
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมปกาเกอะญอแห่งบ้านหินฝน
ไม่ปรากฏที่มาของชื่อที่แน่ชัด แต่มีการเรียกชื่อตั้งแต่ก่อตั้งชุมชน พ.ศ. 2505
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมปกาเกอะญอแห่งบ้านหินฝน
ประวัติหมู่บ้านหินฝน หมู่บ้านห้วยหินฝนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานราวปี พ.ศ. 2505 ซึ่งย้ายมาจากบ้านแม่ป๊อกบนมีระยะห่างอีก 2 กิโลเมตร ผู้ที่ย้ายมาครั้งแรกมีนายติ๊มา นายจัน นายปันญ์ นายอ้าย ต่อมาได้มีราษฎรย้ายเข้ามาสมทบ มาจากบ้านแม่ป็อกบนและดอยหลวงเป็นบางส่วนสภาพการตั้งบ้านเรือนของราษฎรอยู่ตามไหล่เขา มีลำธารไหลลงมาทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน สมัยก่อนชาวบ้านบอกว่าในลำธารที่ไหลผ่านหมู่บ้านนี้จะมีหินฝนมีดจำนวนมาก ถ้าชาวบ้านในหมู่บ้านจะฝนมีดก็นำหินในลำธารเหล่านี้ไปฝนมีดคำว่า "หินฝน" หรือ "หินฝนมีด" ซึ่งเป็นภาษาภาคเหนือแต่ถ้าเป็นภาษาไทยจะหมายถึง "หินลับมีด"
หมู่บ้านหินฝนเป็นพื้นที่สูงสลับซับซ้อนและมีความลาดชัน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,100 เมตร
เป็นชาวปกาเกอะญอมีจำนวน 82 คน และมีครัวเรือนจำนวน 26 ครัวเรือน
ปกาเกอะญอส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ปลูกข้าว) และบางครอบครัวมีการเลี้ยงสัตว์ (เลี้ยงไก่)
ประเพณีกินปีใหม่ชาวกะเหรี่ยง
ประเพณกินปีใหม่
ประเพณีเลี้ยงพ่อหม่อน
ประเพณีแต่งงานชาวกะเหรี่ยง
ประเพณีเลี้ยงผีไร่ผีนา
ประเพณีบายศรีสู่ขวัญชาวกะเหรี่ยง
กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). บ้านหินฝน. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2567. ระบบฐานข้อมูลศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง". https://www.ศศช.com
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ. (2563). ชื่อ: ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา"แม่ฟ้าหลวง" บ้านหินฝน หมู่ที่ 5 ต.มืดกา อ.ดอยเต่า. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2567. https://thaduea.go.th/document/
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). ศศช. แม่ฟ้าหลวง บ้านหินฝน. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2567. https://doitaonfe.wordpress.com