แต่งตั้งตามระบบการปกครอง ได้แก่
- นายเล่าซาง หมื่นแลกู่
- นายวันชัย หมื่นแลกู่ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 11 ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
- นายสุพจน์ หมื่นแลกู่ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 11 ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
- นายวินัย อาซองกู่ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 11 ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
- นายชัยรัตน์ หมื่นแลกู่ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 11 ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ในปัจจุบัน มีนายสิทธิชัย แสนหมี่ เป็นผู้ใหญ่บ้าน และมีนายสมิง ถนอมบุญ เป็นกำนันตำบลป่าตุ้ม
เนื่องจากที่ตั้งอยู่ในที่สูง เหมาะแก่การเพาะปลูกเมล็ดกาแฟ จึงทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากผลิตภัณฑ์เมล็ดกาแฟ
กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). บ้านอาบอลาชา. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2567. ระบบฐานข้อมูลศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง". https://www.ศศช.com
ศูนย์การเรียนรู้ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). หมู่บ้านอาบอลาชา. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2567. https://sites.google.com/cmi.nfe.go.th/phrao