วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ท่ามกลางภูเขาสูงแห่งชุมชนโบราณของชาวโพล่ง
ไม่ปรากฏที่มาของชื่อที่แน่ชัด แต่มีการเรียกบ้านแม่หืดตั้งแต่มีการก่อตั้งชุมชน
วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ท่ามกลางภูเขาสูงแห่งชุมชนโบราณของชาวโพล่ง
เป็นชาวไทยภูเขาโพล่ง (กะเหรี่ยงโปว์) ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าอพยพมาจากที่ใด จากการเล่าสืบต่อกันมาว่าเดิมประมาณ 300 ปี หรือ พ.ศ. 2265 มีชาวกะเหรี่ยงได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่แห่งนี้แทนเผ่าลัวะ ที่ย้ายไปตั้งรกรากที่อื่น ดังจะเห็นได้จากโบราณสถานที่เผ่าลัวะได้สร้างไว้และมีชาวบ้านขุดพบเหรียญโบราณ ต่อมาใน พ.ศ. 2520 ได้มีบริษัทเอกชนได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่ (แร่ซีไรท์) ทำให้มีประชาชนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น จนกระทั่ง พ.ศ. 2547 ทางราชการได้ยกระดับของหย่อมบ้านแม่หืด ซึ่งเป็นหย่อมบ้านหนึ่งของหมู่บ้านบ่อพะแวน หมู่ที่ 12 ขึ้นเป็นหมู่ 13 บ้านแม่หืด ในปัจจุบัน
สภาพภูมิศาสตร์ของที่ตั้งบ้านแม่หืดเป็นภูเขาสูง อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 1,300 เมตร
มีประชากรชาวโพล่งทั้งหมด 250 คน และมีจำนวนครัวเรือน 86 ครัวเรือน
โพล่ง1.นายสิทธิโชค ธาตุทอง ผู้ใหญ่บ้านบ้านแม่หืดในปัจุบัน
กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). บ้านแม่หืด. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2567. ระบบฐานข้อมูลศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง". https://www.ศศช.com
ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" บ้านแม่หืด. (2562). สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2567. Facebook. https://www.facebook.com/photo/