พื้นที่ป่าต้นน้ำแห่งบ้านห้วยกันใจ อนุรักษ์ประเพณีกินวอ
ไม่ปรากฏที่มาของชื่อชุมชนแน่ชัด แต่เป็นชื่อที่เรียกมาพร้อมกับการจัดตั้งชุมชนใน พ.ศ. 2525
พื้นที่ป่าต้นน้ำแห่งบ้านห้วยกันใจ อนุรักษ์ประเพณีกินวอ
แต่เดินชุมชนชาวไทยภูเขาเผาลาหู่ดำ (มูเซอดำ) กลุ่มนี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดอยหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ต่อมามีปัญหาเรื่องที่ทำกิน จึงพากันอพยพมยังหมู่บ้านห้วยน้ำขุ่น อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ต่อมาใน พ.ศ. 2520 ได้อพยพมายังหมู่บ้านห้วยกันใจ หมู่ที่ 11 ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ที่ทำกินไม่เพียงพอ จึงโยกย้ายมาที่บ้านป่าคา อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ต่อมาใน พ.ศ. 2525 ชาวบ้านอพยพมาอยู่ที่บ้านป่าคาโดยย้ายมาอยู่ในเขตพื้นที่ อ.พร้าว จ.เชียงราย ซึ่งเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเป็นต้นน้ำแม่แวน ทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อ.พร้าว ตระหนักถึงความสำคัญของป่าสงวนและป่าต้นน้ำ จึงได้ร่วมกันจัดสรรที่อยู่อาศัยและที่ทำกินแห่งใหม่ให้กับชาวบ้านกลุ่มนี้ เรียกหมู่บ้านนี้ว่า บ้านห้วยกันใจ จนถึงปัจจุบัน
บ้านห้วยกันใจเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สำคัญ โดยในปัจจุบันกำลังได้รับการฟื้นฟูจากสภาพป่าเสื่อมโทรม และเป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ชุมชนร่วมกันแก้ปัญหาการบุกรุกป่า เน้นให้ชาวบ้านในพื้นที่มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ชาวบ้านเป็นชาติพันธุ์ชาวลาหู่ดำ มีจำนวนประชากรทั้งหมด 103 คน และจำนวนครัวเรือน 24 ครัวเรือน
ลาหู่ประเพณีกินวอ จะจัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี
ประเพณีกินข้าวใหม่
ศรีลานนา
กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). บ้านห้วยกันใจ. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2567. ระบบฐานข้อมูลศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง". https://www.ศศช.com
ThaiPBS. (29 เมษายน 2560). "บ้านห้วยกันใจ" ต้นแบบชุมชนรักษาป่า. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2567. https://www.thaipbs.or.th/news/
ศูนย์ส่งเสริมเรียนรู้ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). บ้านห้วยกันใจ. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2567. https://sites.google.com/cmi.nfe.go.th/phrao/
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่แวน. (2566). ร่วมกิจกรรมโครงการประเพณีชนเผ่าชนชาติพันธุ์ (กินวอ) ณ บ้านสามลี่ (แม่แวนน้อย) หมู่ที่ 11. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2567. จาก https://www.maewanphrao.go.th/